ในบทความนี้เราจะเจาะมูลค่ายอดขายของภาคธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม,เครื่องสำอาง ยาและเวชภัณฑ์จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่

1.อาหารและเครื่องดื่ม (ไม่รวมอาหารสำหรับเด็กทารก)  ในกลุ่มนี้เราจะเห็นว่ามีการแข่งขันกันหลายเจ้าในบ้านเรา ไม่ว่าจะเป็น KFC, Pizza, MK, BURGER KING เป็นต้น

2.เครื่องสำอาง ยาและเวชภัณฑ์ ซึ่งในกลุ่มนี้มีผู้เล่นหลายเจ้า เช่น Watson, Boot  เป็นต้น

เรามาดูว่ายอดขายประมาณการณ์ของภาคธุรกิจนี้ตั้งแต่ปี 2014-2020 เป็นอย่างไรR1

*ข้อมูลมูลค่ายอดขายนี้เป็นตัวเลขประมาณการณ์โดยสำรวจจากการซื้อขายสินค้าที่จับต้องได้(physical goods)และมีลักษณะ B2C ที่มีการซื้อขายผ่าน คอมพิวเตอร์ และ Mobile Devices

จากรูปด้านบน ภาพรวมมูลค่ายอดขายสินค้าผ่าน E-Commerce ในประเทศไทยของภาคธุรกิจนี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี 2014 มีมูลค่าสูงถึง 124 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นเงินไทยถึง 4,340 ล้านบาท และในปี 2015 ที่ผ่านมา 5,530 ล้านบาท มูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 27.4%  ในปี 2016 คาดการณ์ว่าเพิ่มขึ้น 58% จากปี 2014 และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องไปจนถึงปี 2020 ซึ่งคิดเป็นมูลค่า 395 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นเงินไทยถึง 13,825 ล้านบาท ถึงแม้ว่าภาคธุรกิจนี้ยอดขายจะไม่สูงเท่าธุรกิจอื่น แต่มีอัตราการเพิ่มขึ้นของยอดขายเพิ่มขึ้นประมาณ 20% ทุกปี

อัตราการเติบโตยอดขายภาคธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม,เครื่องสำอาง ยาและเวชภัณฑ์(คิดเป็น%)

R2

จากกราฟจะเห็นได้ว่าตั้งแต่ปี 2015 – 2020 สินค้าจำพวกอาหารและเครื่องดื่มตกลงจากปี 2015 ประมาณ 22.1% และแผ่วลงเล็กน้อยในปีต่อๆไป และมีอัตราการโตโดยเฉลี่ย 20% ทุกปี

ส่วนสินค้าพวก เครื่องสำอาง ยาและเวชภัณฑ์จากปี 2015 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยประมาณ 4% และตกลงเรื่อยๆ แต่ยังคงเป็นบวก

จำนวน User ที่ซื้อสินค้าต่อปี

U1

จากกราฟจะเห็นได้ว่าตั้งแต่ปี 2014 – 2020 จำนวน user ที่ซื้อสินค้าทั้ง อาหาร เครื่องดื่ม เครื่องสำอาง ยาและเวชภัณฑ์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องที่น่าสนใจคือ สินค้าพวก อาหารและเครื่องดื่ม มีจำนวน User เพิ่มขึ้น 2 เท่าจากปี 2014 ถึง 2020 เป็นไปได้ว่าลูกค้ามีความนิยมที่จะซื้ออาหารหรือเครื่องดื่มผ่านทางออนไลน์แทนที่จะไปซื้อถึงที่ร้าน

ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อ User ในการซื้อสินค้าต่อปี (Average revenue per user)

A1

กราฟก่อนหน้าแสดงให้เห็นว่ามีจำนวน User ต่อปีที่เท่าไรที่ซื้อสินค้า คราวนี้มาดูว่าแต่ละ User มีการใช้จ่ายเท่าไรบ้าง

จากกราฟด้านบนตั้งแต่ปี 2014-2020 ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อ User ที่ซื้อสินค้าอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจากปี 2014 จนถึงปี 2020 เพิ่มขึ้นมา 2 เท่าตัว ส่วนสินค้าเครื่องสำอาง ยาและเวชภัณฑ์มีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในแต่ละปี

อัตราการเติบโตของภาคสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม เครื่องสำอาง ยาและเวชภัณฑ์ส่งผลให้มูลค่ายอดขายเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง สาเหตุหลักๆ มาจากอัตราการเข้าถึงของผู้ใช้ Internet ในประเทศเพิ่มมากขึ้นและอุปกรณ์ IT ต่างๆ มีราคาลดลงและคนรุ่นใหม่ยุค Gen Y,Z ที่เติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่จะเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อและมีศักยภาพในการผลักดัน E-Commerce ในอนาคต

Picture Credit: www.statista.com/

_______________________________________________________________________

ไปต่อกับบทความ ยอดขาย  E-Commerce ในประเทศไทยแยกตามภาคธุรกิจ

_______________________________________________________________________

จากข้อมูลทั้งหมด ทาง Stream IT Consulting มี Solution ที่ตอบโจทย์ E-Commerce ทุกภาคธุรกิจ ได้อย่างครบถ้วน อย่างแน่นอน

banner

สนใจที่จะใช้บริการ สามารถติดต่อได้ที่ฝ่ายขายของเรา marketing@stream.co.th เราเป็น Magento Partner หนึ่งเดียวในประเทศไทย

เขียนและเรียบเรียงโดย Kittiphat Dumrongprat

Business Analyst