Skip to Content

Blog Archives

มูลค่ายอดขาย E-Commerce ในประเทศไทย – ภาคธุรกิจสินค้าเฉพาะทาง(ของเล่น ของสะสมและเครื่องใช้สำหรับเด็กทารก,อุปกรณ์กีฬาและของจัดสวน,งานอดิเรก งานฝีมือและเครื่องประดับ)

ในบทความนี้เราจะเจาะมูลค่ายอดขายของภาคธุรกิจเฉพาะทางจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่

1.ของเล่น ของสะสมและเครื่องใช้ อาหาร เสื้อผ้าสำหรับเด็กทารก

2.อุปกรณ์กีฬาและของจัดสวน สินค้าในประเภทนี้ได้แก่ อุปกรณ์กีฬาทุกชนิด ต้นไม้ ดอกไม้ อุปกรณ์จัดสวน และสินค้า DIY ทั้งหลาย

3.งานอดิเรก งานฝีมือและเครื่องประดับ สินค้าในประเภทนี้ได้แก่ งานศิลป์ ของสะสมต่างๆ แสตมป์ ของโบราณ ธนบัตร นาฬิกา อัญมณี แหวน สร้อย เป็นต้น

เรามาดูว่ายอดขายประมาณการณ์ของภาคธุรกิจนี้ตั้งแต่ปี 2014-2020 เป็นอย่างไร

si1

*ข้อมูลมูลค่ายอดขายนี้เป็นตัวเลขประมาณการณ์โดยสำรวจจากการซื้อขายสินค้าที่จับต้องได้(physical goods)และมีลักษณะ B2C ที่มีการซื้อขายผ่าน คอมพิวเตอร์ และ Mobile Devices

จากรูปด้านบน ภาพรวมมูลค่ายอดขายสินค้าผ่าน E-Commerce ในประเทศไทยของภาคธุรกิจนี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี 2014 มีมูลค่าสูงถึง 276 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นเงินไทยถึง 9,660 ล้านบาท และในปี 2015 ที่ผ่านมา 13,370 ล้านบาท มูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 38.4%  ในปี 2016 คาดการณ์ว่าเพิ่มขึ้น 80.43% จากปี 2014 และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องไปจนถึงปี 2020 ซึ่งคิดเป็นมูลค่าสูงถึง 1,041 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นเงินไทยถึง 36,435 ล้านบาท ถือว่าเป็นภาคธุรกิจที่น่าลงทุนทีเดียว โดยเฉพาะสินค้าในส่วนงานอดิเรก งานฝีมือและเครื่องประดับซึ่งมียอดขายสูงสุด ถ้าเทียบกับสินค้าประเภทอื่นในภาคธุรกิจเดียวกัน

อัตราการเติบโตยอดขายภาคธุรกิจสินค้าเฉพาะทาง (คิดเป็น%)

si2

จากกราฟจะเห็นได้ว่าตั้งแต่ปี 2015 – 2020 สินค้าจำพวกของเล่น ของสะสมและเครื่องใช้ อาหาร เสื้อผ้าสำหรับเด็กทารกมีอัตราการเติบโตของยอดขายมากที่สุดในภาคธุรกิจนี้เฉลี่ย 34% รองลงมาเป็นสินค้างานอดิเรก งานฝีมือและเครื่องประดับที่มีอัตราการเติบโตของยอดขายเฉลี่ย 25% ส่วนอันดับสุดท้ายเป็นของสินค้าอุปกรณ์กีฬาและของจัดสวนซึ่งมีอัตราการเติบโตของยอดขายเฉลี่ย 16%

จำนวน User ที่ซื้อสินค้าต่อปี

si3

จากกราฟจะเห็นได้ว่าตั้งแต่ปี 2014 – 2020 จำนวน user ที่ซื้อสินค้าทั้ง อุปกรณ์กีฬาและของจัดสวน กับ งานอดิเรก งานฝีมือและเครื่องประดับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องที่น่าสนใจคือ สินค้าพวก ของเล่น ของสะสมและเครื่องใช้ อาหาร เสื้อผ้าสำหรับเด็กทารก มีจำนวน User เพิ่มขึ้น 3 เท่าจากปี 2014 ถึง 2020 เป็นไปได้ว่าลูกค้ารุ่นใหม่ที่คุ้นเคยกับการใช้ internet กลายมาเป็นคุณพ่อ คุณแม่ยุคใหม่ที่นิยมจะซื้อสินค้าเครื่องใช้ อาหาร เสื้อผ้าสำหรับเด็กทารก ผ่านทางออนไลน์แทนที่จะไปซื้อถึงที่ร้าน

ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อ User ในการซื้อสินค้าต่อปี (Average revenue per user)

si4

กราฟก่อนหน้าแสดงให้เห็นว่ามีจำนวน User ต่อปีที่เท่าไรที่ซื้อสินค้า คราวนี้มาดูว่าแต่ละ User มีการใช้จ่ายเท่าไรบ้าง

จากกราฟด้านบนตั้งแต่ปี 2014-2020 ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อ User ที่ซื้อสินค้าของเล่น งานอดิเรก งานฝีมือและเครื่องประดับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจากปี 2014 จนถึงปี 2020 เพิ่มขึ้นมา 2 เท่าตัวเท่ากับสินค้าอีก 2 ประเภท

อัตราการเติบโตของภาคสินค้าเฉพาะทาง ส่งผลให้มูลค่ายอดขายเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง สาเหตุหลักๆ มาจากการเข้าถึงผู้ใช้สามารถเข้าถึง Internet ในประเทศเพิ่มมากขึ้นและอุปกรณ์ IT ต่างๆ มีราคาลดลงและคนรุ่นใหม่ยุค Gen Y,Z ที่เติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่จะเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อและมีศักยภาพในการผลักดัน E-Commerce ในอนาคต

Picture Credit: www.statista.com/

 

_______________________________________________________________________

ไปต่อกับบทความ ยอดขาย  E-Commerce ในประเทศไทยแยกตามภาคธุรกิจ

_______________________________________________________________________

จากข้อมูลทั้งหมด ทาง Stream IT Consulting มี Solution ที่ตอบโจทย์ E-Commerce ทุกภาคธุรกิจ ได้อย่างครบถ้วน อย่างแน่นอน

banner

สนใจที่จะใช้บริการ สามารถติดต่อได้ที่ฝ่ายขายของเรา marketing@stream.co.th เราเป็น Magento Partner หนึ่งเดียวในประเทศไทย

เขียนและเรียบเรียงโดย Kittiphat Dumrongprat

Business Analyst

0 0 Continue Reading →

มูลค่ายอดขาย E-Commerce ในประเทศไทย – ภาคธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์

มูลค่ายอดขาย E-Commerce ในประเทศไทย – ภาคธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์

            ในบทความนี้เราจะเจาะมูลค่ายอดขายของภาคธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่

1.Consumer electronic ที่ครอบคลุมสินค้าจำพวกอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหลาย เช่น TV, Notebook, Laptops, Smartphone, Tablet  ในกลุ่มนี้เราจะเห็นว่ามีการแข่งขันกันหลายเจ้าที่โด่งดังในบ้านเรา ไม่ว่าจะเป็น J.I.B. , Advice, BaNANA IT, IT City, AIS, True, Dtac ที่แข่งขันกันอย่างดุเดือด

2.Physical media ที่ครอบคลุมสินค้าจำพวก หนังสือ,DVD ,CD ,Blu-ray Disc ซึ่งในกลุ่มนี้มีผู้เล่นหลายเจ้า เช่น ร้านนายอินทร์, Se-ed, B2S ,ร้านหนังสือจุฬา เป็นต้น

เรามาดูว่ายอดขายประมาณการณ์ของภาคธุรกิจนี้ตั้งแต่ปี 2014-2020 เป็นอย่างไร

R1

*ข้อมูลมูลค่ายอดขายนี้เป็นตัวเลขประมาณการณ์โดยสำรวจจากการซื้อขายสินค้าที่จับต้องได้ (physical goods) และมีลักษณะ B2C ที่มีการซื้อขายผ่าน คอมพิวเตอร์ และ Mobile Devices

จากรูปด้านบน ภาพรวมมูลค่ายอดขายสินค้าผ่าน E-Commerce ในประเทศไทยของภาคธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี 2014 มีมูลค่าสูงถึง 1,076 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นเงินไทยถึง 37,660 ล้านบาท และในปี 2015 ที่ผ่านมา 40,775 ล้านบาท มูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 8.3%  ในปี 2016 คาดการณ์ว่าเพิ่มขึ้น 26% จากปี 2014 และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องไปจนถึงปี 2020 ซึ่งคิดเป็นมูลค่า 1,909 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นเงินไทยถึง 66,815 ล้านบาท ในภาคธุรกิจนี้มีปริมาณยอดขายที่สูงที่สุดของ E-Commerce

 

อัตราการเติบโตยอดขายภาคธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์(คิดเป็น%)

G1

จากกราฟจะเห็นได้ว่าตั้งแต่ปี 2015 – 2020 สินค้าจำพวก Consumer electronic พุ่งจากปี 2015 ถึง 21.9% แต่จะแผวลงในปีต่อๆไป แต่ยังคงเป็นบวกอยู่ ในทางกลับกัน สินค้าพวก Physical media จากปี 2015 ตกลงไปเหลือ 3.9% แต่ในปีต่อๆไปเพิ่มขึ้นแต่ไม่มากนัก

จำนวน User ที่ซื้อสินค้าต่อปี

U1

จากกราฟจะเห็นได้ว่าตั้งแต่ปี 2014 – 2020 จำนวน user ที่ซื้อสินค้าทั้ง Consumer electronic และ Physical media เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องที่น่าสนใจคือ สินค้าพวก Physical media มีจำนวน User เพิ่มขึ้น 2 เท่าจากปี 2014 ถึง 2020 เป็นไปได้ว่าลูกค้าเปลี่ยนพฤติกรรมจากการอ่านพวก Hard Copy มาเป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์แทน ซึ่งในปัจจุบันจะเห็นได้จากธุรกิจนิตยสาร image ได้เปลี่ยนจากหนังสือนิตยสารมาเป็น e-magazine อย่างเต็มตัวเพื่อตอบพฤติกรรมของลูกค้า

ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อ User ในการซื้อสินค้าต่อปี (Average revenue per user)

A1

กราฟก่อนหน้าแสดงให้เห็นว่ามีจำนวน User ต่อปีที่เท่าไรที่ซื้อสินค้า คราวนี้มาดูว่าแต่ละ User มีการใช้จ่ายเท่าไรบ้าง

จากกราฟด้านบนตั้งแต่ปี 2014-2020 ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อ User ที่ซื้อสินค้า Consumer electronic แทบจะไม่เปลี่ยนแปลงเลยจะอยู่ในช่วง 3,500 – 4,000 บาท ซึ่งคล้ายคลึงกับสินค้า Physical media ที่ไม่ค่อยเปลี่ยนเช่นกัน อยู่ประมาณ 1,100 บาท

อัตราการเติบโตของภาคธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ ส่งผลให้มูลค่ายอดขายเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง สาเหตุหลักๆ มาจากผู้ใช้สามารถเข้าถึง Internet ในประเทศเพิ่มมากขึ้นและอุปกรณ์ IT ต่างๆ มีราคาลดลงและคนรุ่นใหม่ยุค Gen Y,Z ที่เติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่จะเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อและมีศักยภาพในการผลักดัน E-Commerce ในอนาคต

Picture Credit: www.statista.com/

_______________________________________________________________________

ไปต่อกับบทความ ยอดขาย  E-Commerce ในประเทศไทยแยกตามภาคธุรกิจ

_______________________________________________________________________

จากข้อมูลทั้งหมด ทาง Stream IT Consulting มี Solution ที่ตอบโจทย์ E-Commerce ทุกภาคธุรกิจ ได้อย่างครบถ้วน อย่างแน่นอน

banner

สนใจที่จะใช้บริการ สามารถติดต่อได้ที่ฝ่ายขายของเรา marketing@stream.co.th เราเป็น Magento Partner หนึ่งเดียวในประเทศไทย

 

เขียนและเรียบเรียงโดย Kittiphat Dumrongprat

Business Analyst

0 1 Continue Reading →

“Real-Time Payments Breakfast Briefing” by Stream IT Consulting

IMG_2961

สตรีม ไอที คอนซัลติ้ง ร่วมกับพันธมิตร D+H

ซึ่งเป็นผู้นำเทคโนโลยีด้านระบบการชำระเงินมาตรฐานโลกให้กับทางธนาคารขนาดใหญ่
จัดงาน “Real-Time Payments Breakfast Briefing” ในวันที่ 13 พฤษภาคม 2559
ณ โรงแรม St. Regis เพื่อเปิดตัวเทคโนโลยี Global Pay Plus
สำหรับรองรับการขยายตัวของธุรกิจธนาคารไปสู่ภูมิภาคอื่นๆทั่วโล
การทำแซทเทิลเมนต์และคิดค่าธรรมเนียมการบริการต่างๆได้อย่างรวดเร็ว
รวมถึงการเชื่อมต่อกับโครงสร้างพื้นฐานของระบบการชำระเงินแห่งชาติ
NPMS (National Payment  Message Standard) บนมาตราฐาน ISO20022
ตามนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไท

งานนี้ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในภาคธนาคารต่างๆให้การตอบรับที่ดีและเข้าร่วมงานอย่างเนืองแน่น
โดยมีผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมทางการเงินมาแชร์ประสบการณ์ที่ทำให้กับ
Singapore’ s Fast and Secure Transfers (FAST) และ Australia’ s New
Payments Platform (NPP) รวมถึงเทรนใหม่ๆของ Immediate Payments Globally
ที่จะเสริมศักยภาพด้านการชำระเงินให้กับ P2P, C2B, B2C, B2B, G2C/C2G
โดยใช้ Payment Modernization Platform จากทาง D+H และสตรีม ไอที
คอนซัลติ้งจะเป็นผู้สนับสนุนบริการตามมาตรฐานของธนาคารเพื่อผลักดันให้
ธนาคารในบ้านเราสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นได้ต่อไป

ภาพบรรยากาศในงาน

0 2 Continue Reading →

กลยุทธ์ Social HR มีความสำคัญมากน้อยแค่ไหน?

กลยุทธ์ Social HR มันคืออะไร?

พวกเรามนุษย์ทำงานปัจจุบันก็อยู่บนโลกโซเชียลกันอยู่แล้ว แต่องค์กรต่างๆจำเป็นที่จะต้องปรับฝ่ายบุคคลให้ทันสมัยกับโลกโซเชียลอย่างไร?

เคล็ด (ไม่) ลับคืออะไรหรือ?

  1. เราอาจไม่ทราบ แต่องค์กรที่เปิดให้พนักงานสื่อสารและแลกเปลี่ยนความรู้ผ่านโซเชียลนั้น จะสร้าง employee engagement ได้มาก และจะสามารถรักษาบุคคลากรดีๆไว้กับองค์กรได้ดีกว่าองค์กรที่ไม่เปิดรับโซเชียล ในโลกของยุคข่าวสารข้อมูล ต้องยอมรับว่าโซเชียลเป็นช่องทางสำคัญในการสื่อสาร และคุณอาจแปลกใจว่าโซเชียลนั้น ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากคนทุกเจอเนอเรชั่น เผลอๆ อาจจะช่วยเชื่อมต่อคนต่างเจอเนอเรชั่นได้ด้วย เพราะทุกคนมีสิทธิในการออกความเห็นเท่าเทียมกัน และการสื่อสารนี้จะช่วยให้เข้าใจมุมมองของคนที่เห็นต่างได้ดียิ่งขึ้น แต่องค์กรก็ต้องสนับสนุนวัฒนธรรมในการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลนี้ด้วยนะ
  2. พนักงานช่วยเราสร้างแบรนด์ได้นะ โดยเฉพาะหากเรามีกิจกรรมที่มีสีสรรค์ น่าสนใจ การที่เราได้เพื่อนพนักงานเรามาช่วยเป็น แบรนด์ แอมบาสซาเดอร์ หรือทูตสันถวไมตรีให้แบรนด์เรานี่ จะได้ผลกว่าการทำการตลาดผ่านช่องทางอื่นถึง 30 เท่าเชียวนา ทำเป็นเล่นไป โซเชียลนี่ก็มีดีนะ แถมได้ส่งเสริมความสัมพันธ์เราภายในองค์กรอีกด้วย
  3. โอว.. ข้อนี้สำคัญสุดๆ – โซเชียลช่วยเพิ่มรายได้เราเท่าทวีคูณ หรือสัก 4 เท่ากว่าองค์กรที่ไม่ใช้โซเชียลทีเดียว แถมรายได้ต่อหัวพนักงานยังเพิ่มขึ้นถึง 24% อันนี้น่าจะมาจากความรวดเร็วของการแชร์ข้อมูลส่วนหนึ่ง และการ know who คือรู้ว่าใครเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องใดในองค์กร ช่วยให้พบปะหารือกันง่ายขึ้น ช่วยสร้างบรรยากาศการ collaboration ได้อย่างจริงจัง เพราะทุกคนตื่นตัว และเปิดรับข้อมูลข่าวสาร เติมมุมมองในการแก้ปัญหาและหาโซลูชั่น แถมมีกลิ่นอายความสนุกสนาน จน “งาน” ไม่เหมือนเป็น “งาน” แต่เป็นการร่วมงานกันระหว่าง “เพื่อน” ที่มีความสนใจตรงกัน และสนุกกับการที่ได้เห็นผลลัพท์ของการได้ทำงานแบบเชิงรุกด้วยกัน

 

ฟังแล้วน่าสนุกดีไหมคะ? แล้วองค์กรเพื่อนๆเป็นองค์กรโซเชียลแล้วหรือยังคะ?

…เรายังรีรออะไรอยู่?

 

Social HR strategy

อ่านเพิ่มเติม: Hootsuite

0 1 Continue Reading →

องค์กรไทยๆเรา พร้อมหรือยัง? มาฟัง Digital Transformation จาก HP กันค่ะ…

หัวใจของการปรับเปลี่ยนองค์กรเข้าสู่โลกดิจิทัล คือการมีกลยุทธ์ในการคิดค้น Business Model ใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง

ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ จะกระทบถึงค่านิยมและวัฒณธรรมองค์กร และวิธีการทำงานของทุกๆคนอย่างแน่นอน

ในระดับองค์กรนั้น กระทบทั้งกระบวนการการทำงาน รูปแบบสินค้าและบริการ วิธีการการเจาะตลาดและวางกลุ่มเป้าหมาย ความเกี่ยวข้องของอุตสาหกรรมข้างเคียง

โดยจะต้องสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆบางอย่างที่มีคุณค่าต่อผู้บริโภค และองค์กรต้องมีประสิทธิภาพสูง…

…แล้วพวกเราคิดว่าองค์กรไทยๆเรา และคนทำงานอย่างเราๆนั้น พร้อมรับมือกับ Digital Transformation หรือยังคะ?

A key to maintaining transformation momentum is to develop an ongoing strategy of adopting disruptive business models. Disruption literally uproots and shifts enterprise values, culture, and the way individuals within the organization learn, interact, and execute. Disruption can displace existing processes, products, services, markets, industries, or technologies, creating something entirely new, more efficient, and valuable.

 

Age of Digital Transformation

 

ขั้นตอนแรก อย่าลืมมุ่งมั่นสร้าง Customer Experience ที่ดี

Customer Journey Maps… คือตัวช่วยที่จะทำให้เรามองเห็นภาพรวมของลูกค้า และมองหาจุดที่จะปรับปรุงช่องทางและการให้บริการให้ตรงใจ ตรงความคาดหวังลูกค้าคนรุ่นใหม่

โดยจะช่วยให้เราสามารถมองเห็นว่า เราต้องปรับปรุงจากวิธีการเดิมๆปรับสู่กระบวนการรูปแบบใหม่ เพื่อรองรับผู้บริโภคและลูกค้ายุคดิจิทัลอย่างไร?

และเราจะมองหาความต้องการใหม่ๆของลูกค้าเพื่อนำไปต่อยอดสร้างโอกาสทางธุรกิจต่อไปได้อย่างไร?

To better understand and improve the customer/client experience, customer journey maps are crucial. An effective journey map documents your customer experience through your customer’s own eyes. These maps help break logjams by clearly documenting where traditional enterprise processes and systems work against customer needs and expectations. They create a better understanding of how customers interact with the enterprise today, and they also identify improvement opportunities to heighten the experience in the future.

 

Culture Shock – เราควรเตรียมตัวรับมือกับมัน

เราต้องเจอกับทั้งแนวคิด การจัดองค์กร สายการรายงาน วัฒนธรรม ความรู้ การพัฒนาบุคลากร และการวัดผลรูปแบบใหม่แน่ๆอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

เราในฐานะผู้รับผิดชอบหรือผู้ดำเนินงานในแต่ละภาคส่วนขององ์กร สามารถเฝ้าติดตามเศรษฐกิจดิจิทัล และช่วยวางแผนให้หน่วยงานของเราปรับเปลี่ยนอย่างทันท่วงที และจัดเตรียมและฝึกฝนบุคคลากรให้เหมาะกับงานใหม่ๆที่กำลังจะมาถึง ที่สำคัญเราอาจต้องประสานหลากหลายสายงาน เพื่อร่วมคิดแผนการ transform ที่มีความคล่องตัวสูง มีการประสานงานที่ดี และสนับสนุนซึ่งกันและกัน

ทั้งนี้… หากเราต้องการประสบความสำเร็จในการ transform เราคงต้องมีการ re-engineering กระบวนการภายใน และกระบวนการระหว่างคู่ค้า ที่ยังไม่ใช่ดิจิทัลให้สอดรับกันด้วย ไม่เช่นนั้นการปรับตัวของเราก็จะไม่เป็นไปตามเป้าหมายแน่

Don’t mistake enterprise transformation for a strategy embracing a singular focus on the digital realm. Emphasis on the structural elements of the enterprise is just as important. Enterprise transformation requires new ways of thinking
about organizational reporting structures, skill sets, culture, training, and measurement systems. The process won’t work if nondigital efforts aren’t subjected to the same rigorous analysis and re-engineering processes.

 

Cloud, Mobile, Agile – คีย์เวิร์ดขององค์กรทันสมัย ทั้งสินค้าบริการใหม่ ซึ่งต้องผสมผสานหลากหลายหน่วยงานในองค์กร แต่ละภาคส่วนต้องรับผิดชอบการทำงานตามขั้นตอนที่ตัวเองได้รับมอบหมายให้ดี จะพลาดไม่ได้

อาจจะฟังดูยุ่งเหยิงในช่วงแรกๆนะคะ แต่เราต้องหัดมองเรื่องนี้ให้เป็นเรื่องดี อย่ามัวแต่ปกป้องวิธีการทำงานแบบเดิมๆ

โดยเราจะต้องฉวยโอกาสสร้างนวัตกรรมท่ามกลางความยุ่งเหยิงนี่แหละ ..ถึงจะได้เปรียบคู่แข่ง และอยู่รอดได้ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้

คงไม่ยากเกินไปนะคะ เพื่อนๆ เพียงแต่ทุกคนในองค์กรต้องมีเป้าหมายเดียวกัน ขับเคลื่อนไปในแนวทางเดียวกัน และเปิดใจเรียนรู้โลกใบใหม่ไปด้วยกันค่ะ…

The transformed enterprise pulls together cloud, mobile, and agile development processes to drive rapid product development across multiple groups, each of which is accountable for its own continuous delivery. This orchestration often creates chaotic environments, and—on your way to thriving—that’s a good thing. Attempts to rein in the chaos with traditional processes and procedures will slow the enterprise down, thwarting innovation.

 

Source: HP Enterprise

0 0 Continue Reading →

มุ่งสู่ Digital Marketing Excellence…

แผนภุมิ Digital Marketing Excellence ..เรียนรู้จากบริษัทที่ปรึกษา Smart Insights เดินตามแผนนี้เพื่อแผนการตลาดดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพสูงสุดค่ะ

Capability Framework คงไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับเราที่เคยทำกระบวนการการปรับปรุงคุณภาพมาแล้วนะคะ แต่ว่าคราวนี้ นำมาใช้กับนักตลาดยุคใหม่ เพื่อต่อยอดแผน Digital Marketing เพื่อมุ่งเน้นคุณภาพ ด้วยการตั้ง KPIs หรือตัวชี้วัดผลงานจาก Volume-based มาเป็น Value-based จนกระทั่งถึง Lifetime-value ในที่สุด

รวมถึงการ engage กลุ่มลูกค้าอย่างใกล้ชิดขึ้นเรื่อยๆ จาก Integrated web, mobile, email and social media ไปสู่ Full contextual personalized experiences and recommendations

ซึ่งการจะไปสู่จุดนี้ได้ก็ต้องอาศัย Big Data Analytics ล่ะค่ะ ในการนำข้อมูลต่างๆมาวิเคราะห์ และแปรเปลี่ยนเป็นประสบการณ์ที่ดีเลิศแก่ลูกค้าของเรา ผ่านช่องทางต่างๆ

Smart Insights Digital Excellence capability framework will help you review how effectively your digital marketing is managed across seven key areas:

  • A. Your Strategic approach
  • B. Evaluation and performance improvement process
  • C. Management buy-in to investment in digital marketing
  • D. Resourcing and structure for digital including integration
  • E. Data and infrastructure or platforms
  • F. Integrated customer communications across Paid-Owned-Earned media
  • G. Integrated customer experiences across desktop and mobile devices

 

Digital Marketing Capabilities Model - Smart Insights

 

 

Source: Smartinsights.com – Digital Transformation

 

 

0 0 Continue Reading →

หัวใจ 3 ข้อของ Digital Transformation…

เรามาถูกทางหรือยังกับ Digital Transformation? 

เชื่อว่าคุณคงได้เริ่มต้นเดินทางในเส้นทางสายนี้มาแล้ว ทีนี้มาลองเช็คดูว่าเรามองภาพครบหรือยัง?

ห้วใจ 3 ข้อใหญ่ในการเปลี่ยนแปลงสู่โลกดิจิทัลคือ:

1. วิสัยทัศน์และภาวะผู้นำ

2. การมุ่งเพิ่มความพึงพอใจลูกค้าในมิติดิจิทัล

3. การมีทีม Digital Transformation ที่แข็งแกร่ง เข้าใจทิศทาง

ในความเห็นส่วนตัว ข้อ 1 และข้อ 2 น่าจะเป็นจุดเริ่มต้น เราคงต้องศึกษาข้อมูลทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะในธุรกิจเราหรือที่ใกล้เคียงกับเรา เพื่อให้ความคิดเราตกผลึก ว่าการคิดใหม่ทำใหม่จะทำได้อย่างไร เทคโนโลยีที่มีรอบตัวเรานั้น จะมาช่วยสร้างให้เรา connect โดยตรงกับลูกค้าเราทั้ง B2B (คู่ค้า) และ B2C (ผู้บริโภค) ได้อย่างไร?

สำหรับลูกค้าแล้ว เราต้องใส่ใจ Customer experience ในทุกขั้นตอนของ Lifecycle และนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อที่จะนำมาปรับปรุงบุคคลากร กระบวนการทำงาน และเทคโนโลยี ให้สอดคล้องกับเป้าหมาย และเพื่อให้เส้นทางดิจิทัลของลูกค้าเราราบรื่นและมีประสิทธิภาพที่สุด

จากนั้นก็ขึ้นอยู่กับฝีมือทีม Transformation และการบริหารการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กรแล้วล่ะค่ะ

The Three Elements of Digital Transformation - Altimeter Group
Element #1: Vision and Leadership. Digital transformation is an emergent movement and not yet recognized as a formal priority or effort by most businesses. This requires those leading or attempting to get a digital transformation program in motion to make the business case. But, the business case needs more than evidence or anecdotes; it needs a story and a vision for what it looks like and what it delivers.

Digital Customer Experience - Altimeter Group
Element #2: Digital Customer Experience. Digital customer experience begins with research, not guesswork, to study personas, behaviors, and expectations throughout every stage of the customer lifecycle. Once armed with information, digital transformation takes shape by specifically aligning people, processes, and technologies against goals and milestones to map a new and effective journey for digital customers.

Digital Transformation Checklist - Altimeter Group
Element #3: The Digital Transformation Team. In many cases, we learned that organizations form special teams to bring people together to start talking and put change into motion. These teams go by many names: digital circles, Centers of Excellence (CoE), rapid innovation teams, digital acceleration teams, and more.

Source: Altimeter Group

0 0 Continue Reading →

ผู้ขับรถ uberX ต้องจ่าย Uber เท่าไหร่?

เมื่อตอนเริ่มต้นในปี 2012 Uber คิดค่าธรรมเนียม 20% จากค่าโดยสาร หรือ 1 ใน 5… แต่ขณะนี้ สำหรับผู้ขับรถ uberX ในบางเมือง ทาง Uber เริ่มทดลองเพิ่มค่าธรรมเนียมเป็น 25-30% แล้วค่ะ

 

uberX

 

ผู้ขับรถหน้าใหม่แทบไม่ทราบด้วยซ้ำว่า Uber คิดค่าธรรมเนียมเท่าไหร่ และบางท่านยังคิดว่าเป็น 20% อยู่เลย เพราะไม่ได้ค้นคว้าจากข้อมูลล่าสุดของแต่ละเมือง

แต่แม้มีการขึ้นค่าธรรมเนียม Uber ก็ยังระบุว่ามีผู้ขับรถเข้าร่วมโครงการมากขึ้นตลอดเวลา Uber เคยยกตัวอย่าง เช่น นักศึกษาที่เรียนจบมหาวิทยาลัย แล้วยังหางานไม่ได้ ก็อาศัยได้งานขับรถ Uber นี่แหละช่วยประทังค่าใช้จ่ายประจำวันไปได้ บางท่านก็เป็นผู้ที่เกษียณแล้ว แต่หารายได้เสริม บางท่านก็มีกิจการเล็กๆของตัวเอง และขับรถ Uber ในวันที่ว่าง ก็เพื่อหารายได้เสริมเช่นกัน

แต่แน่นอน กระแสต้านจากผู้ขับรถแท็กซี่ก็ยังแรงอยู่ในทุกเมือง ล่าสุด รัฐแคลิฟอร์เนียได้ตัดสินแล้วว่าผู้ขับรถถือเป็น “ลูกจ้าง” ซึ่งภาระของ “ผู้ว่าจ้าง” ต้องสูงขึ้นแน่ นี่อาจเป็นเหตุผลที่ Uber ต้องขึ้นค่าธรรมเนียมในบางรัฐในอเมริกา

 

uberTAXI

ในอีกด้าน เดี๋ยวนี Uber ก็มีการร่วมมือกับค่ายแท็กซี่บ้างแล้ว และสามารถเลือกได้ระหว่างรถ uberX หรือ uberTAXI ส่วน UberBLACK นั้นไม่ต้องพูดถึง ราคาแพงกว่าเยอะ ประมาณเทียบเท่ารถลีมูซีนบ้านเรา ซึ่งจุดนี้ ผู้เขียนคิดว่าดี เพราะสร้างความชัดเจนแก่ผู้บริโภค เพราะเคยเจอมากับตัวว่าเลือก uberX แต่ได้มาเป็นรถแท็กซี่ การแบ่งชัดเจนแบบนี้ ผู้บริโภคสามารถมีทางเลือกที่ตนเองสะดวก และในอีกด้านหนึ่ง ทั้งผู้ขับอิสระ และค่ายแท็กซี่ก็ไม่ต้องมาแย่งผู้โดยสารกันแบบที่ผ่านมา

…มีเรื่องขำๆเล่าให้ฟังคือ ปกติลูกค้าจะใจร้อนพอ Uber มาช้า แต่เห็นแท็กซี่มาก่อน ก็กระโดดขึ้นเลย และคงหาทางกด cancel ที่จอง Uber ไป ทริปล่าสุดที่ผู้เขียนไปอเมริกา ก็เจอแท็กซี่ที่รับจองจาก Uber รีบโทรแจ้งศูนย์ขออนุญาตทิ้งผู้โดยสารที่จองมา เพราะหาตัวไม่เจอ และขอรับเราลูกค้าตัวเป็นๆที่อยู่ตรงหน้าเลย ไปไกลเงินดีเสียด้วย เหรียญทุกอย่างมีสองด้านค่ะ -*-

และที่ยังน่าเป็นห่วงอยู่บ้างก็คือความปลอดภัยของผู้ใช้บริการรวมถึงตัวผู้ขับรถเอง ซึ่งแม้มีการสอบทานประวัติและประกัน แต่ผู้ใช้บริการหลายท่านก็ยังไม่วางใจนัก

ตอนนี้เห็นว่ามีคู่แข่งเกิดจากค่ายใหญ่ในจีนแล้ว และในเอเชียเราก็มี Grab Taxi มาลองติดตามวิวัฒนาการของ Uber และ Sharing economy อื่นๆ เช่น AirBnB กันต่อไปได้ที่นี่ – Stream Blog – ค่ะ

[excerpt]

Since it launched in 2012, Uber’s popular, low-cost service UberX has always had a 20% commission, where Uber takes a one-fifth of the fare (or, in Uber’s parlance, drivers pay a 20% fee to license the technology).

But last year, Uber started testing whether it could charge drivers more for the same thing. Any drivers in San Francisco who signed up after September 2, 2014 had to fork over 25% of their pay to Uber instead. Then in May, Uber put a small group of new San Francisco and San Diego drivers in a pilot program with commissions that went up to 30%.

Rising commissions aren’t an experiment anymore. In the last few months, Uber has quietly bumped up commissions from 20% to 25% for new drivers in five cities. New York City drivers who joined as of April will pay 25%, as well as drivers in Toronto, Indianapolis, Boston  and Worcester, Mass., who joined as of August, the company confirmed.

San Francisco drivers who joined in the last year still pay a 25% commission. An Uber spokeswoman declined to say whether the 30% commission pilot program has spread to more drivers or markets.

Source: Forbes Tech

 

0 0 Continue Reading →

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save