Hero-Circle_74579c96-7aa5-41b1-8742-99148b31f745_2048x2048

 

หากพูดถึงบริการของ Google  ซึ่งมีอยู่มากมายครับ มีทั้งฟรีและเสียตังค์  สำหรับเนื้อหาในบทนี้จะขอพูดเกี่ยวกับบริการของ Google ที่ชื่อว่า  Google Analytics  สำหรับคนที่พัฒนาเว็บไซต์จะรู้จักบริการตัวนี้เป็นอย่างดี  เพราะว่ามันเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลแบบละเอียดได้เป็นอย่างดี เกี่ยวกับการเข้ามาใช้งานเว็บไซต์ของเรา ทำให้เราสามารถติดตามผู้ใช้งานได้ง่ายขึ้น


เราจะใช้งานบริการ Google analytics ได้อย่างไร ?

ก่อนอื่นต้องมี Email Account ของ Gmail กันก่อนครับ  หากใครยังไม่มีก็รีบๆ สมัครกันก่อนนะครับ  จากนั้นไปที่เว็บไซต์นี้ได้เลยครับ  คลิกเพื่อไปยัง Google analytics  หลังจากที่เรา Sign in เข้าสู่ระบบและมี Account เป็นของตัวเองแล้ว  เราจะมีขั้นตอนที่จะต้องปฏิบัติตามอยู่ 3 ขั้นตอนดังนี้ครับ


เริ่มสมัครใช้งาน Google Analytics

การสมัครบัญชีผู้ใช้งาน จะสามารถติดตามได้ 2 แบบได้แก่  เว็บไซต์  และ แอพบนอุปกรณ์เคลื่อนที่  โดยการกรอกรายละเอียดจะแตกต่างกันออกไป

  • เว็บไซต์  ผู้สมัครจะต้องกรอกรายละเอียดดังนี้
    • ชื่อบัญชีผู้ใช้งาน ให้ใส่เป็นชื่อองค์กรของคุณครับ
    • ชื่อเว็บไซต์
    • เลือกหมวดหมู่ของเว็บไซต์
    • URL ของเว็บไซต์ โดยมีให้เลือกทั้ง http, https
    • เขตเวลาการรายงาน ผมเลือกเป็น ไทย : (GMT+07:00) กรุงเทพ
    • การตั้งค่าการเปิดเผยข้อมูล  ตรงนี้ระบบจะเลือกไว้ให้อยู่แล้วครับ หากผู้ใช้งานไม่ต้องการบริการเพิ่มเติมก็สามารถเลือกออกก็ได้ครับ
    • จากนั้นกดปุ่ม รับรหัสการติดตามครับ โดย Google จะให้เราอ่านเงื่อนไขให้การใช้บริการที่มีบอกไว้อย่างละเอียดครับ เมื่ออ่านครบแล้วก็กดยินยอมเงื่อนไขไปครับ ประมาณ 16 เงื่อนไขแล้วระบบจะเข้าสู่เพจ  ผู้ดูแลระบบเพื่อตั้งค่าต่อไป

 

ติดตั้ง โค๊ดติดตาม อย่างถูกวิธีให้กับแอพิเคชั่นของคุณ

สำหรับโค๊ดติดตามที่ Google Analytics  ออกให้จะใช้เชื่อมต่อกันระหว่าง Google Analytics และ แอพิเคชั่น โดยผู้พัฒนาจะต้องนำโค๊ดติดตามไปติดตั้งทุกๆ หน้าของแอพิเคชั่น หรือเว็บไซต์ จากนั้น Google Analytics ก็สามารถตามเก็บข้อมูลจากเว็บไซต์ของเราได้แล้วครับ

  • JavaScript :  อันนี้จะเป็น script ที่เราสามารถ copy ไปติดตั้งที่ เพจของแอพิเคชั่นหรือเว็บไซต์ได้เลยครับ

บริการอื่นๆ ที่ Google เตรียมไว้ให้ และสามารถลิงค์เข้ามาใช้งานได้เลย !
  • Google AdWords
      • AdSense ช่วยคุณสร้างรายได้ด้วยการแสดงโฆษณาที่เกี่ยวข้องกับผู้ชมของคุณบนเว็บไซต์ของคุณเอง เชื่อมโยงความสัมพันธ์เมตริกหลักๆ ของ AdSense อย่าง eCPM กับการแสดงหน่วย โดยใช้ข้อมูลเพิ่มเติมจาก Analytics

     

  • Google AdSense
      • AdWords คือโปรแกรมโฆษณาออนไลน์ที่ช่วยให้คุณเข้าถึงลูกค้าและทำให้ธุรกิจเติบโตขึ้น ปรับปรุงแคมเปญโฆษณาของคุณและวิเคราะห์การเดินทางของลูกค้าตลอดทั้งเส้นทาง ตั้งแต่การคลิกโฆษณาไปจนถึงการทำ Conversion

     

  • Google Ad Exchange
      • Ad Exchange ช่วยคุณสร้างรายได้ด้วยการแสดงโฆษณาที่เกี่ยวข้องกับผู้ชมบนเว็บไซต์ของคุณเอง เชื่อมโยงเมตริก Ad Exchange ที่สำคัญ เช่น eCPM และการแสดงผลหน่วย กับข้อมูลเพิ่มเติมจาก Analytics

     

  • BitQuery
    • Google BigQuery เป็นเครื่องมือจาก Google Developers ที่ทำให้สามารถทำการสืบค้นในชุดข้อมูลขนาดใหญ่ได้อย่างรวดเร็วเป็นพิเศษ คุณสามารถส่งออกข้อมูล Session และ Hit จากบัญชี Google Analytics Premium ไปยัง Google BigQuery เพื่อที่จะเรียกใช้การสืบค้นในข้อมูล Analytics ทั้งหมดของคุณได้

     

  • Search Console
      • Search Console สามารถช่วยให้คุณเข้าใจว่าผู้ใช้พบเว็บไซต์ของคุณผ่านการค้นหาของ Google ได้อย่างไร ค้นหาวิธีที่จะดึงดูดความสนใจมายังเว็บไซต์มากขึ้นและจัดลำดับความสำคัญของ งานพัฒนาซอฟต์แวร์

     

    สำหรับตอนที่ 1 เราได้เรียนรู้การสมัครและการติดตั้งโค๊ดติดตามให้กับเว็บไซต์ไปแล้วครับ ทีนี้ Google Analytics ก็เข้าไปเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานของ User ได้แล้วครับ เมื่อ User เข้าไปใช้งานเว็บไซต์เราและเปิดไปแต่หน้าเพจ  Script ที่ถูกติดตั้งไว้แต่ละหน้าก็จะส่งข้อมูลมาเก็บไว้ที่ Google Analytics ครับ  และ Admin สามารถมาดูรายงานนั้นได้ภายหลังซึ่งได้เลยว่าละเอียดมาก แต่ต้องตามไปอ่านในบทความตอนที่ 2 นะครับ สำหรับวันนี้พอแค่นี้ก่อนครับ  ขอบคุณมากนะครับสำหรับการเข้ามาอ่าน 🙂