Skip to Content

Blog Archives

พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลฯ ใกล้ครบกำหนด 1 ปี! รีเช็คว่าคุณพร้อมแล้วหรือยัง

ใกล้ครบกำหนด 1 ปี ที่ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 จะเริ่มมีผลบังคับใช้ ปลายเดือนพฤษภาคม 2563 นี้แล้ว เชื่อว่าหลายองค์กร ต่างก็เตรียมความพร้อมและเร่งมือในการทำตามข้อกำหนด

Blog ก่อนหน้านี้ เราได้พูดถึงสาระสำคัญในพ.ร.บ. ที่เกี่ยวกับสิทธิ์ของเจ้าของข้อมูลและสิ่งที่ผู้เก็บข้อมูลพึงกระทำและระวังเพื่อไม่ให้เป็นการละเมิดกฎหมาย ซึ่งมีบทลงโทษทั้งทางแพ่งและทางอาญา

ในภาคนี้ เราจะเน้นเรื่องคนในองค์กร ก่อนอื่นเราต้องเช็คว่า หน่วยงานของคุณเข้าข่ายต้องทำตาม พ.ร.บ. นี้หรือไม่

ใน พ.ร.บ. ได้ระบุหน้าที่ของผู้ที่มีส่วนสำคัญ 3 ฝ่าย ได้แก่
1. ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller) เป็นบุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตัดสินใจ เกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
2. เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Officer: DPO) เป็นผู้ที่องค์กรจะต้องแต่งตั้งขึ้นมา หากเป็นหน่วยงานรัฐหรือหน่วยงานที่มีข้อมูลส่วนบุคคลจำนวนมาก หรือมีการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลที่ sensitive
3. ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor) เป็นบุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามคำสั่งหรือในนามของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการดังกล่าวจะต้องไม่เป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล

หากจะอธิบายให้เข้าใจง่ายก็คือ ถ้าคุณมีการเก็บและใช้ข้อมูลที่ทำให้สามารถระบุตัวตนได้ อย่าง ชื่อ, เบอร์โทร, รูปภาพ, ประวัติส่วนตัวทุกอย่าง หรือต้องประมวลผลข้อมูลลูกค้าของลูกค้า หรือแม้ธุรกิจจะอยู่นอกประเทศไทย แต่มีการเสนอขายสินค้าให้กับคนในประเทศไทย มีการใช้และรับข้อมูล ไม่ว่าจะผ่านอีเมล เว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย ไปรษณีย์ หรือช่องทางอื่นใด ยินดีด้วยค่ะ คุณเข้าข่ายที่จะต้องปฎิบัติตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

ทีนี้แต่ละองค์กรต้องมาดูว่า แผนกใดที่ต้องเกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลบ้าง ซึ่งประเด็นหลักที่ต้องพิจารณาคือ “ข้อมูลทุกอย่างที่เก็บและใช้ ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล” หรือที่เราเรียกว่าการทำ consent ว่าจะเก็บข้อมูลเพื่ออะไร นำไปใช้ทำอะไร มีการแจ้งวัตถุประสงค์ และให้รายละเอียดในการเก็บข้อมูลที่ชัดเจนสำหรับการนำไปใช้แต่ละครั้ง ทั้งยังต้องให้สิทธิ์แก่เจ้าของข้อมูลเมื่อใดก็ตามที่ต้องการถอนความยินยอม

ตัวอย่างข้อมูลส่วนบุคคลที่แต่ละแผนกในองค์กรเกี่ยวข้อง ได้แก่
1. ฝ่ายทรัพยากรบุคคล มีข้อมูลพนักงาน ไม่ว่าจะเป็น ประวัติส่วนตัว ข้อมูลด้านสุขภาพ สัญญาจ้างงาน รวมถึงข้อมูลของผู้สมัครงาน เช่น Resume, CV, ใบสมัคร เป็นต้น
2. ฝ่ายการตลาด และประชาสัมพันธ์ มีการเก็บข้อมูลลูกค้า เช่น ฐานข้อมูลติดต่อ มีการทำแคมเปญและกิจกรรมการตลาด อาทิ การส่งจดหมายข่าว ส่งแบบสอบถาม ส่งหมายเชิญมางานอีเว้นท์ เป็นต้น
3. ฝ่ายขาย มีข้อมูลลูกค้า ข้อมูลผู้สนใจสินค้า
4. ฝ่ายกฎหมาย มีการเขียนสัญญา ข้อตกลง การออกนโยบายต่างๆ ขององค์กร เพื่อรองรับเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล
5. ฝ่ายไอที ผู้ดูแลระบบ จะต้องมีมาตรการรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสม
ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีโซลูชั่นด้านความปลอดภัยของข้อมูลที่มารองรับทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็น Server, Storage, Database, Application, Network Firewall, Website, Email Gateway ฯลฯ

แม้ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนี้จะส่งผลกับภาพรวมองค์กร เพราะทุกแผนกที่เกี่ยวข้องจะต้องเข้าใจและปฎิบัติตามพร้อมๆ กัน แต่ถ้ามีระบบหลังบ้านที่ดี ก็ย่อมเป็นตัวช่วยสำคัญในการจัดการให้ง่ายและราบรื่นยิ่งขึ้น

สตรีมฯ เราทำด้าน Cybersecurity มายาวนานค่ะ และมีประสบการณ์วางระบบรักษาความปลอดภัยด้านไอทีให้กับหลายภาคส่วน เรามีโซลูชั่นด้านความปลอดภัยของข้อมูลที่ครบครัน มาดูกันว่าเราทำอะไรที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันดูแลข้อมูลส่วนบุคคลบ้างค่ะ

สนใจติดต่อฝ่ายการตลาดได้ที่อีเมล Marketing@stream.co.th หรือโทร. 092-283-5904 นะคะ

 

0 0 Continue Reading →

พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล – ทำอย่างไรให้ทันเวลา!

ในยุค 4.0 ที่ข้อมูลหลาย ๆ อย่างเคลื่อนไหวอยู่บนโลกออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลส่วนตัวอย่าง ชื่อ นามสกุล อีเมล เบอร์โทร รวมถึงประวัติการเข้าถึง เข้าชม ทุกอย่างล้วนถูกจัดเก็บไว้บนโลกออนไลน์ แน่นอนว่าข้อมูลต่าง ๆ ที่กล่าวไปนั้น เป็นข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ต่อยอดทำธุรกรรมหรืออื่น ๆ ได้อย่างมากมาย ซึ่งมีทั้งด้านดีและไม่ดี ฉะนั้นเราจึงต้องการตื่นตัวกับการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลของตัวเอง ไปจนถึงระดับองค์กรที่เก็บข้อมูลผ่านระบบต่าง ๆ และนำข้อมูลของบุคคลอื่นมาใช้

 

สำหรับประเทศไทยเรา ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจกับเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล เพราะในช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ก็ได้รับความเห็นชอบ เกิดเป็น “พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562” เรามาทำความเข้าใจ พ.ร.บ. ฉบับนี้ว่ามีส่วนใดที่น่าสนใจและจำเป็นต้องคำนึงถึง

พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

สำหรับ พ.ร.บ. ฉบับล่าสุดนี้ เกิดขึ้นเนื่องจากในปัจจุบันมีหลายองค์กรที่เก็บข้อมูลของลูกค้าไว้เป็นข้อมูลทางดิจิทัล ซึ่งข้อมูลเหล่านี้อาจส่งผลให้เจ้าของข้อมูลถูกล่วงละเมิดสิทธิ์และความเป็นส่วนตัวได้มากขึ้น เป็นเหตุให้รัฐบาลต้องเข้ามาควบคุมดูแล โดยหัวข้อหลัก ๆ ใน พ.ร.บ. ได้แก่

 

  • การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล – ผู้เก็บข้อมูลจะเปิดเผยข้อมูลต่าง ๆ ไม่ได้เด็ดขาด หากไม่ได้รับการยินยอม จะต้องมีมาตรการชัดเจนในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่เก็บไว้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ถ้าหากมีการโอนข้อมูลไปยังต่างประเทศนั้น ประเทศปลายทางก็จำเป็นที่จะต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยด้านข้อมูลที่ได้มาตรฐานเช่นกัน ทั้งนี้จะต้องมีการทำรายงานวัดผลการป้องกันข้อมูลนั้น ๆ

 

  • การชี้แจงวัตถุประสงค์ในการใช้ข้อมูล – ผู้เก็บข้อมูลจะต้องไม่นำข้อมูลที่เก็บไว้ไปใช้นอกเหนือจากที่ได้ทำการชี้แจงกับเจ้าของข้อมูล ในการเก็บข้อมูลทุกส่วน ผู้ที่ทำการเก็บข้อมูลจะต้องชี้แจงอย่างชัดเจนว่าจะนำไปใช้ในส่วนใดบ้าง ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานหรือการนำไปเปิดเผยก็ตาม

 

  • เจ้าของข้อมูลมีสิทธิ์ในการเรียกร้อง – เจ้าของข้อมูลนั้น ๆ สามารถติดต่อองค์กรหรือบุคคลที่ทำการเก็บข้อมูลได้ตลอด โดยสิทธิ์ในส่วนนี้รวมไปถึงสิทธิ์ในการขอเข้าถึงและขอสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลของตนเอง อีกทั้งยังสามารถขอให้เปิดเผยที่มาในการได้รับข้อมูลจนกระทั่งเรียกร้องให้ทำการลบทำลายข้อมูลดังกล่าวได้อีกด้วย โดยผู้เก็บข้อมูลนั้นต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ห้ามปฏิเสธแต่อย่างใด ยกเว้นจะมีคำสั่งศาลให้ปฏิเสธเท่านั้น

 

  • มีบทลงโทษทางอาญาหากเปิดเผยข้อมูลโดยไม่ได้รับการยินยอม – หากผู้เก็บข้อมูลไม่ทำตามกฎข้อบังคับดังกล่าว หรือมีการละเมิด มีการเปิดเผยข้อมูลโดยไม่ได้รับการยินยอมจากเจ้าของข้อมูล ก็มีสิทธิ์ที่จะต้องโทษทางอาญาได้ โดยบทลงโทษคือการจำคุก 6 เดือน ถึง 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

จากข้อกำหนดข้างต้นที่ให้องค์กรหรือผู้ที่มีหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูล การใช้งาน หรือมีการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลต่าง ๆ นั้น จะต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลอย่างชัดเจนเสียก่อนจึงจะนำข้อมูลส่วนนั้นไปใช้งานได้ ดังนั้นผู้ที่ได้รับผลกระทบที่สุดนั้นก็คือองค์กรทุกภาคส่วน ซึ่งให้เวลาองค์กรในการเตรียมแผนรับมือเพียง 1 ปี ตั้งแต่ออก พ.ร.บ. โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ.2563

ฉะนั้น ภายใต้เนื้อหาของ พ.ร.บ. ฉบับนี้ บุคคลากรภายในองค์กรจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษารายละเอียดในส่วนนี้ให้ถี่ถ้วนและให้ความร่วมมือ เพื่อหลีกเลี่ยงหรือลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดภัยคุกคามนั้นขึ้น ในฐานะที่ Stream เรามีความเชี่ยวชาญในการเป็นที่ปรึกษาด้านไอทีมาอย่างยาวนานกว่า 20 ปี และมีโซลูชั่นด้านความปลอดภัยของข้อมูลและระบบไซเบอร์แบบครบวงจร พร้อมให้บริการองค์กรของคุณ

 

โซลูชั่นของเราครอบคลุมทุกมิติ ได้แก่

 

  • Data Security Platform ช่วยปกป้องข้อมูลไม่ให้รั่วไหล ด้วยการเข้ารหัสข้อมูล เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูลขั้นสูง และยังช่วยในการบริหารจัดการผู้ที่จะเข้าถึงข้อมูล เพื่อดูหรือใช้ข้อมูลดังกล่าว โดยการแบ่งระดับของ user รวมไปถึง admin แต่ละคน ให้มีสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลที่แตกต่างกัน
    นอกจากนั้นยังมั่นใจได้ว่า ระบบของเรามีการบริหารจัดการ key (กุญแจดิจิทัล) เพื่อให้มั่นใจว่ากุญแจของแต่ละ ระบบ อาทิ Database, File Server และ Cloud อยู่ในที่ปลอดภัย และยังสามารถใช้เป็นระบบตรงกลางที่เชื่อมต่อกับระบบอื่น ๆ ได้อย่างสะดวก รวมถึงสามารถเข้ารหัสข้อมูลได้พร้อมกันทั้งหมด ไม่ต้องทำทีละ application จึงลดต้นทุนและสะดวกในการบริหารจัดการ เหมาะอย่างยิ่งกับองค์กรที่กำลังมองหาโซลูชั่นที่ตอบโจทย์ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลแบบครบวงจร

 

  • Privileged Access Security สถิติข้อมูลรั่วไหล (Data breach) ในปี 2561 ที่ผ่านมา พบว่าข้อมูลที่รั่วไหลเกิดขึ้นจากการถูกโจมตีในรูปแบบที่พบมากที่สุดคือการขโมยตัวตน (Identity Theft) หรือการถูกปลอมแปลงสิทธิ์เพื่อเข้าถึงระบบขององค์กรนั่นเอง เพราะฉะนั้นเพื่อเป็นการปกป้องและควบคุมสิทธิ์การเข้าถึงหรือ Privileged Account ที่ใช้ในการเข้าถึงระบบสำคัญขององค์กร ไม่ว่าจะเป็นเซิร์ฟเวอร์ ฐานข้อมูล หรือแอปพลิเคชัน เพื่อเป็นช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล และเนื่องจากในปัจจุบันการโจมตีในรูปแบบที่พบมากเป็นลำดับต้น ๆ คือการโจมตีด้วยสิทธิของผู้ดูแลระบบหรือสิทธิสูงสุดของระบบ โดยผู้โจมตีจะพยายามขโมยรหัสผ่านของระบบสำคัญ ๆ ภายในองค์กร และพยายามกระจายตัวอยู่ในองค์กรให้ได้นานที่สุด (Lateral Movement) เพื่อเสาะหาข้อมูลสำคัญ เช่น ข้อมูลทางการเงิน, ข้อมูลพนักงาน, ข้อมูลลูกค้า เป็นต้น จากนั้นจึงขโมยข้อมูลออกไปเปิดเผยและสร้างความเสียหายต่อองค์กรต่อไป โดยโซลูชั่นนี้จะสามารถเปลี่ยนรหัสการใช้งานได้ตามนโยบายขององค์กร ควบคุมสิทธิ์ในการใช้งานระบบให้สามารถใช้งานได้โดยผู้ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น ยกเลิกใช้รหัสผ่านตั้งต้น และมีการเปลี่ยนรหัสผ่านของผู้ดูแลระบบอย่างสม่ำเสมอ รวมไปถึงสามารถเก็บบันทึกการเข้าถึงระบบในรูปของ Log และวิดีโอซึ่งสามารถดูย้อนหลังได้ นอกจากนี้ยังมีฟังก์ชั่นการวิเคราะห์พฤติกรรมการเข้าถึงระบบต่าง ๆ ของผู้ดูแลระบบ (Admin Behavior Analytics) เพื่อตรวจจับและป้องกันเหตุไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที ทั้งยังสามารถแจ้งเตือนและหยุดการใช้งาน Privileged Account ที่ผิดปกติได้อีกด้วย นอกจากนี้โซลูชั่นนี้จะรองรับการปกป้อง Privileged Account ทั้งบนระบบที่เป็น On-premises และระบบ Cloud ขององค์กร รวมไปถึงสามารถปกป้อง Credentials ของแอปพลิเคชั่นเชิงธุรกิจและภัยคุกคามอันเนื่องมาจาก Robotic Process Automation ได้อีกด้วย

 

 

  • DNS Security Assessment and Data Exfiltration ป้องกัน Malware ที่มาใช้ DNS Server เป็นช่องทางในการโจรกรรมข้อมูลสำคัญ โดยเมื่อใดที่ Malware ได้เข้ามาฝังตัวในองค์กรแล้ว และเข้าถึงข้อมูลสำคัญขององค์กรรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคล มันก็จะเริ่มการปฏิบัติการโดยติดต่อสื่อสารกลับไปยัง C&C Server เพื่อหวังจะขโมยข้อมูลสำคัญนั้นส่งออกไปข้างนอกองค์กร ผ่านช่องทาง DNS ที่เป็นจุดเปราะบาง โซลูชั่น DNS Security Assessment and Data Exfiltration จะช่วยทำให้ DNS เปลี่ยนบทบาทจากการเป็นเป้าโจมตีและช่องทางการจารกรรม มาเป็นผู้ป้องกันการโจมตี ด้วยการตรวจจับความไม่ชอบมาพากลทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นในระดับ Signature Based, Reputation Based รวมถึง Behavior Based ด้วย โดยการใช้ AI และ Machine Learning ที่ติดตั้งสำเร็จมากับ DNS เพื่อตรวจจับพฤติกรรมที่ผิดปกติ จะปกป้องการถูกหลอกให้เข้าถึงไซต์อันตรายต่างๆ และป้องกันระบบ DNS ที่สำคัญขององค์กร โดยจะบล็อกการเข้าถึงโดเมนหรือไซต์ที่อันตรายตั้งแต่ก่อนเริ่มต้นการเชื่อมต่อกับไซต์เหล่านั้น รวมทั้งยังสามารถสกัดอุปกรณ์ที่ติดมัลแวร์ในการรับส่งข้อมูล C&C Server ของแฮกเกอร์ตั้งแต่เริ่มแรก และยังสามารถป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลออกสู่ภายนอกผ่านทาง DNS Query อีกด้วย

 

  • Vulnerability Risk Management (VRM) เพื่อป้องกันภัยคุกคามที่เกิดจากช่องโหว่ของระบบ ทุกวันนี้ Attacker ที่เข้ามาขโมยข้อมูลอันสำคัญไปนั้นจำนวนไม่น้อยมาจากการเจาะระบบเข้ามาผ่านช่องโหว่ของระบบเอง ซึ่งถ้าไม่มีการบริหารจัดการช่องโหว่ที่ดีพอ ไม่มีการมั่นตรวจสอบ อัปเดท ประเมินช่องโหว่บนระบบอย่างสม่ำเสมอ เพื่อวางแผนดำเนินการปิดช่องโหว่ที่พบเหล่านั้นด้วยการ Patching ย่อมเกิดเป็นความเสี่ยงในการตกเป็นเป้าหมายของกลุ่ม Attacker ได้เป็นอย่างดีทีเดียว

 

  • Web Security เพื่อป้องกันผู้ใช้จากภัยคุกคามบนอินเตอร์เน็ต และช่วยให้องค์กรสามารถบังคับใช้นโยบายเพื่อควบคุมการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตเว็บไซต์ตามข้อกำหนดต่างๆ ขององค์กรได้
    รวมถึงใช้ตรวจสอบการใช้งานของบุคคลากรภายในองค์กรโดยจะมีการทำ Logging ไว้เพื่อตรวจสอบการโพสข้อมูลอันระบุไว้ใน พ.ร.บ.
    ไม่ว่าจะเป็นข้อความ รูปภาพ ไฟล์วิดีโอ ออกไปเผยแพร่บนเว็บไซต์ ว่าเกิดจากบุคคลใด เกิดขึ้นเมื่อไหร่ ด้วยวิธีการหรืออุปกรณ์อะไร ทั้งนี้จะต้องสามารถระบุตัวตนผู้กระทำ และทำการเก็บข้อมูลไว้ยืนยันการกระทำเหล่านั้นได้ และตัวระบบจะสามารถปกป้องมิให้เกิดการกระทำความผิดดังกล่าวในการเผยแพร่ออกไปสู่ภายนอกเพื่อปกป้ององค์กร และเพื่อความปลอดภัยในกรณีเครื่องภายในองค์กรถูกใช้เป็นเครื่องมือของผู้ไม่หวังดีด้วย

 

  • Email Security เป็นการรักษาความปลอดภัยด่านแรกบนระบบเครือข่ายขององค์กรซึ่งทำหน้าที่เพื่อปกป้องมิให้ Mail Domain หรือ Mail server หยุดชะงักหรือกระทำการส่ง Email อันเป็นการก่อกวน สร้างความรำคาญ (Spam) ให้ผู้อื่น ลดจำนวนอีเมล์สแปมที่ไม่ต้องการ และสามารถตรวจสอบแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ด้วย นอกจากนี้ยังมีระบบอัพเดตข้อมูลสแปมและไวรัสอัตโนมัติ รวมทั้งยังสามารถป้องกันปัญหาการโจมตีในรูปแบบต่าง ๆ ได้อีก และระบบรักษาความปลอดภัยอีเมลยังได้รับการเสริมด้วยระบบเข้ารหัสอีเมล์เพื่อเป็นการป้องกันข้อมูลสำคัญไม่ให้รั่วไหล หรือการแอบอ้างใช้ชื่อโดเมนอีเมลอีกด้วย ทั้งนี้ยังรวมไปถึงการตรวจสอบการปกป้องอีเมลอันตรายที่ส่งเพื่อโจมตี ยึดเครื่อง หรือขโมยข้อมูลบนเครื่องของผู้ใช้งานได้ เป็นลักษณะการส่งไฟล์อันตราย หรือ Phishing Mail ซึ่งก็คือ ภัยอินเตอร์เน็ตที่ใช้วิธีการสร้างอีเมล์ต่าง ๆ หรือเว็บไซต์ปลอมขึ้นมา เพื่อหลอกล่อให้ผู้ใช้งาน เกิดความสับสนในการใช้เว็บ หลงเข้ามาทำธุรกรรมต่าง ๆ บนเว็บไซต์ปลอม ทำให้เจ้าของเว็บปลอมนั้นได้ข้อมูลส่วนตัวที่ผู้ใช้กรอกให้ไป

 

  • Intrusion Prevention System (IPS) เพื่อปกป้องไม่ให้บุคคลากรภายในองค์กรเอง หรือผู้มีความประสงค์ร้ายกระทำการนำเครื่องลูกข่ายภายในองค์กรไปทำการโจมตีเป้าหมายในรูปแบบต่าง ๆ หรือทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ระบบเกิดความเสียหาย ระบบหยุดชะงัก ชะลอ โดนขัดขวาง โดยอุปกรณ์จะทำการปกป้องภัยอันตราย จากความเสียหายที่จะเกิดขึ้น และช่วยตรวจสอบภัยคุกคามจากภายใน รวมทั้งกรณีเป็นผู้สร้างความเสียหายต่อภายนอกด้วย

 

  • Data Encryption เพื่อปกป้องข้อมูลสำคัญของคุณด้วยการเข้ารหัสข้อมูลในรูปแบบไฟล์ โฟลเดอร์ ข้อมูลที่จัดเก็บอยู่บน Disk, Storage อุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Server, Desktop, Laptop, Tablet, Smartphone รวมถึงข้อมูลที่อยู่บน Cloud Storage โดยกำหนดบังคับใช้นโยบายด้านความปลอดภัยจากศูนย์กลางอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันข้อมูลรั่วไหล

 

Cybersecurity

  • Security Information and Event Management (SIEM) เพื่อตอบโจทย์การเก็บข้อมูลการจราจรจากทุก ๆ อุปกรณ์ในระบบเครือข่าย โดยจะแบ่งการเก็บข้อมูลทั้ง ผู้ใช้ และช่วงเวลาที่ใช้ โดยอุปกรณ์ที่ต้องมีเป็นอย่างน้อยเพื่อให้ได้ข้อมูลตามที่พรบ.ต้องการ เช่น การตรวจสอบการเข้าออกระบบเครือข่าย (Firewall), การตรวจสอบการเข้าออก Web Site (Proxy), การยืนยันตัวตนเข้าระบบหรือใช้งาน (Authenticate), การแจก IP ของระบบ (DHCP & DNS), การตรวจสอบการใช้งาน Email (Email Security Gateway) เป็นอย่างน้อย

 

ด้วยโซลูชั่นด้านความปลอดภัยทางไอทีข้างต้นทั้งหมดของ สตรีม ไอ.ที. คอนซัลติ้ง จะทำให้องค์กรเตรียมพร้อมและรับมือกับ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ได้อย่างทันท่วงทีแน่นอน

 

หากท่านต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม หรือสนใจโซลูชั่นด้านดิจิทัลอื่น ๆ สามารถติดต่อได้ที่ marketing@stream.co.th หรือโทร. 02-679-2233

0 5 Continue Reading →

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save