Skip to Content

Blog Archives

มาทำความรู้จักกับ Google Analytics(ตอนที่ 2 Reporting)

หลังจากที่เราติดตั้งโค๊ดติดตามให้กับเว็บไซต์ของเราไปแล้วในตอนที่ 1  หากยังไม่ได้อ่านแนะนำให้กลับไปอ่านก่อนนะครับ  ในบทนี้เราจะมาพูดถึงเกี่ยวกับการดูรายละเอียดของรายงานครับ ซึ่งค่อนข้างละเอียดมากเลยทีเดียว  สามารถนำไปวิเคราะห์ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างเช่น เชิงพัฒนาเว็บไซต์ให้เหมาะกับผู้ใช้งาน  การตลาด เป็นต้น  เห็นไหมครับว่า ข้อมูลเหล่านี้ค่อนข้างสำคัญและก็ได้มาโดยแสนง่ายดายผ่านทางบริการของ Google Analytics


Dashboard 
  • Private คือ Dashboard ที่แสดงรายงานที่เป็นส่วนตัวครับ  โดยสามารถแสดงรายงานได้มากกว่า 1  นั่นหมายความว่าแสดงได้หลาย Dashboard นั่นเองครับ และแต่ละ Dashboard เราก็สามารถกำหนดให้แสดงรายงาน หรือเพิ่ม Widget ที่แตกต่างกันได้ครับ โดย Widget default ที่เตรียมไว้ให้จะมี
    • New Users : จะแสดงรายงานสถิติยอดผู้ใช้งานใหม่ของเว็บไซต์ ในระเวลาที่ผ่านมาโดยจะแสดงแยกเป็นวัน แสดงผลเป็นกราฟครับ
    • Users : จะแสดงรายงานสถิติยอดผู้ใช้งานของเว็บไซต์ ทั้งที่เคยใช้ และเป็นผู้ใช้ใหม่
    • Sessions : จะแสดงรายงานสถิติ Session ที่ถูกส่งมาจาก ทวีป, ประเทศ, จังหวัด ใด ในการเข้ามาสู่เว็บไซต์ของเรา  อันนี้สามารถเช็คได้ว่าเป็นผู้ใช้งานจริงๆ หรือโดนเหล่า Hacker ยิงเว็บเรา สามารถหาวิธีป้องกันได้ครับ
    • Sessions by Browser : จะแสดงรายงานสถิติการใช้ Browser ของผู้ใช้งานครับ ว่านิยมใช้ค่ายไหนมากที่สุด ทำให้เราเอาข้อมูลมาเป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนการพัฒนาเว็บไซต์ให้รองรับกับการแสดงผลกับ Browser เหล่านั้นครับ
    • Average Session Duration and Pages/Session : จะแสดงรายงานสถิติระยะเวลาของ Session ที่เข้ามาใช้งานเว็บไซต์เราครับ สามารถคาดเดาได้ว่าผู้ใช้งานใช้เวลาอยู่ที่เว็บไซต์เรานานเท่าไหร่
    • Bounce Rate : จะแสดงรายงานสถิติอัตราการตีกลับ
    • Goal Completions : จะแสดงรายงานสถิติเป้าหมายที่สำเร็จ
    • Revenue : จะแสดงรายงานสถิติรายได้ที่เกิดขึ้น
      dashboard
  • New Dashboard  คือ ส่วนที่เราสามารถสร้าง Dashboard ใหม่ครับ  จะสามารถตั้งชื่อให้กับ Dashboard รวมไปถึงเลือก Widget ให้กับ Dashboard  ครับ สร้างได้เรื่อยๆ ไม่จำกัดครับ เหมาะสำหรับผู้ที่ให้อยากได้รายงานที่แตกต่างกันออกไปครับ

 

Shortcuts

ชื่อก็น่าจะสื่ออยู่แล้วนะครับ  สำหรับ Shortcuts  มันคือทางลัดครับที่เราสามารถเข้ามาดูรายงานทั้งหมด แต่จะแสดงให้สั้นลงเป็นตัวเลข ทำให้แสดงผลเบ็ดเสร็จในหน้าเดียวครับ ซึ่งจากเดิมจะแสดงเป็นกราฟอย่างละเอียด  ซึ่งผมก็คลิกเข้าหน้านี้เลยเพื่อมาดูตัวเลขที่เราสนใจ หากอยากดูเป็นแบบสถิติให้ละเอียดกว่านี้ค่อยกลับไปเลือกดูที่ Dashboard ครับ

shortcuts

Intelligence Events
  • Overview : กิจกรรมอัจฉริยะ เป็นรายงานสถิติเกี่ยวกับกิจกรรมที่เกิดขึ้นกับเว็บไซต์ของเราครับ ซึ่งจะประกอบไปด้วย กิจกรรมรายวัน กิจกรรมรายสัปดาห์ กิจกรรมรายเดือน โดยภายในรายงานจะแบ่งแสดงตาม Custom Alerts, Automatic Web Alerts, Automatic Adwords Alerts
  • Daily Events : กิจกรรมที่เกิดขึ้นรายวัน
  • Weekly Events : กิจจกรรมที่เกิดขึ้นรายสัปดาห์
  • Monthly Events : กิจกรรมที่เกิดขึ้นรายเดือน

intelligence

Real Time 

เป็นหนึ่งในฟังก์ชั่นที่เจ๋งมากสำหรับใครๆ ที่คาดหวังว่าจะต้องมีในระบบ Analytics และแน่นอนครับ Google Analytics มีฟังก์ชั่นนี้ด้วย  โดยจะแสดงผลเป็นแบบ Real-time ทำให้เราสามารถดูได้ว่า ในเวลานี้มีผู้ใช้งานเว็บไซต์เรากี่คน และแต่ละคนอยู่ในหน้าไหน เขากำลังใช้บริการอะไรบ้างกับเว็บไซต์ของเรา เช่น กำลังค้นหาสินค้าด้วยคีย์เวิร์ดนี้นะ สำหรับฟังก์ชั่นย่อยจะประกอบไปด้วย

  • Location : เป็นการดูตำแหน่งของผู้ใช้งานเว็บไซต์เรา บนโลกนี้แบบ Real-time ครับ ข้อมูลจะละเอียดมาก ซึ่งจะสามารถรู้ได้ว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด เช่น  ทวีป, ประเทศ, จังหวัด โดยจะแสดงเป็นแผนที่รูปภาพที่ชัดเจนมากขึ้น
  • Traffic Sources : เป็นรายงานที่แสดงให้เห็นว่า แหล่งที่มาของการเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์มาจากที่ไหน  บางที่อาจมาจากการค้นหาผ่านทาง Google SEO หรือ เปิดเข้ามาเว็บไซต์ผ่านทาง URL เว็บโดยตรง
  • Content : เป็นรายงานที่แสดงว่าในตอนนี้ผู้ใช้งาน Active อยู่ในหน้าไหน โดยระบบจะแสดงเป็นชื่อ URL ของเว็บไซต์
  • Events : เป็นรายงานที่บอกเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเว็บไซต์ โดยแบ่งแสดงตาม หมวดหมู่เหตุการณ์  การทำงานของเหตุการณ์  ผู้ใช้ที่ใช้งานอยู่  รวมไปถึงผู้ใช้ Active บนอุปกรณ์ชนิดใด เช่น Desktop, Mobile
  • Conventions

real-time

Audience 

เป็นรายงานสถิติเกี่ยวกับผู้เข้าชมเว็บไซต์โดยตรงซึ่งจะเก็บประวัติการเข้าใช้งานไว้อย่างละเอียดมาก ถูกแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ได้ ดังนี้

  • Active Users : ผู้ที่ใช้งานเว็บไซต์นี้อยู่ โดยจะสามารถเลือกดูได้ทั้ง 1 Day Active User, 7-Day Active Users, 30-Day Active Users

active-user

  • Cohort Analysis : การวิเคราะห์ตามการได้ข้อมูลมา จะแบ่งแยกแสดงข้อมูลแบบตารางซึ่งจะสามารถเปรียบเทียบกันได้ของเดือนนั้นๆ

Cohort Analysis

  • User Explorer : โปรแกรมสำรวจผู้ใช้ จะแสดงข้อมูลรายละเอียดผู้ใช้งานอย่างละเอียดซึ่งจะประกอบไปด้วย Client ID, Session, Avg Session, Bounce Rate, Revenue นอกจากนั้นยังสามารถเลือกคลิกเข้าไปอ่านรายละเอียดย่อยของ Client ID นั้นๆ ได้อีกด้วย

user-explorer

  • Demographics : ข้อมูลประชากร
  • Interests : ความสนใจ
  • Geo : ภูมิศาสตร์
  • Behaviour : พฤติกรรม
  • Technology : โทคโนโลยี
  • Mobile : มือถือ
  • Custom : ที่เรากำหนด
  • Benchmarking : การเปรียบเทียบ
  • User Flow : ลำดับการเข้าใช้งานของผู้ใช้งาน
Acquisition 

เป็นรายงานเกี่ยวกับ Action ของผู้ใช้งานทั้งหมด โดยจะแยกแสดงแบ่งตาม การเข้าชมทั้งหมด, AdWords, Search Console, Social, Campaign  สำหรับจุดเด่นที่สำคัญจะบอกช่องทางที่ผู้ใช้งานเข้ามายังเว็บไซต์ของเรา ซึ่งมาจาก Organic Search, Direct, Social, Referral

acquisition

Behaviour 

พฤติกรรมของผู้ใช้งาน อันนี้ก็พูดได้ว่าเป็นข้อมูลที่สำคัญอีกตัวหนึ่งเลยทีเดียว  เพราะว่าเราทำเว็บไซต์ขึ้นมาก็มีความจำเป็นที่จะต้องอยากทราบพฤติกรรมของผู้ใช้ครับ  เพราะมีประโยชน์ต่อการออกแบบเว็บไซต์ให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ ทำให้โอกาสประสบผลสำเร็จมีมากขึ้น สำหรับฟังก์ชั่นที่มีอยู่ในหมวดนี้ประกอบไปด้วย  Behaviour Flow, Site Content, Site Speed, Site Search, Events, Publisher, Experiments, In-Page Analytics

behaviour

 

เห็นไหมครับว่า Google Analytics  มันสามารถทำอะไรได้เยอะมาก ที่กล่าวมานี้ผมไม่ได้ยกตัวอย่างหรือนำภาพมาแสดงให้เห็นทั้งหมด แต่ยิบยกมาเพียงบางส่วนเท่านั้น ส่วนข้อมูลที่อยู่บนภาพนั้นเป็นของเว็บไซต์อะไร ผมขอไม่กล่าวถึงนะครับ เอาเป็นว่าข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลจริงๆ ไม่ได้ทำขึ้นแต่อย่างใดครับ  เมื่อเราเรียนรู้การติดตั้ง ในตอนที่ 1 จนมาถึงตอนที่ 2 ซึ่งก็พูดถึงความเจ๋งของรายงานซึ่งแบ่งออกหลายหมวดหมู่มากๆ ซึ่งล้วนแล้วมีความจำเป็นต่อการพัฒนาเว็บไซต์ และทำการตลาดครับ หรือจะจัดเก็บไว้ดูเล่นแบบมีความสุขไปวันๆ ก็ได้นะครับ

แต่สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนจากการที่ผมใช้ Google Analytics ที่ผ่านมา  มันยังไม่ได้ตอบโจทย์ได้ทุกส่วน เพราะว่า Google Analytics จะจัดเก็บข้อมูลแบบภาพรวมแบบทั้งหน้าหรือทั้งเว็บไซต์ต่อการเรียกใช้งาน 1 ครั้ง  หากเราอยากได้ข้อมูลการใช้งานเว็บแบบเจาะจง แบบละเอียดกว่านี้ เช่น ส่วนใหญ่ผู้ใช้กดปุ่มไหนมากที่สุด หากกดปุ่มนั้นแล้วให้มี Action เกี่ยวกับการเก็บประวัติอย่างไรบ้าง ซึ่งในตอนนี้ Google Analytics ก็ยังไม่มี Features แบบนั้น ซึ่งไม่ตอบโจทย์กลุ่มคนที่พัฒนาเรื่อง UX,UI กันอยู่ดีครับ  เดี่ยวบทความต่อไปจะแนะนำเครื่องมืออีกตัวหนึ่งครับที่ เก็บประวัติการเข้าชมเว็บไซต์หรือแอพิเคชั่น ซึ่งใช้ Concept ที่แตกต่างไปจาก Google Analytics แบบสุดขั้วเลยครับ ซึ่งตอบโจทย์เหล่า UX,UI เป็นอย่างดีครับ  สำหรับวันนี้ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านนะครับ ขอบคุณครับ

0 9 Continue Reading →

มาทำความรู้จักกับ Google Analytics (ตอนที่ 1 Register & Install)

Hero-Circle_74579c96-7aa5-41b1-8742-99148b31f745_2048x2048

 

หากพูดถึงบริการของ Google  ซึ่งมีอยู่มากมายครับ มีทั้งฟรีและเสียตังค์  สำหรับเนื้อหาในบทนี้จะขอพูดเกี่ยวกับบริการของ Google ที่ชื่อว่า  Google Analytics  สำหรับคนที่พัฒนาเว็บไซต์จะรู้จักบริการตัวนี้เป็นอย่างดี  เพราะว่ามันเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลแบบละเอียดได้เป็นอย่างดี เกี่ยวกับการเข้ามาใช้งานเว็บไซต์ของเรา ทำให้เราสามารถติดตามผู้ใช้งานได้ง่ายขึ้น


เราจะใช้งานบริการ Google analytics ได้อย่างไร ?

ก่อนอื่นต้องมี Email Account ของ Gmail กันก่อนครับ  หากใครยังไม่มีก็รีบๆ สมัครกันก่อนนะครับ  จากนั้นไปที่เว็บไซต์นี้ได้เลยครับ  คลิกเพื่อไปยัง Google analytics  หลังจากที่เรา Sign in เข้าสู่ระบบและมี Account เป็นของตัวเองแล้ว  เราจะมีขั้นตอนที่จะต้องปฏิบัติตามอยู่ 3 ขั้นตอนดังนี้ครับ


เริ่มสมัครใช้งาน Google Analytics

การสมัครบัญชีผู้ใช้งาน จะสามารถติดตามได้ 2 แบบได้แก่  เว็บไซต์  และ แอพบนอุปกรณ์เคลื่อนที่  โดยการกรอกรายละเอียดจะแตกต่างกันออกไป

  • เว็บไซต์  ผู้สมัครจะต้องกรอกรายละเอียดดังนี้
    • ชื่อบัญชีผู้ใช้งาน ให้ใส่เป็นชื่อองค์กรของคุณครับ
    • ชื่อเว็บไซต์
    • เลือกหมวดหมู่ของเว็บไซต์
    • URL ของเว็บไซต์ โดยมีให้เลือกทั้ง http, https
    • เขตเวลาการรายงาน ผมเลือกเป็น ไทย : (GMT+07:00) กรุงเทพ
    • การตั้งค่าการเปิดเผยข้อมูล  ตรงนี้ระบบจะเลือกไว้ให้อยู่แล้วครับ หากผู้ใช้งานไม่ต้องการบริการเพิ่มเติมก็สามารถเลือกออกก็ได้ครับ
    • จากนั้นกดปุ่ม รับรหัสการติดตามครับ โดย Google จะให้เราอ่านเงื่อนไขให้การใช้บริการที่มีบอกไว้อย่างละเอียดครับ เมื่ออ่านครบแล้วก็กดยินยอมเงื่อนไขไปครับ ประมาณ 16 เงื่อนไขแล้วระบบจะเข้าสู่เพจ  ผู้ดูแลระบบเพื่อตั้งค่าต่อไป

 

ติดตั้ง โค๊ดติดตาม อย่างถูกวิธีให้กับแอพิเคชั่นของคุณ

สำหรับโค๊ดติดตามที่ Google Analytics  ออกให้จะใช้เชื่อมต่อกันระหว่าง Google Analytics และ แอพิเคชั่น โดยผู้พัฒนาจะต้องนำโค๊ดติดตามไปติดตั้งทุกๆ หน้าของแอพิเคชั่น หรือเว็บไซต์ จากนั้น Google Analytics ก็สามารถตามเก็บข้อมูลจากเว็บไซต์ของเราได้แล้วครับ

  • JavaScript :  อันนี้จะเป็น script ที่เราสามารถ copy ไปติดตั้งที่ เพจของแอพิเคชั่นหรือเว็บไซต์ได้เลยครับ

บริการอื่นๆ ที่ Google เตรียมไว้ให้ และสามารถลิงค์เข้ามาใช้งานได้เลย !
  • Google AdWords
      • AdSense ช่วยคุณสร้างรายได้ด้วยการแสดงโฆษณาที่เกี่ยวข้องกับผู้ชมของคุณบนเว็บไซต์ของคุณเอง เชื่อมโยงความสัมพันธ์เมตริกหลักๆ ของ AdSense อย่าง eCPM กับการแสดงหน่วย โดยใช้ข้อมูลเพิ่มเติมจาก Analytics

     

  • Google AdSense
      • AdWords คือโปรแกรมโฆษณาออนไลน์ที่ช่วยให้คุณเข้าถึงลูกค้าและทำให้ธุรกิจเติบโตขึ้น ปรับปรุงแคมเปญโฆษณาของคุณและวิเคราะห์การเดินทางของลูกค้าตลอดทั้งเส้นทาง ตั้งแต่การคลิกโฆษณาไปจนถึงการทำ Conversion

     

  • Google Ad Exchange
      • Ad Exchange ช่วยคุณสร้างรายได้ด้วยการแสดงโฆษณาที่เกี่ยวข้องกับผู้ชมบนเว็บไซต์ของคุณเอง เชื่อมโยงเมตริก Ad Exchange ที่สำคัญ เช่น eCPM และการแสดงผลหน่วย กับข้อมูลเพิ่มเติมจาก Analytics

     

  • BitQuery
    • Google BigQuery เป็นเครื่องมือจาก Google Developers ที่ทำให้สามารถทำการสืบค้นในชุดข้อมูลขนาดใหญ่ได้อย่างรวดเร็วเป็นพิเศษ คุณสามารถส่งออกข้อมูล Session และ Hit จากบัญชี Google Analytics Premium ไปยัง Google BigQuery เพื่อที่จะเรียกใช้การสืบค้นในข้อมูล Analytics ทั้งหมดของคุณได้

     

  • Search Console
      • Search Console สามารถช่วยให้คุณเข้าใจว่าผู้ใช้พบเว็บไซต์ของคุณผ่านการค้นหาของ Google ได้อย่างไร ค้นหาวิธีที่จะดึงดูดความสนใจมายังเว็บไซต์มากขึ้นและจัดลำดับความสำคัญของ งานพัฒนาซอฟต์แวร์

     

    สำหรับตอนที่ 1 เราได้เรียนรู้การสมัครและการติดตั้งโค๊ดติดตามให้กับเว็บไซต์ไปแล้วครับ ทีนี้ Google Analytics ก็เข้าไปเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานของ User ได้แล้วครับ เมื่อ User เข้าไปใช้งานเว็บไซต์เราและเปิดไปแต่หน้าเพจ  Script ที่ถูกติดตั้งไว้แต่ละหน้าก็จะส่งข้อมูลมาเก็บไว้ที่ Google Analytics ครับ  และ Admin สามารถมาดูรายงานนั้นได้ภายหลังซึ่งได้เลยว่าละเอียดมาก แต่ต้องตามไปอ่านในบทความตอนที่ 2 นะครับ สำหรับวันนี้พอแค่นี้ก่อนครับ  ขอบคุณมากนะครับสำหรับการเข้ามาอ่าน 🙂

 

 

0 1 Continue Reading →

เจาะลึก iPad Pro ใหม่ (วีดิโอ)

 

Apple iPad Pro

 

ทีมงานนิตยสาร The Verge ได้ลงมือเล่นเจ้า iPad Pro ใหม่แล้วค่ะ เชิญชมวีดิโอสาธิตตามลิงค์ด้านล่างได้ค่ะ…

น่าลุ้นค่ะ ว่าตลาด iPad ที่ทรงๆ เพราะผู้ใช้ไม่เปลี่ยนบ่อยเหมือนสมาร์ตโฟน จะกระเตื้องขึ้นไหม? Apple เลือกใช้กลยุทธ์ Go big or Go home.. คือไปใหญ่สุดๆเลย เพื่อเสาะหาตลาดใหม่ ที่พร้อมจะลงทุนกับ  iPad เครื่องและแบตแรง จอใหญ่แจ่มๆ เพื่อดึงลูกค้า heavy users เช่น แพทย์ นักออกแบบ (ชูโรงคอนเสป Creative Cloud ร่วมกับ Adobe) และผู้ใช้งาน Microsoft Office365 ฯลฯ ซึ่งสำหรับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายใหม่นี้ features ต่างๆอาจโดนใจ จนถึงกับทดแทนตลาด Laptop ยี่ห้ออื่นๆ หรือแม้กระทั่ง Macbook Air เลยก็เป็นได้

เมื่อ Apple ออก iPhone 6 Plus เมื่อปีที่แล้ว ก็มีผู้ใช้หลายราย เลิกใช้ iPad Mini ไปพอสมควร น่าจะเป็นกลยุทธ์ที่ดี ที่ Apple จะเสาะหาตลาดใหม่ด้วย product ที่แตกต่างไปจากเดิม และมีนวัตกรรมใหม่ๆ แบบ Pencil มาให้ใช้กัน

..เมื่อวางตลาดในเดือนพฤศจิกายนนี้ เราคงได้เห็นกันค่ะ ว่าจะโดนใจสาวกแอปเปิ้ล และผู้สนใจ Tablet ใหม่หรือไม่?

#alphabet #smile

ป.ล. มีใครเห็น Apple แอบเหน็บ Google ในรูปข้างบนบ้างคะ? Apple ประกาศ new keyboard สำหรับ iPad Pro แต่ระบุว่า

“The only thing we didn’t reinvent was the Alphabet.”

“เราไม่ได้สร้าง Alphabet ขึ้นมาใหม่” – Alphabet คือชื่อใหม่ของ Google Group ที่ประกาศเมื่อไม่กี่อาทิตย์ก่อนไงคะ ; )

ตอนนี้ Google at Work ก็ประกาศลงสนามแข่งกับ Microsoft Office 365 ที่เปิดตัวร่วมมือกับ Apple อย่างเต็มตัวแล้วค่ะ เกมส์นี้สนุกแน่…

Source and view video: http://www.theverge.com/2015/9/9/9290361/hands-on-with-apples-new-ipad-pro

[excerpt]

First off, it’s running on Apple’s new A9X processor, which the company says is a desktop-class CPU.

With 5.6 million pixels, it has, according to Apple, the highest-resolution display of any iOS device — higher than even a Retina MacBook Pro. The display also has increased sensitivity, due in part to its brand-new sidekick: the Apple Pencil.

I can tell you that the $99, all-white stylus felt light in the hand when I used it to scribble in Notes and draw on a picture in Apple’s native Mail app. When I used the Pencil at an angle, I was able to alter the boldness of my writing or shade just as you would with an actual writing utensil. It also felt fast, unlike some styluses that suffer from latency issues. But again, I didn’t use it for an extended period of time.

As with Microsoft’s Surface Pro stylus, you can use it with certain applications, but not all applications.

0 0 Continue Reading →

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save