Skip to Content

Blog Archives

VMware Aria และ VMware Tanzu คู่หูสำคัญในการพัฒนาแอปพลิเคชันสมัยใหม่

ในยุคดิจิทัล แอปพลิเคชันเข้ามามีส่วนช่วยในการเติบโตของธุรกิจเป็นอย่างมาก ซึ่งแอปพลิเคชั่นที่ดีจะต้องยืดหยุ่นเพื่อตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การพัฒนาแอปพลิเคชันสมัยใหม่นี้ต้องมีทักษะและใช้เครื่องมือเฉพาะทาง ซึ่งอาจทำให้องค์กรขนาดเล็กและกลางต้องเผชิญกับความท้าทายอย่างมากในการพัฒนาแอปพลิเคชันใหม่ๆ

 

อย่างไรก็ตาม มีแพลตฟอร์มที่ช่วยให้องค์กรทุกขนาดสามารถพัฒนาแอปสมัยใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่าง VMware Aria และ Tanzu ทั้งสองแพลตฟอร์มนี้ทำงานประสานกันอย่างลงตัว เพื่อมอบโซลูชันที่ครบวงจรสำหรับการพัฒนาแอปพลิเคชันตั้งแต่ต้นจนจบ

 

เริ่มต้นที่ VMware Aria แพลตฟอร์มการจัดการระบบคลาวด์ ช่วยให้องค์กรสามารถควบคุมระบบคลาวด์จากแหล่งเดียว แพลตฟอร์มนี้ช่วยให้องค์กรสามารถมองเห็นภาพรวมของสภาพแวดล้อมระบบคลาวด์ที่ดูแลอยู่ทั้งหมด และสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพ ความปลอดภัยของระบบ และต้นทุนในการดำเนินงานได้ด้วย

 

จุดเด่นของ VMware Aria

  1. จัดการคลัสเตอร์ Kubernetes แบบรวมศูนย์ VMware Aria ช่วยให้องค์กรสามารถจัดการคลัสเตอร์ Kubernetes ทั้งบน Public cloud, Private cloud และ Hybrid cloud ได้อย่างง่ายดาย มีประสิทธิภาพ สามารถกำหนดนโยบายและข้อจำกัด รวมถึงตรวจสอบสถานะคลัสเตอร์
  2. จัดการทรัพยากรบนระบบคลาวด์แบบอัตโนมัติ เช่น หน่วยประมวลผล หน่วยความจำ และพื้นที่เก็บข้อมูล ช่วยให้องค์กรสามารถปรับขนาดทรัพยากรได้อย่างยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพ และลดต้นทุนการดำเนินงาน
  3. ตรวจสอบและวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของระบบคลาวด์ได้อย่างครอบคลุม แพลตฟอร์มนี้ช่วยให้องค์กรสามารถระบุปัญหาและโอกาสในการปรับปรุงประสิทธิภาพและความปลอดภัย
  4. มีการรักษาความปลอดภัยระบบคลาวด์จากภัยคุกคามต่างๆ ทำให้องค์กรสามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยและรักษาความปลอดภัยแอปพลิเคชัน

ส่วน VMware Tanzu เป็นแพลตฟอร์มในการพัฒนาแอปพลิเคชันทันสมัยที่ช่วยให้องค์กรสามารถพัฒนาแอปพลิเคชันบน Kubernetes ได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย ประกอบด้วยชุดเครื่องมือและบริการที่หลากหลายที่ช่วยให้นักพัฒนาสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์

 

จุดเด่นของ VMware Tanzu

  1. มีชุดเครื่องมือและบริการที่ครบวงจรสำหรับการพัฒนาแอปพลิเคชันบน Kubernetes ช่วยให้นักพัฒนาสามารถเริ่มต้นพัฒนาแอปพลิเคชันได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย
  2. มีเครื่องมือสำหรับการพัฒนาแอปพลิเคชันบน Kubernetes ที่หลากหลาย เช่น เครื่องมือสำหรับเขียน code เครื่องมือสำหรับทดสอบ และเครื่องมือสำหรับปรับใช้แอปพลิเคชัน
  3. บริการจัดการแอปพลิเคชัน ช่วยให้ maintenance และจัดการแอปพลิเคชันบน Kubernetes ได้ง่ายและมีประสิทธิภาพ

 

 

เมื่อใช้ทั้ง VMware Aria และ Tanzu คู่กัน องค์กรจะได้รับประโยชน์ดังนี้

  1. พัฒนาแอปพลิเคชันสมัยใหม่ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยมี VMware Aria ช่วยจัดการและควบคุมระบบคลาวด์ ส่วน VMware Tanzu ช่วยให้องค์กรสามารถพัฒนาแอปพลิเคชันบน Kubernetes ได้สะดวก
  2. ลดต้นทุนการพัฒนาและการดำเนินงานแอปพลิเคชัน โดย VMware Aria ช่วยให้องค์กรสามารถปรับใช้ทรัพยากรระบบคลาวด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่ VMware Tanzu ช่วยให้องค์กรสามารถพัฒนาแอปพลิเคชันบน Kubernetes ได้อย่างประหยัด
  3. ปรับปรุงความปลอดภัยและปฏิบัติตามข้อกำหนดของแอปพลิเคชัน เพราะ VMware Aria ปกป้องสภาพแวดล้อมระบบคลาวด์จากภัยคุกคามต่างๆ และ VMware Tanzu ช่วยให้องค์กรสามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยบน Kubernetes
  4. เพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็นและการควบคุมระบบคลาวด์ โดย VMware Aria ช่วยให้องค์กรสามารถมองเห็นภาพรวมของสภาพแวดล้อมระบบคลาวด์ทั้งหมด ส่วน VMware Tanzu ช่วยให้องค์กรสามารถตรวจสอบและวิเคราะห์สภาพแวดล้อมระบบคลาวด์ได้อย่างครอบคลุม

 

ตัวอย่างการใช้งาน

องค์กรต่าง ๆ สามารถใช้ VMware Aria และ Tanzu ร่วมกันเพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันสมัยใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่น

  • บริษัทประกันภัย สามารถพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับลูกค้าแบบเรียลไทม์ โดยใช้ข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เช่น เซ็นเซอร์ กล้องวงจรปิด และอุปกรณ์ IoT แพลตฟอร์มทั้งสองนี้จะช่วยให้บริษัทสามารถจัดการและควบคุมระบบคลาวด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถพัฒนาแอปพลิเคชันบน Kubernetes ได้อย่างง่ายดายและปลอดภัย
  • ภาคการเงินการธนาคาร สามารถพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับการให้บริการทางการเงินทางดิจิทัล ตัวอย่างเช่น องค์กรการเงินอาจใช้ VMware Aria เพื่อกำหนดนโยบายและข้อจำกัดสำหรับคลัสเตอร์ Kubernetes ของตน เพื่อปกป้องแอปพลิเคชันจากภัยคุกคาม เช่น การโจมตีแบบกระจายการปฏิเสธการให้บริการ (DDoS) และใช้ VMware Tanzu เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับธนาคารดิจิทัล แอปพลิเคชันเหล่านี้สามารถใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติต่างๆ ของ Kubernetes เช่น ความปลอดภัยและการตรวจสอบ เพื่อปกป้องข้อมูลของผู้ใช้
  • ด้านการแพทย์ โรงพยาบาล สามารถพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ โดยใช้ข้อมูลทางการแพทย์ เช่น ประวัติการรักษา ผลการทดสอบ และบันทึกการรักษา แพลตฟอร์มทั้งสองนี้จะช่วยให้โรงพยาบาลสามารถปกป้องข้อมูลผู้ป่วยได้อย่างปลอดภัย และสามารถพัฒนาแอปพลิเคชันบน Kubernetes ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ธุรกิจค้าปลีก สามารถพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับลูกค้าและพนักงาน โดยใช้ข้อมูลการขาย สินค้าคงคลัง และพฤติกรรมลูกค้า แพลตฟอร์มทั้งสองนี้จะช่วยให้ธุรกิจค้าปลีกสามารถปรับใช้ทรัพยากรระบบคลาวด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถพัฒนาแอปพลิเคชันบน Kubernetes ได้อย่างยืดหยุ่น

 

บทสรุป

VMware Aria และ Tanzu เป็นแพลตฟอร์มที่มีประสิทธิภาพที่ช่วยให้องค์กรพัฒนาแอปพลิเคชันสมัยใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แพลตฟอร์มทั้งสองนี้ทำงานร่วมกันเพื่อมอบโซลูชันที่ครบวงจรสำหรับการพัฒนาแอปพลิเคชันตั้งแต่ต้นจนจบ

 

สนใจโซลูชั่นในการบริหารจัดการ Cloud ทั้งในส่วนของ VMware และอื่นๆ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ marketing@stream.co.th หรือโทร. 02-679-2233

0 1 Continue Reading →

เข้าใจ Windows Server License ง่ายนิดเดียว…

สวัสดีครับคุณผู้อ่านสายไอที ทุก ๆ ท่าน ผมเชื่อว่าหลาย ๆ ท่านคงเคยสับสนกับการคิด Licensed ของ Windows Server มาไม่มากก็น้อย ซึ่งแน่นอนว่าส่วนใหญ่คงจะให้ Partner หรือ Vendor ช่วยในการคิดและคำนวณ Licenses ที่ถูกต้อง

อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าหลาย ๆ ท่านที่เข้ามาอ่านในวันนี้อยากจะเข้าใจมันจริง ๆ ใช่ไหมครับ เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องที่จำเป็นสำหรับ IT Manager หรือ Purchasing Manager ครับ วันนี้จึงจะขอมาอัพเดทประเภทของ License และวิธีการคิด Licensed ของ Windows Server พร้อมยกตัวอย่างการใช้งานบน VMware ให้ทุกท่านเห็นภาพง่าย ๆ กันครับ

 

วิธีการคิด Licensed Microsoft Window Server Standard 2016/2019

1. ก่อนอื่นเรามารู้จัก SKUs การคิด Licenses ของ Microsoft Windows Server กันก่อนครับ ซึ่งจะมีทั้งหมดแค่สองแบบเท่านั้น ฟังไม่ผิดครับ มี 2 แบบจริงๆ คือแบบ 2 Core-Packs และแบบ 16 Core-Packs

 

2. Physical Server หรือ ESXi Host 1 เครื่องจะต้องซื้อขั้นต่ำ 16 Core Licensed หรือ 1 Processor (CPU) ต้องมีอย่างน้อย 8 Core Licensed (ถ้าเครื่องมี 1 CPU 8 Core ก็ต้องซื้อขั้นต่ำ 16 Core License)

 

3. ถ้าจำนวน Core ทั้ง 2 CPU รวมกันเกิน 16 Core ก็ต้องซื้อเพิ่มให้ครบเท่ากับจำนวน Core รวมทั้งหมด เช่น ถ้ามี 2 CPU และมี CPU ละ 10 Core จะต้องซื้อทั้งหมด 20 Core Licensed

 

4. ถ้ามี 3 หรือ 4 CPU ละ คิดยังไง CPU ที่เพิ่มขึ้นมาจะคิดเหมือนกับข้อ 1 ครับ คือ 1 Processor(CPU) ต้องมีอย่างน้อย 8 Core Licensed เช่น ถ้ามี 4 CPU และมี CPU ละ 4 Core จะต้องซื้อทั้งหมด 32 License (จะซื้อ 16 License ไม่ได้เพราะ ขั้นต่ำต่อ 1 CPU คือ 8 Core Licensed ครับ) แต่ถ้ามี CPU ละ 10 Core ก็ต้องซื้อให้ครอบคุลมทั้งหมด คือ 40 Core Licensed ครับ

 

5. ยกตัวอย่างเพิ่มเติม

a. มี 1 CPU 8 Core ต้องซื้อ 16 Core Licensed (ใช้ 16 Core-Packs 1 License จบ!!)

b. มี 1 CPU 20 Core ต้องซื้อ 20 Core Licensed (ใช้ 16 Core-Packs x 1 License + 2 Core-Packs x 2 License หรือ จะใช้ 2 Core-Packs 10 License ก็ได้ไม่ว่ากันครับ แต่แนะนำ แบบ 2-Core-Packs จะง่ายสุดเพราะแค่ หาร 2 !!!)

c. มี 2 CPU 4+4 Core ต้องซื้อ 16 Core Licensed (ใช้ 16 Core-Packs 1 License จบ!!)

d. มี 2 CPU 20+20 Core ต้องซื้อ 40 Core Licensed  (ใช้ 2 Core-Packs 20 License จบ!!)

e. มี 4 CPU 4+4+4+4 Core ต้องซื้อ 32 Core Licensed (ใช้ 2 Core-Packs 16 License จบ!!)

f. มี 4 CPU 20+20+20+20 Core ต้องซื้อ 80 Core Licensed  (ใช้ 2Core-Packs 40 License จบ!!)

 

แบบ Core Licensed ผ่านไปแล้วไม่ยากใช่ไหมหละครับ..ที่นี้มาถึงจุดที่ทุกคนบ่นเป็นเสียงเดียวกันว่าปวดหัว หรือ บอกว่าเขี้ยวจริงๆ ก็คือ การคิด Virtual Machine (VM) ที่จะใช้งาน

1. จากวิธีการคิด Core Licensed ข้างบน เมื่อคิดครบถ้วนถูกต้องแล้ว ขอย้ำว่าครบถ้วนและถูกต้องแล้วนะครับ คุณจะมีสิทธิใช้ Virtual Machine (VM) ได้สุงสุด 2 VM ต่อ 1 Physical Server ที่คุณคิด Licensed เท่านั้น

 

2. ถ้าต้องการใช้มากกว่า 2 VM และมี ESXi Cluster ละจะคิดยังไง ??? เพื่อให้เห็นภาพขอยกตัวอย่างดังนี้ครับ

จากรูป มี ESXi Cluster ทั้งหมด 3 Hosts แต่ละ Hosts มี CPU ละ 8 Core 2 CPU และมี VMs แต่ละเครื่อง 4 VMs

วิธีการคิด License ที่ถูกต้องเราจะไม่คิดแยกตามจำวน VMs แต่ละเครื่อง เพราะว่า… หากมีการทำ Cluster จะเกิดกรณีการทำ vMotion หรือ DRS ข้ามไปมาระหว่าง Hosts ได้ กล่าวคือการคิดแค่จำนวน VMs บน Hosts เดียวนั้นจะไม่ครอบคลุมถึงการทำ vMotion หรือ DRS ได้

เพราะฉะนั้น !!! จับเอา VM ทั้งหมดมารวมกันแล้วให้คิด License ตามจำนวนสุงสุดที่ได้ ยกตัวอย่างจากรูปข้างบนนะครับ

นำเอา VM แต่ละ ESXi มารวมกัน จะได้ 4+4+4 = 12 VMs ดังนั้นจะต้องซื้อ 96 Core Licensed ต่อ 1 ESXi ผมมีสูตรวิธีการคิดง่ายๆครับ “เอาจำนวน VM รวมทั้งหมด หาร 2 และคูณด้วยจำนวณ Core Licensed ที่ต้องใช้ครับ เช่น (12/2)*16 = 96 Core Licensed ต่อ 1 ESXi (16 มาจาก จำนวน Core Licensed ต่อ 2 VMs ครับ) ถ้ามี 3 ESXi ก็เอา 96 *3 อีกทีครับ จะได้จำนวน Core Licensed ที่ต้องซื้อทั้งหมด

 

3. ลองมาดูอีกตัวอย่างกันครับ

จากรูป มี ESXi Cluster ทั้งหมด 3 Hosts แต่ละ Hosts มี CPU ละ 8 Core 2 CPU และมี VMs แต่ละเครื่อง 4 VMs

  • เรามาลองคิดจาก 2 VMs ก่อนนะครับว่าต้องใช้ กี่ Core Licensed ในกรณีนี้จะได้ 32 Core Licensed นะครับ
  • เอาจำนวน VMs ทั้งหมดมารวมกันจะได้ 12 VMs

ถัดมาเอาเข้าสูตรเลยครับ (12/2)*32 *จำนวน ESXi  =  576 Core Licensed ครับ

 

วิธีการคิด Licensed Microsoft Window Server Datacenter 2016/2019

หลัการคิด Licensed ของ Datacenter Edition นั้นง่ายมากครับ กล่าวคือ ไม่ต้องสนใจ จำนวน VMs เพราะใช้ได้ Unlimited ครับ ดังนั้นนับแค่จำนวน Core Licensed ที่ต้องใช้ทั้งหมดเท่านั้นครับ ขอยกตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจนะครับ

เอาจากภาพนี้เลยนะครับ จากภาพนี้นับ Core รวมได้ทั้งหมด 32+32+32 = 96 Core Licensed ดังนั้นซื้อแค่ 96 Core Licensed โดยที่ใช้ VM ได้ไม่จำกัดและสามารถ vMotion หรือ DRS ไปมาได้สบาย ๆ เพราะไม่ติดที่ข้อจำกัดเรื่อง VMs ต่อเครื่องแล้ว

 

มาถึงตรงนี้คงสงสัยแล้วใช่ไหมว่าแล้วต้องซื้อแบบไหนหล่ะ ? ถึงจะคุ้มค่าที่สุด !!

จุดคุ้มทุนสำหรับการซื้อ Microsoft Windows Server คือ 14 VMs กล่าวคือในกรณีที่คุณมี Server มากกว่า 1 เครื่อง และ คุณมีจำนวน VMs ใน Data Center คุณมากกว่าหรือเท่ากับ 14 VMs ให้ซื้อ Datacenter Edition จะคุ้มค่าที่สุด

 

ในบทความต่อไปจะมาพูดถึง CALs และ Software Assurance (SA) สำหรับ Microsoft Windows Server ต่อครับ

 

สนใจโซลูชั่นด้านดิจิทัล สามารถติดต่อเราได้ที่อีเมล Marketing@stream.co.th หรือโทร. 02-679-2233 ครับ

 

เรียบเรียงโดย Sukrit Phiboon
Solution Management, Stream I.T. Consulting Ltd.
0 1 Continue Reading →

Data Protection

ในโลกปัจจุบันเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่สำคัญมากและขับเคลื่อนไปอย่างรวดเร็ว ข้อมูลในยุคแห่งเทคโนโลยีนี้จึงจำเป็นจะต้องมีการเข้ารหัสเพื่อป้องกันไม่ให้ข้อมูลถูกโจรกรรมโดยผู้ไม่หวังดี ซึ่งการเข้ารหัสนั้นมีได้หลากหลายวิธี หนึ่งในทางเลือกที่จะช่วยป้องกันข้อมูลไม่ให้รั่วไหลออกไปนั่นก็คือเครื่อง KeySecure จาก Gemalto และยังช่วยบริหารจัดการสิทธ์ในการเข้าถึงข้อมูล รวมไปถึงการบริหารจัดการ key ที่ใช้ในการเข้ารหัสและถอดรหัสด้วย

KeySecure สามารถใช้ร่วมกับการทำงานที่หลากหลายตามแต่ธุรกิจและความต้องการของลูกค้า โดย KeySecure หนึ่งเครื่องสามารถใช้ร่วมกับหลายระบบงานได้ดังนี้

1. การเข้ารหัสข้อมูลในระดับ Application (Protect Application)

การเข้ารหัสข้อมูลที่ส่งจาก Application เพื่อเพิ่มความปลอดภัยของข้อมูลโดยใช้ KeySecure ในการเข้ารหัส ก่อนจะนำข้อมูลมาจัดเก็บใน database ข้อมูลที่ถูกเข้ารหัสด้วย Key จะไม่สามารถนำไปถอดได้ แม้จะมี KeySecure เครื่องอื่น เพราะ Key ทุก Key จะต้องมี Owner และ password

 

2. การเข้ารหัสข้อมูลสำคัญในระดับคอลัมน์ของ database (Protect Database)

การเข้ารหัสแบบนี้จะช่วยในเรื่องความเร็วและเพิ่มความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูลในระดับคอลัมน์ที่เป็นข้อมูล Sensitive และยังควบคุมด้วยสิทธิ์ที่เข้าถึงด้วย KeySecure

 

3. การแปลงข้อมูลที่ส่งมาให้เป็นข้อมูลที่ไม่ใช่ข้อมูลจริง (Tokenization)

Tokenization เป็นการเข้ารหัสอีกหนึ่งรูปแบบ ที่ใช้เทคโนโลยีทั้งการเข้ารหัส(Encryption) และการใช้กระบวนการ hash เพื่อที่จะปกปิดข้อมูลสำคัญให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

 

4. การกำหนด permission ในการเข้าถึงข้อมูลโดยผ่านการเข้ารหัส (Protect File)

KeySecure สามารถนำเทคโนโลยีที่เรียกว่า Protect file มาเข้ารหัส file, folder ซึ่งการกำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงนี้จะมีการเข้ารหัสด้วย key และ สิทธิ์ user ที่อยู่บน KeySecure นอกจากนี้ Protect File ยังสามารถนำมาใช้งานร่วมกันกับ Hadoop ซึ่งเป็นหนึ่งใน Software ที่ใช้การจัดการข้อมูลที่เรียกกันว่า Big Data

 

5. การเข้ารหัสข้อมูลของ VMware (ProtectV)

KeySecure มีเทคโนโลยีที่ช่วยในการเข้ารหัส VMware ที่เรียกกันว่า ProtectV ซึ่งการเข้ารหัส VMware สามารถป้องกันข้อมูลทั้งบน cloud และ local เพื่อที่จะป้องกัน VMware ซึ่งอาจจะถูก copy ไปใช้ที่อื่นด้วยจุดประสงค์ที่ไม่ดี หรืออาจจะมีข้อมูลใน VMware ที่สำคัญไม่อาจเปิดเผยได้

Written by Mr. Teerachai Joyseekate (Ton)

Senior Solutions Specialist

หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม หรือสนใจโซลูชันด้านดิจิทัล ติดต่อ marketing@stream.co.th โทร. 02-679-2233

0 0 Continue Reading →

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save