ปัจจุบันการใช้งานข้อมูลอย่างต่อเนื่องนั้นสำคัญอย่างมาก จึงเกิดการ backup ไปยัง Data center สำรอง (DR) เพราะหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันกับ Data center หลัก (HQ) ก็จะยังสามารถเรียกใช้ข้อมูลที่ได้ทำการ backup ไว้ที่ DR
การใช้งานในรูปดังกล่าวเรียกว่า Active – stand by data center ซึ่งจะต้องใช้เวลาในการเรียกคืนข้อมูลจาก DR เพื่อมาใช้ ซึ่ง DR จะมีหน้าที่เพียงสำรองข้อมูล และใช้งานก็ต่อเมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝันที่ HQ
จะดีกว่าไหม หากเรานำข้อมูลที่ได้ทำการ backup ไว้ จาก DR มาใช้งานอย่างอื่นด้วย เช่น ใช้สำหรับการทดสอบด้วยข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน หรือ สามารถใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องรอการ restore เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่ DR
การใช้งาน Data center ในรูปแบบนี้เรียกว่า Active – active data center ซึ่งการทำ Active – active data center นั้นต้องจัดเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้พร้อมสำหรับการใช้งานไม่ว่าจะเป็น Server, Storage, อุปกรณ์ Network ต่าง ๆ และอื่น ๆ ที่ต้องมีฟีเจอร์รองรับการทำ Active-active data center รวมถึง Database ก็ต้องรองกับฟีเจอร์ดังกล่าวด้วยหากต้องการใช้งาน
ลองนึกภาพหากเราต้องการส่งข้อมูลขนาด 1TB ไปยัง DR จะต้องใช้ความเร็วเท่าไร ถ้าใช้อินเตอร์เน็ตทั่วไป DWDM สามารถส่งข้อมูลได้กว่า 100Gbps หรือจะใช้เวลาประมาณ 10 วินาทีเท่านั้น
DWDM คืออะไร?
DWDM ย่อมาจาก Dense Wavelength Division Multiplexing เป็นอุปกรณ์ transmission ทำหน้าที่รับ-ส่งข้อมูลระหว่าง Data center ตั้งแต่ 2 ที่เข้าด้วยกัน โดยใช้สายใยแก้วนำแสงหรือ Fiber optic เป็นสื่อกลางทำให้ Data center ที่อยู่ห่างกันนั้น เสมือนวางอยู่ข้างกัน ทำให้การส่งข้อมูลไปได้ไกลขึ้น เร็วขึ้น เสถียรขึ้น และปลอดภัยมากขึ้น
ทำงานอย่างไร?
การทำงานของ DWDM คือ จะแปลงสัญญาณแสงจากอุปกรณ์ต้นทางให้เป็นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อต่อมายัง DWDM
แล้ว DWDM จะทำการแปลงสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว ให้เป็นสัญญาณแสงในความยาวคลื่น (λ) ที่ตั้งค่าไว้เพื่อส่งผ่านข้อมูลไปยังสายใยแก้วนำแสง (Fiber optic) ไปยังปลายทาง ซึ่งแต่ละความยาวคลื่นก็จะสามารถรับ-ส่งข้อมูลได้แบบ Unlimited โดยขึ้นอยู่กับชนิดของตัวรับและส่งสัญญาณ DWDM ซึ่งปัจจุบันมี Bandwidth สูงสุดอยู่ 100G 1 ความยาวคลื่น
ตัว DWDM นั้นสามารถส่งข้อมูลได้ไกลกว่า 1,000 km โดยมีค่าความหน่วง (Latency) น้อยกว่า 5ms โดยใช้ Core จาก Fiber optic เพียง 2 cores เท่านั้น และซึ่งหากต้องการเพิ่ม Speed หรือ Bandwidth ก็สามารถทำได้ง่าย เพียงเพิ่ม Card หรือ Transceiver ตาม Speed หรือ Bandwidth โดยไม่ต้องเพิ่ม Core จาก Fiber optic
ที่ขาดไม่ได้คือ เรื่องความปลอดภัย DWDM นั้นสามารถทำ Encryption เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับข้อมูลได้ โดยไม่ทำให้ Performance ลดลง และ DWDM ยังสามารถทำ Protection ในตัวเองเพื่อไม่ให้มี Single point of failure เพื่อเพิ่มความเสถียรของข้อมูลได้มากขึ้นอีกด้วย
ภาพประกอบจาก http://th.fibresplitter.com/news/introduction-to-the-components-used-in-dwdm-sy-24306019.html
แล้วทำไมต้องเป็นสตรีม ไอ.ที. คอนซัลติ้ง ?
สตรีมฯ เป็นที่ปรึกษาด้านโซลูชั่นดิจิทัลให้กับองค์กรชั้นนำมากว่า 20 ปี โดยให้บริการทั้ง Infrastructure, Network, Security รวมไปถึง Software Application ด้วย
เรายังมีพนักงานที่เชียวชาญในด้านต่าง ๆ ซึ่งสามารถให้บริการได้ครอบคลุมทั่วประเทศ ที่สำคัญเรามีประสบการณ์ทำโซลูชั่น DWDM นี้ ให้กับกลุ่มลูกค้าธนาคารใหญ่ ๆ มาแล้วหลายแห่ง เพราะเป็นกลุ่มที่ต้องการความปลอดภัยและความเสถียรอย่างมาก ทำให้คุณนั้นมั่นใจได้ว่าระบบของคุณจะเร็วขึ้นและปลอดภัยอย่างแน่นอน
หากสนใจโซลูชั่นนี้ คุณสามารถติดต่อมายังบริษัท สตรีม ไอ.ที. คอนซัลติ้ง เพื่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมหรือทดลองใช้งานได้เลย ที่อีเมล Marketing@stream.co.th หรือโทร. 02-679-2233
เรียบเรียงโดย Pichet Chimtuam
Solutions Engineer, Stream I.T. Consulting Ltd.