Skip to Content

Category Archives: Uncategorized

มาทำความรู้จักกับ Google Analytics(ตอนที่ 2 Reporting)

หลังจากที่เราติดตั้งโค๊ดติดตามให้กับเว็บไซต์ของเราไปแล้วในตอนที่ 1  หากยังไม่ได้อ่านแนะนำให้กลับไปอ่านก่อนนะครับ  ในบทนี้เราจะมาพูดถึงเกี่ยวกับการดูรายละเอียดของรายงานครับ ซึ่งค่อนข้างละเอียดมากเลยทีเดียว  สามารถนำไปวิเคราะห์ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างเช่น เชิงพัฒนาเว็บไซต์ให้เหมาะกับผู้ใช้งาน  การตลาด เป็นต้น  เห็นไหมครับว่า ข้อมูลเหล่านี้ค่อนข้างสำคัญและก็ได้มาโดยแสนง่ายดายผ่านทางบริการของ Google Analytics


Dashboard 
  • Private คือ Dashboard ที่แสดงรายงานที่เป็นส่วนตัวครับ  โดยสามารถแสดงรายงานได้มากกว่า 1  นั่นหมายความว่าแสดงได้หลาย Dashboard นั่นเองครับ และแต่ละ Dashboard เราก็สามารถกำหนดให้แสดงรายงาน หรือเพิ่ม Widget ที่แตกต่างกันได้ครับ โดย Widget default ที่เตรียมไว้ให้จะมี
    • New Users : จะแสดงรายงานสถิติยอดผู้ใช้งานใหม่ของเว็บไซต์ ในระเวลาที่ผ่านมาโดยจะแสดงแยกเป็นวัน แสดงผลเป็นกราฟครับ
    • Users : จะแสดงรายงานสถิติยอดผู้ใช้งานของเว็บไซต์ ทั้งที่เคยใช้ และเป็นผู้ใช้ใหม่
    • Sessions : จะแสดงรายงานสถิติ Session ที่ถูกส่งมาจาก ทวีป, ประเทศ, จังหวัด ใด ในการเข้ามาสู่เว็บไซต์ของเรา  อันนี้สามารถเช็คได้ว่าเป็นผู้ใช้งานจริงๆ หรือโดนเหล่า Hacker ยิงเว็บเรา สามารถหาวิธีป้องกันได้ครับ
    • Sessions by Browser : จะแสดงรายงานสถิติการใช้ Browser ของผู้ใช้งานครับ ว่านิยมใช้ค่ายไหนมากที่สุด ทำให้เราเอาข้อมูลมาเป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนการพัฒนาเว็บไซต์ให้รองรับกับการแสดงผลกับ Browser เหล่านั้นครับ
    • Average Session Duration and Pages/Session : จะแสดงรายงานสถิติระยะเวลาของ Session ที่เข้ามาใช้งานเว็บไซต์เราครับ สามารถคาดเดาได้ว่าผู้ใช้งานใช้เวลาอยู่ที่เว็บไซต์เรานานเท่าไหร่
    • Bounce Rate : จะแสดงรายงานสถิติอัตราการตีกลับ
    • Goal Completions : จะแสดงรายงานสถิติเป้าหมายที่สำเร็จ
    • Revenue : จะแสดงรายงานสถิติรายได้ที่เกิดขึ้น
      dashboard
  • New Dashboard  คือ ส่วนที่เราสามารถสร้าง Dashboard ใหม่ครับ  จะสามารถตั้งชื่อให้กับ Dashboard รวมไปถึงเลือก Widget ให้กับ Dashboard  ครับ สร้างได้เรื่อยๆ ไม่จำกัดครับ เหมาะสำหรับผู้ที่ให้อยากได้รายงานที่แตกต่างกันออกไปครับ

 

Shortcuts

ชื่อก็น่าจะสื่ออยู่แล้วนะครับ  สำหรับ Shortcuts  มันคือทางลัดครับที่เราสามารถเข้ามาดูรายงานทั้งหมด แต่จะแสดงให้สั้นลงเป็นตัวเลข ทำให้แสดงผลเบ็ดเสร็จในหน้าเดียวครับ ซึ่งจากเดิมจะแสดงเป็นกราฟอย่างละเอียด  ซึ่งผมก็คลิกเข้าหน้านี้เลยเพื่อมาดูตัวเลขที่เราสนใจ หากอยากดูเป็นแบบสถิติให้ละเอียดกว่านี้ค่อยกลับไปเลือกดูที่ Dashboard ครับ

shortcuts

Intelligence Events
  • Overview : กิจกรรมอัจฉริยะ เป็นรายงานสถิติเกี่ยวกับกิจกรรมที่เกิดขึ้นกับเว็บไซต์ของเราครับ ซึ่งจะประกอบไปด้วย กิจกรรมรายวัน กิจกรรมรายสัปดาห์ กิจกรรมรายเดือน โดยภายในรายงานจะแบ่งแสดงตาม Custom Alerts, Automatic Web Alerts, Automatic Adwords Alerts
  • Daily Events : กิจกรรมที่เกิดขึ้นรายวัน
  • Weekly Events : กิจจกรรมที่เกิดขึ้นรายสัปดาห์
  • Monthly Events : กิจกรรมที่เกิดขึ้นรายเดือน

intelligence

Real Time 

เป็นหนึ่งในฟังก์ชั่นที่เจ๋งมากสำหรับใครๆ ที่คาดหวังว่าจะต้องมีในระบบ Analytics และแน่นอนครับ Google Analytics มีฟังก์ชั่นนี้ด้วย  โดยจะแสดงผลเป็นแบบ Real-time ทำให้เราสามารถดูได้ว่า ในเวลานี้มีผู้ใช้งานเว็บไซต์เรากี่คน และแต่ละคนอยู่ในหน้าไหน เขากำลังใช้บริการอะไรบ้างกับเว็บไซต์ของเรา เช่น กำลังค้นหาสินค้าด้วยคีย์เวิร์ดนี้นะ สำหรับฟังก์ชั่นย่อยจะประกอบไปด้วย

  • Location : เป็นการดูตำแหน่งของผู้ใช้งานเว็บไซต์เรา บนโลกนี้แบบ Real-time ครับ ข้อมูลจะละเอียดมาก ซึ่งจะสามารถรู้ได้ว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด เช่น  ทวีป, ประเทศ, จังหวัด โดยจะแสดงเป็นแผนที่รูปภาพที่ชัดเจนมากขึ้น
  • Traffic Sources : เป็นรายงานที่แสดงให้เห็นว่า แหล่งที่มาของการเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์มาจากที่ไหน  บางที่อาจมาจากการค้นหาผ่านทาง Google SEO หรือ เปิดเข้ามาเว็บไซต์ผ่านทาง URL เว็บโดยตรง
  • Content : เป็นรายงานที่แสดงว่าในตอนนี้ผู้ใช้งาน Active อยู่ในหน้าไหน โดยระบบจะแสดงเป็นชื่อ URL ของเว็บไซต์
  • Events : เป็นรายงานที่บอกเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเว็บไซต์ โดยแบ่งแสดงตาม หมวดหมู่เหตุการณ์  การทำงานของเหตุการณ์  ผู้ใช้ที่ใช้งานอยู่  รวมไปถึงผู้ใช้ Active บนอุปกรณ์ชนิดใด เช่น Desktop, Mobile
  • Conventions

real-time

Audience 

เป็นรายงานสถิติเกี่ยวกับผู้เข้าชมเว็บไซต์โดยตรงซึ่งจะเก็บประวัติการเข้าใช้งานไว้อย่างละเอียดมาก ถูกแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ได้ ดังนี้

  • Active Users : ผู้ที่ใช้งานเว็บไซต์นี้อยู่ โดยจะสามารถเลือกดูได้ทั้ง 1 Day Active User, 7-Day Active Users, 30-Day Active Users

active-user

  • Cohort Analysis : การวิเคราะห์ตามการได้ข้อมูลมา จะแบ่งแยกแสดงข้อมูลแบบตารางซึ่งจะสามารถเปรียบเทียบกันได้ของเดือนนั้นๆ

Cohort Analysis

  • User Explorer : โปรแกรมสำรวจผู้ใช้ จะแสดงข้อมูลรายละเอียดผู้ใช้งานอย่างละเอียดซึ่งจะประกอบไปด้วย Client ID, Session, Avg Session, Bounce Rate, Revenue นอกจากนั้นยังสามารถเลือกคลิกเข้าไปอ่านรายละเอียดย่อยของ Client ID นั้นๆ ได้อีกด้วย

user-explorer

  • Demographics : ข้อมูลประชากร
  • Interests : ความสนใจ
  • Geo : ภูมิศาสตร์
  • Behaviour : พฤติกรรม
  • Technology : โทคโนโลยี
  • Mobile : มือถือ
  • Custom : ที่เรากำหนด
  • Benchmarking : การเปรียบเทียบ
  • User Flow : ลำดับการเข้าใช้งานของผู้ใช้งาน
Acquisition 

เป็นรายงานเกี่ยวกับ Action ของผู้ใช้งานทั้งหมด โดยจะแยกแสดงแบ่งตาม การเข้าชมทั้งหมด, AdWords, Search Console, Social, Campaign  สำหรับจุดเด่นที่สำคัญจะบอกช่องทางที่ผู้ใช้งานเข้ามายังเว็บไซต์ของเรา ซึ่งมาจาก Organic Search, Direct, Social, Referral

acquisition

Behaviour 

พฤติกรรมของผู้ใช้งาน อันนี้ก็พูดได้ว่าเป็นข้อมูลที่สำคัญอีกตัวหนึ่งเลยทีเดียว  เพราะว่าเราทำเว็บไซต์ขึ้นมาก็มีความจำเป็นที่จะต้องอยากทราบพฤติกรรมของผู้ใช้ครับ  เพราะมีประโยชน์ต่อการออกแบบเว็บไซต์ให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ ทำให้โอกาสประสบผลสำเร็จมีมากขึ้น สำหรับฟังก์ชั่นที่มีอยู่ในหมวดนี้ประกอบไปด้วย  Behaviour Flow, Site Content, Site Speed, Site Search, Events, Publisher, Experiments, In-Page Analytics

behaviour

 

เห็นไหมครับว่า Google Analytics  มันสามารถทำอะไรได้เยอะมาก ที่กล่าวมานี้ผมไม่ได้ยกตัวอย่างหรือนำภาพมาแสดงให้เห็นทั้งหมด แต่ยิบยกมาเพียงบางส่วนเท่านั้น ส่วนข้อมูลที่อยู่บนภาพนั้นเป็นของเว็บไซต์อะไร ผมขอไม่กล่าวถึงนะครับ เอาเป็นว่าข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลจริงๆ ไม่ได้ทำขึ้นแต่อย่างใดครับ  เมื่อเราเรียนรู้การติดตั้ง ในตอนที่ 1 จนมาถึงตอนที่ 2 ซึ่งก็พูดถึงความเจ๋งของรายงานซึ่งแบ่งออกหลายหมวดหมู่มากๆ ซึ่งล้วนแล้วมีความจำเป็นต่อการพัฒนาเว็บไซต์ และทำการตลาดครับ หรือจะจัดเก็บไว้ดูเล่นแบบมีความสุขไปวันๆ ก็ได้นะครับ

แต่สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนจากการที่ผมใช้ Google Analytics ที่ผ่านมา  มันยังไม่ได้ตอบโจทย์ได้ทุกส่วน เพราะว่า Google Analytics จะจัดเก็บข้อมูลแบบภาพรวมแบบทั้งหน้าหรือทั้งเว็บไซต์ต่อการเรียกใช้งาน 1 ครั้ง  หากเราอยากได้ข้อมูลการใช้งานเว็บแบบเจาะจง แบบละเอียดกว่านี้ เช่น ส่วนใหญ่ผู้ใช้กดปุ่มไหนมากที่สุด หากกดปุ่มนั้นแล้วให้มี Action เกี่ยวกับการเก็บประวัติอย่างไรบ้าง ซึ่งในตอนนี้ Google Analytics ก็ยังไม่มี Features แบบนั้น ซึ่งไม่ตอบโจทย์กลุ่มคนที่พัฒนาเรื่อง UX,UI กันอยู่ดีครับ  เดี่ยวบทความต่อไปจะแนะนำเครื่องมืออีกตัวหนึ่งครับที่ เก็บประวัติการเข้าชมเว็บไซต์หรือแอพิเคชั่น ซึ่งใช้ Concept ที่แตกต่างไปจาก Google Analytics แบบสุดขั้วเลยครับ ซึ่งตอบโจทย์เหล่า UX,UI เป็นอย่างดีครับ  สำหรับวันนี้ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านนะครับ ขอบคุณครับ

0 9 Continue Reading →

B2B MARKETING 2016

     “Digital Marketing”  ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย และถือเป็นอาวุธสำคัญสำหรับนักการตลาดในยุคปัจจุบัน สำหรับธุรกิจแบบ B2B การทำ Marketing มีความสำคัญไม่น้อย ซึ่งบางมุมมองอาจจะแตกต่างกับ B2C  มาดูกันครับว่า ข้อมูลเป็นอย่างไร

จาก Blog ที่แล้ว B2B MARKETING 2015 จะเห็นเป้าหมาย และเครื่องมือที่เหล่านักการตลาดใช้ คราวนี้เรามาดู แนวโน้มว่าพวกเค้าเหล่านั้นจะมีเป้าหมายและเครื่องมืออย่างไรบ้าง

เป้าหมายของการลงทุนทำ Digital Marketing ในปี 2016

mk2016

จากข้อมูลการ Survey นักการตลาด

ที่มา Source: Regalix Research

อันดับที่ 1 ยังคงเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับธุรกิจ ถึง 67% รองลงมาอันดับ 2 และ 3 61% เท่ากันเป็นการเพิ่มยอดขายซี่งเปอร์เซนต์และ leads generated (กิจกรรมทางด้านการตลาดที่ให้ได้รายชื่อของผู้ติดต่อทางธุรกิจที่จะนำไปสู่กระบวนการและขั้นตอนของการขาย)   ส่วนความต้องการเพิ่มฐานลูกค้าและ Brand awareness มาเป็นอันดับที่ 4 คงอันดับเดิมจากปี 2015 ส่วนอันดับ 5 การพัฒนาลูกค้าสัมพันธ์ เลื่อนมาจากอันดับที่ 6 ของปี 2015

Digital Channel ที่ลงทุนไปในการบรรลุเป้าหมายในปี 2016

mk2016-2

อันดับ 1 Web site เช่น web e-commerce ที่รองรับหน้าจอต่างๆ responsive design ซึ่งในปัจจุบัน e-commerce ทำงานได้หลักล้านล้านบาทเลยทีเดียว

อันดับ 2 Email Marketing เป็นส่วนที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายและส่งข้อมูลทางการตลาดเข้าถึงลูกค้าจำนวนครั้งละมากๆ

อันดับ 3 SEO(organic search) ไม่จำเป็นต้องซื้อ google adwords หรือ โฆษณาต่างๆ ให้เสียค่าใช้จ่าย เพียงแค่ทำ SEO ให้ดีบนหน้า website, keyword  ชัดเจน landing page เหมาะสมแค่นี้ ก็ทำให้สามารถบรรลุเป้าหมายทางการตลาดได้อย่างไม่ยาก

อันดับ 4 Social ในปัจจุบัน social network ไม่ว่าจะเป็น facebook, linkedin, line มีผู้เข้าใช้เป็นจำนวนมาก และสามารถวิเคราะห์เห็นพฤติกรรม ความสนใจ ในด้านต่างๆ จึงเป็นเครื่องมือที่ทำให้นักการตลาดเข้าถึง consumer ได้ตรงกลุ่มมากยิ่งขึ้น

อันดับ 5 Blog “Content is King” การให้ข้อมูลสินค้าจากผู้เชี่ยวชาญ หรือ รีวิวและfeed back จากลูกค้าจะช่วยให้ลูกค้าเพิ่มความมั่นใจในการซื้อสินค้ากับเรา

Tools 2015 2016
Website 86% 80%
Email 72% 61%
SEO(organic search) 54% 54%
Social(Facebook,Linkedln etc.) 52% 66%
Blogs 39% 55%

 

ถ้าเทียบกับปี 2015 จะเห็นว่านักการตลาดยังคงใช้เครื่องมือทางการตลาด 5 อันดับแรกเหมือนเดิมแต่อาจจะลดเปอร์เซนต์การลงทุนในแต่ละส่วนลง

 “From concept to Commerce

   “Can it really happen in less than 120 days ?”

        Cost-Effectively And Better Online store are made with Our Stream Solution.

banner

สนใจที่จะใช้บริการ สามารถติดต่อได้ที่ฝ่ายขายของเรา marketing@stream.co.th เราเป็น Magento Partner หนึ่งเดียวในประเทศไทย

เขียนและเรียบเรียงโดย Kittiphat Dumrongprat

Business Analyst

0 0 Continue Reading →

มาทำความรู้จักกับ Google Analytics (ตอนที่ 1 Register & Install)

Hero-Circle_74579c96-7aa5-41b1-8742-99148b31f745_2048x2048

 

หากพูดถึงบริการของ Google  ซึ่งมีอยู่มากมายครับ มีทั้งฟรีและเสียตังค์  สำหรับเนื้อหาในบทนี้จะขอพูดเกี่ยวกับบริการของ Google ที่ชื่อว่า  Google Analytics  สำหรับคนที่พัฒนาเว็บไซต์จะรู้จักบริการตัวนี้เป็นอย่างดี  เพราะว่ามันเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลแบบละเอียดได้เป็นอย่างดี เกี่ยวกับการเข้ามาใช้งานเว็บไซต์ของเรา ทำให้เราสามารถติดตามผู้ใช้งานได้ง่ายขึ้น


เราจะใช้งานบริการ Google analytics ได้อย่างไร ?

ก่อนอื่นต้องมี Email Account ของ Gmail กันก่อนครับ  หากใครยังไม่มีก็รีบๆ สมัครกันก่อนนะครับ  จากนั้นไปที่เว็บไซต์นี้ได้เลยครับ  คลิกเพื่อไปยัง Google analytics  หลังจากที่เรา Sign in เข้าสู่ระบบและมี Account เป็นของตัวเองแล้ว  เราจะมีขั้นตอนที่จะต้องปฏิบัติตามอยู่ 3 ขั้นตอนดังนี้ครับ


เริ่มสมัครใช้งาน Google Analytics

การสมัครบัญชีผู้ใช้งาน จะสามารถติดตามได้ 2 แบบได้แก่  เว็บไซต์  และ แอพบนอุปกรณ์เคลื่อนที่  โดยการกรอกรายละเอียดจะแตกต่างกันออกไป

  • เว็บไซต์  ผู้สมัครจะต้องกรอกรายละเอียดดังนี้
    • ชื่อบัญชีผู้ใช้งาน ให้ใส่เป็นชื่อองค์กรของคุณครับ
    • ชื่อเว็บไซต์
    • เลือกหมวดหมู่ของเว็บไซต์
    • URL ของเว็บไซต์ โดยมีให้เลือกทั้ง http, https
    • เขตเวลาการรายงาน ผมเลือกเป็น ไทย : (GMT+07:00) กรุงเทพ
    • การตั้งค่าการเปิดเผยข้อมูล  ตรงนี้ระบบจะเลือกไว้ให้อยู่แล้วครับ หากผู้ใช้งานไม่ต้องการบริการเพิ่มเติมก็สามารถเลือกออกก็ได้ครับ
    • จากนั้นกดปุ่ม รับรหัสการติดตามครับ โดย Google จะให้เราอ่านเงื่อนไขให้การใช้บริการที่มีบอกไว้อย่างละเอียดครับ เมื่ออ่านครบแล้วก็กดยินยอมเงื่อนไขไปครับ ประมาณ 16 เงื่อนไขแล้วระบบจะเข้าสู่เพจ  ผู้ดูแลระบบเพื่อตั้งค่าต่อไป

 

ติดตั้ง โค๊ดติดตาม อย่างถูกวิธีให้กับแอพิเคชั่นของคุณ

สำหรับโค๊ดติดตามที่ Google Analytics  ออกให้จะใช้เชื่อมต่อกันระหว่าง Google Analytics และ แอพิเคชั่น โดยผู้พัฒนาจะต้องนำโค๊ดติดตามไปติดตั้งทุกๆ หน้าของแอพิเคชั่น หรือเว็บไซต์ จากนั้น Google Analytics ก็สามารถตามเก็บข้อมูลจากเว็บไซต์ของเราได้แล้วครับ

  • JavaScript :  อันนี้จะเป็น script ที่เราสามารถ copy ไปติดตั้งที่ เพจของแอพิเคชั่นหรือเว็บไซต์ได้เลยครับ

บริการอื่นๆ ที่ Google เตรียมไว้ให้ และสามารถลิงค์เข้ามาใช้งานได้เลย !
  • Google AdWords
      • AdSense ช่วยคุณสร้างรายได้ด้วยการแสดงโฆษณาที่เกี่ยวข้องกับผู้ชมของคุณบนเว็บไซต์ของคุณเอง เชื่อมโยงความสัมพันธ์เมตริกหลักๆ ของ AdSense อย่าง eCPM กับการแสดงหน่วย โดยใช้ข้อมูลเพิ่มเติมจาก Analytics

     

  • Google AdSense
      • AdWords คือโปรแกรมโฆษณาออนไลน์ที่ช่วยให้คุณเข้าถึงลูกค้าและทำให้ธุรกิจเติบโตขึ้น ปรับปรุงแคมเปญโฆษณาของคุณและวิเคราะห์การเดินทางของลูกค้าตลอดทั้งเส้นทาง ตั้งแต่การคลิกโฆษณาไปจนถึงการทำ Conversion

     

  • Google Ad Exchange
      • Ad Exchange ช่วยคุณสร้างรายได้ด้วยการแสดงโฆษณาที่เกี่ยวข้องกับผู้ชมบนเว็บไซต์ของคุณเอง เชื่อมโยงเมตริก Ad Exchange ที่สำคัญ เช่น eCPM และการแสดงผลหน่วย กับข้อมูลเพิ่มเติมจาก Analytics

     

  • BitQuery
    • Google BigQuery เป็นเครื่องมือจาก Google Developers ที่ทำให้สามารถทำการสืบค้นในชุดข้อมูลขนาดใหญ่ได้อย่างรวดเร็วเป็นพิเศษ คุณสามารถส่งออกข้อมูล Session และ Hit จากบัญชี Google Analytics Premium ไปยัง Google BigQuery เพื่อที่จะเรียกใช้การสืบค้นในข้อมูล Analytics ทั้งหมดของคุณได้

     

  • Search Console
      • Search Console สามารถช่วยให้คุณเข้าใจว่าผู้ใช้พบเว็บไซต์ของคุณผ่านการค้นหาของ Google ได้อย่างไร ค้นหาวิธีที่จะดึงดูดความสนใจมายังเว็บไซต์มากขึ้นและจัดลำดับความสำคัญของ งานพัฒนาซอฟต์แวร์

     

    สำหรับตอนที่ 1 เราได้เรียนรู้การสมัครและการติดตั้งโค๊ดติดตามให้กับเว็บไซต์ไปแล้วครับ ทีนี้ Google Analytics ก็เข้าไปเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานของ User ได้แล้วครับ เมื่อ User เข้าไปใช้งานเว็บไซต์เราและเปิดไปแต่หน้าเพจ  Script ที่ถูกติดตั้งไว้แต่ละหน้าก็จะส่งข้อมูลมาเก็บไว้ที่ Google Analytics ครับ  และ Admin สามารถมาดูรายงานนั้นได้ภายหลังซึ่งได้เลยว่าละเอียดมาก แต่ต้องตามไปอ่านในบทความตอนที่ 2 นะครับ สำหรับวันนี้พอแค่นี้ก่อนครับ  ขอบคุณมากนะครับสำหรับการเข้ามาอ่าน 🙂

 

 

0 1 Continue Reading →

Code Smell & Refactoring ตอนที่ 2

Code Smell & Refactoring ตอนที่ 2
จากครั้งที่แล้ว เรารู้จักความหมายของ Code Smell และ Refactoring กันแล้วนะครับ
วันนี้ Stream Magento ทีม Code คุณภาพ  มาพูดถึง Code Smell ในแต่ละชนิดกันครับ หากเรารู้ว่า Code Smell มีลักษณะอย่างไร เราก็จะป้องกันการเกิด Code Smell ได้ตั้งแต่ต้น และสามารถรู้จุดที่จะ Refactoring ให้ Code มีคุณภาพได้ครับ และอย่างไรก็ตามการใช้ Unit Testing Framework ตั้งแต่ต้นก็จะสามารถ Refactoring ได้ง่ายและปลอดภัย

ในครั้งนี้เราจะมาเล่าเกี่ยวกับประเภทของ Code Smell กันก่อนนะครับ เพื่อให้เข้าใจในภาพกว้างก่อนที่จะรายละเอียด Code Smell มีการแบ่งประเภทไว้ใหญ่ๆ  5 ประเภท

1. Code Smell แบบบวมๆ(Bloaters)

pic-of-david-and-goliath

Bloaters ในที่นี้ มีนัยยะความหมายว่า ป่อง บวม พอง อะไรประมาณนี้ครับ และอีกความหมายหนึ่ง คือ ปลาเค็ม ซึ่งอาจจะเข้ากับความหมาย Code Smell ในเรื่องของกลิ่น มีตำนานของชาวยิวเรื่อง  เดวิดกับโกไลแอธ ในตำนานกล่าวถึง สงครามระหว่างชาวยิวและชาวฟิลิสไทน์ ในทัพฟิลิสไทน์ มีทหารตัวใหญ่ยักษ์พร้อมเกราะป้องกันและอาวุธครบมือ ชื่อว่า โกไลแอธ ไม่มีทหารยิวหน้าไหนกล้าต่อกร จนเดวิดเด็กหนุ่มเลี้ยงแกะชาวยิว อาสาสู้ศึกฟิลิสไทน์ โดยใช้เพียงก้อนหินและเชือกสลิง และชนะโกไลแอธด้วยการเหวี่ยงหิน กระแทกแสกกลางหน้าผากโกไลแอธจนสลบ จากนั้นก็ใช้ดาบของโกไลแอธตัดหัวโกไลแอธออกมา เห็นอะไรจากตำนานเรื่องนี้บ้างครับท่านผู้อ่าน

Bloaters  คือลักษณะของ Code, Method และ  Class ที่มีขนาดใหญ่ ทำงานหลายๆอย่างเสร็จสรรพในตัวมันเอง ลักษณะเหล่านี้ในระยะการเขียนโปรแกรมแรกๆอาจยังไม่ปรากฏขึ้น  แต่จะเกิดจากการเขียนส่วนเพิ่มเติมเข้าไป หรือขาดการวางโครงสร้างที่ดี และลักษณะ Bloaters  มีแนวโน้มสะสมโตขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งจะเกิดผลเสียขึ้นในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลง การแก้ไขทำได้ยากเนื่องจาก อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับส่วนอื่นๆอีก มีความซับซ้อนมาก หรือถ้าพยายามเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายหลังทำให้ระบบพังเลยก็มี ดังนั้นในส่วนนี้จึงไม่มีใครอยากจะยุ่งเท่าไรนัก เป็นไปได้ว่า Code, Method และ  Class ที่มีขนาดใหญ่ ทำงานหลายๆอย่างเสร็จสรรพในตัวมันเอง แต่การเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยนั้นก็เพียงพอที่จะทำให้ล้มเหลวหลายๆอย่างด้วยตัวมันเองได้เช่นกันครับ

2. Code Smell แบบใช้ OO  แบบผิดๆ(Object-Orientation Abusers)

use-your-tools

วิธีการหรือแนวทางการเขียนโปรแกรม แม้จะมีหลากหลายแบบตามการใช้งาน แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ ( Object-oriented programming, OOP) ได้รับความนิยมนำมาพัฒนาในงานธุรกิจเป็นอย่างมาก OOP คือรูปแบบการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ให้ความสำคัญกับ วัตถุ ซึ่งสามารถนำมาประกอบกันและนำมาทำงานรวมกันได้ โดยการแลกเปลี่ยนข่าวสารเพื่อนำมาประมวลผลและส่งข่าวสารที่ได้ไปให้ วัตถุ อื่นๆที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ทำงานต่อไป โดยหลักการ OO มีหลักการขั้นตอนที่เป็นที่ยอมรับกันในระดับสากล แต่ก็ไม่แปลกที่มีการละเมิดหลักการเหล่านั้น หรือการใช้งานแบบผิด เนื่องจากผู้เขียนเองไม่ทราบหลักการนั้นๆ หรือขี้เกียจ หรือสุดแท้แล้วแต่เหตุผล ดังนั้น Object-Orientation Abusers ก็คือ โปรแกรมที่ไม่สมบูรณ์ตามหลักการ หรือผิดหลักการการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุนั้นเองครับ

เนื้อหาชักจะมากเกินไป ครั้งนี้เอาไว้เพียงแค่นี้ก่อน ในครั้งต่อ ๆ ไปเราจะมาพูดถึง Code Smell 3 ประเภท  ที่เหลือนะครับ

Stream Magento ทีม Code คุณภาพ

Sources

  • Refactoring: Improving the Design of Existing Code – Martin Fowler
  • Mäntylä, M. V. and Lassenius, C. “Subjective Evaluation of Software Evolvability Using Code Smells: An Empirical Study”. Journal of Empirical Software Engineering, vol. 11, no. 3, 2006, pp. 395-431.
0 0 Continue Reading →

บรรยากาศภายในงาน TeCS :Thailand eCommerce Summit 2016

บรรยากาศภายในงาน TeCS :Thailand eCommerce Summit 2016

เมื่อวันที่  22 มิถุนายน  2559 ทาง บริษัท สตรีมไอที คอนซัลติ้ง ได้เข้าร่วมงานสัมนา Thailand eCommerce Summit (TeCS)

ซึ่งถูกจัดขึ้นโดย Bangkok Entrepreneurs Co Ltd ณ โรงแรม Grand Hyatt Erawan Bangkok

งานนี้ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในงานด้าน eCommerce ให้การสนใจเป็นอย่างดีและได้เข้าร่วมงานกันอย่างเนื่องแน่น

โดยมีผู้เชื่ยวชาญที่ประสบความสำเร็จในด้าน eCommerce มาแชร์ประสบการณ์ อาทิ เช่น Lazada, Zalora, Facebook, Line, Google, Ascend, WeLoveShopping, Braintree (by Paypal), Nielsen, aCommerce, 2C2P, Sendit, WearYouWant และอื่นๆ

ทำให้ทาง บริษัท ได้เรียนรู้แนวทางในการพัฒนางาน eCommerce ให้ประสบความสำเร็จต่อไป

ภาพบรรยากาศภายในงาน

ถ่ายรูปทีมงานกันก่อนเข้างาน

ถ่ายรูปทีมงานกันก่อนเข้างาน

ต่อแถวลงทะเบียนเข้างาน คนร่วมงานเยอะมาก

ต่อแถวลงทะเบียนเข้างาน คนร่วมงานเยอะมาก

จุดลงทะเบียน

จุดลงทะเบียน

ห้องประชุมฟังผู้บริหารบรรยายเกี่ยวกับธุรกิจของตัวเองและการเติบโตของธุรกิจในปัจจุบัน

ห้องประชุมฟังผู้บริหารบรรยายเกี่ยวกับธุรกิจของตัวเองและการเติบโตของธุรกิจในปัจจุบัน

ห้อง workshop ในหัวข้อ "Elevate Your Sales with the New Facebook Page Shop" โดย facebook

ห้อง workshop ในหัวข้อ “Elevate Your Sales with the New Facebook Page Shop” โดย facebook

ห้อง workshop การบรรยายหัวข้อ "How to engage your customers with facebook and line" โดย 425 degree.com

ห้อง workshop การบรรยายหัวข้อ  “How to engage your customers with facebook and line” โดย 425 degree.com

Sendit

Sendit
ด้วยเทคโนโลยีติดตามสินค้าแบบ real-time และบริการเก็บเงินปลายทาง ที่ช่วยให้คุณขายออนไลน์ได้ง่ายขึ้น

Tapsey

บรรยากาศบูธ Tapsey
หามืออาชีพที่ใช่ ในราคาที่ชอบ

Omise

บูธ Omise
Payment Gateway คุณภาพสูง

Kanyarat Povorasin

0 0 Continue Reading →

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save