Skip to Content

Blog Archives

4 อุปสรรคที่ดึงยอดขาย E-Commerce

คนที่ทำ E-Commerce น่าจะเคยเจอปัญหาว่า ทำไมยอดขายยังไม่กระเตื้อง ทั้งๆ ที่ทำการตลาดก็แล้ว ลงโฆษณาก็แล้ว คนเข้ามาชมเว็บไซต์ก็ไม่น้อย แต่เหตุใดไม่ค่อยมีใครซื้อสินค้า เรามาดูกันดีกว่าครับว่า สาเหตุหลักๆ 4 ข้อที่ดึงยอดขายไม่ให้เติบโตอย่างที่ควร มีอะไรบ้าง

 

 

อันดับที่ 1: 54%  เนื่องจากสินค้าหรือบริการที่ต้องขายพร้อมกับสินค้าหรือบริการของบริษัทอื่นด้วย ลองนึกดูว่า ถ้าลูกค้าซื้อสินค้าของเราและต้องซื้อสินค้าหรือบริการจากบริษัทอื่นด้วยถึงจะใช้งานได้  ซื้อครั้งเดียวไม่จบ ต้องไปหาซื้อสินค้าหรือบริการอื่นอีก จะยุ่งยากแค่ไหน  ถ้าหากใครกำลังมีสินค้าหรือบริการแบบนี้อยู่ แนะนำว่าควรเปลี่ยนสินค้าหรือบริการดีกว่า  หรือถ้าหากไม่เปลี่ยน ควรจะขายเป็น group product หรือ bundle ไปเลย เพื่อความสะดวกแก่ลูกค้า

 

อันดับที่ 2: 42%  เนื่องจากสินค้าหรือบริการมีผู้ขายหลายราย เหมือนกับ e-marketplace ทั่วไป ถึงแม้ว่าจะมีสินค้าให้เลือกหลากหลายชนิด  หลากหลายผู้ขาย แต่ด้วยจำนวนสินค้าที่มากมาย ทำให้เจ้าของ marketplace ไม่สามารถตรวจคุณภาพสินค้าได้ทั่วถึง จึงเกิดปัญหาหลายอย่าง เช่น  สินค้าปลอม  สินค้าที่ไม่มีคุณภาพ สินค้าหมดอายุ สินค้ามีตำหนิ เมื่อลูกค้าสั่งซื้อแล้วและไม่เห็นของก่อนซื้อ จึงมีปัญหาเกิดขึ้นภายหลัง ทำให้ลูกค้าหมดความเชื่อถือ marketplace นั้น ไปและไม่กลับมาซื้อสินค้าอีก จึงทำให้เป็นสาเหตุที่ทำให้ยอดขายตกลง

 

อันดับที่ 3: 41%  เนื่องจากสินค้าหรือบริการมีความซับซ้อนเกินไป  เข้าใจยาก มีเงื่อนไขมากมาย วิธีการใช้ยุ่งยาก พิสดารไม่เหมือนสินค้าทั่วไป อาจจะทำให้ลูกค้าเกิดความสับสน หรือไม่กล้าที่จะซื้อสินค้าหรือบริการนั้น คุณอาจจะต้องใส่ข้อมูล รายละเอียดลงไป หรือมีวิดีโออธิบายสินค้า การใช้งาน และควรจะมี live chat หรือ call center เพื่อคอยบริการให้คำปรึกษา แนะนำสินค้า เพื่อให้ลูกค้าเข้าใจสินค้าหรือบริการ ปลอดภัยที่จะซื้อสินค้าหรือบริการนั้นๆ

 

อันดับที่ 4: 31% เนื่องจากราคาสินค้าหรือบริการแต่ละครั้งไม่เท่ากัน อาจจะทำให้ลูกค้าสับสน ซื้อครั้งหนึ่ง ราคานึง  อีกครั้งราคาต่างกันทั้งที่ สินค้าเหมือนกัน จำนวนเท่ากัน ขนส่งไปที่เดียวกัน จนทำให้ลูกค้ามีความรู้สึกไม่มั่นใจในระบบ และตัวสินค้าหรือบริการ คุณอาจจะต้องมีหมายเหตุแสดงให้แก่ลูกค้า ว่าทำไมจึงราคาแตกต่างกัน อาจจะเป็นเพราะราคาสินค้าขึ้น การขนส่ง หรือวิธีการชำระเงินเปลี่ยนรูปแบบไป ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น สิ่งเหล่านี้ควรแจ้งแก่ลูกค้าให้ชัดเจน เพื่อลดความสับสนและเพิ่มความมั่นใจให้แก่ลูกค้า

 

สามารถติดต่อได้ที่ฝ่ายขายของเราที่ marketing@stream.co.th หรือโทร 02-679-2233 เราเป็น Magento Partner หนึ่งเดียวในประเทศไทย

แปลและเรียบเรียงโดย Kittiphat Dumrongprat

Business Analyst

0 0 Continue Reading →

Marketplace สำหรับ Magento2

          Marketplace คือ เว็บไซต์ที่เป็นสื่อกลางการติดต่อซื้อขายสินค้าและบริการ ซึ่งเปิดเป็นช่องทางให้ผู้ซื้อและผู้ขายเข้ามาซื้อขายสินค้า โดยแต่ละเว็บไซต์จะกำหนดกฎเกณฑ์สำหรับผู้ซื้อและผู้ขาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการชำระเงิน จัดส่งสินค้าของ การคิดค่า commission, fee

          หลังจากที่ Magento platform สำหรับการทำ ecommerce ระดับโลก ได้เปิดตัว Magento 2 ไปเมื่อกลางปี 2015 แล้วนั้น ณ ตอนนี้ก็ได้พัฒนามาจนถึงเวอร์ชั่น 2.1.6 ซึ่งใน Magento 2 นี้ก็ได้มีการพัฒนาหลายๆ อย่างที่เปลี่ยนแปลงไปจาก Magento 1 ไม่ว่าจะเป็นหน้าจอ Admin Panel หรือหน้า User Interface ต่างๆ รวมถึง Extension ของ Magento 2 ก็ต้องมีการพัฒนาขึ้นมาใหม่ทั้งหมด รวมถึงการทำ marketplace ด้วยเช่นกัน เรามารู้จักกับ Extension ที่จะทำให้เว็บไซต์จาก Magento 2 ของคุณกลายเป็น marketplace กันเลย มาดูว่ามีอะไรบ้าง

 

1. Magento2 Multiple Vendor Marketplace by Vnecom

– สามารถคำนวณค่า commission ให้กับ seller ได้ โดยกำหนดเป็นเปอร์เซ็นต์หรือกำหนดเป็น fix cost

– สามารถสร้างฟอร์มและกำหนด attribute สมัครสมาชิกสำหรับ seller ได้

– Seller จะมีหน้าเพื่อจัดการ product ของตัวเอง รวมถึงสามารถจัดการ order ของตัวเองได้

– ในหน้าจัดการ product seller สามารถกำหนดราคาของสินค้ารวมถึง special price และ tier price ได้

– รองรับการจัดการ credit สำหรับ seller

– สามารถกำหนดกลุ่มให้กับ seller ได้ สำหรับการจัดการค่า commission หรือสิทธิประโยชน์อื่นๆ

 

2. Magento2 Multi Vendor Marketplace by Webkul

– สามารถคำนวณค่า commission rate สำหรับ seller ได้

– สามารถกำหนด enable/disable ให้ seller จัดการ order ได้เอง

– มี Home Page เพื่อให้ seller สามารถแก้ไข shop URL ข้อมูลโปรไฟล์และ page review ของตนเองได้

– seller สามารถจัดการสินค้าได้เอง และสามารถกำหนดได้ว่า admin จะต้อง approve ก่อนหรือไม่ก็ได้

– Support การใช้งานหลายภาษา

– สำหรับ seller registration จะอยู่หน้าเดียวกับ customer registration โดยสามารถเลือกได้ว่าต้องการสมัครเป็น seller

 

3. Magento Multi Vendor Marketplace by Magebay

– หน้า Seller Dashboard สามารถดูภาพรวมรายละเอียดและข้อมูลการซื้อขายต่างๆ ได้ เช่น Credit, Total sales, Total Order

– Seller สามารถจัดการ order ได้เอง รวมไปถึงการเปลี่ยน order status, การ update tracking ID, รวมไปถึงการส่ง email หรือ invoice ให้กับลูกค้า

– Seller สามารถเพิ่มสินค้าได้เอง

– ระบบสามารถกำหนดค่า commission ได้โดยจะกำหนดเป็นแต่ละ seller หรือแยกตามตามรายการสินค้าหรือหมวดหมู่ของสินค้าได้

– seller แต่ละรายสามารถกำหนดวันหยุดของแต่ละร้านได้เอง แสดงข้อความเพื่อแจ้งให้ลูกค้าทราบ

– สามารถ Import/Export รายการสินค้าได้ โดยอยู่ในรูปแบบของ CSV

ในบทความนี้เรายกตัวอย่าง extension ที่จะช่วยให้เว็บไซต์ของคุณสามารถใช้งานแบบเป็นศูนย์กลางการซื้อขายระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายได้ โดย extension แต่ละแบบก็จะมีฟีเจอร์สำหรับการใช้งานที่เหมาะสมกับธุรกิจของคุณแตกต่างกันไป โดยหากสนใจสามารถติดต่อได้ที่ marketing@stream.co.th หรือโทร 02-679-2233


เขียนและเรียบเรียงโดย

กมลเนตร   วงศ์ปราโมทย์

Business Analyst

0 0 Continue Reading →

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save