Skip to Content

Blog Archives

AMLO Report System สำคัญอย่างไร ทำไมสถาบันการเงินต้องมี?

AMLO หรือ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือ สำนักงาน ปปง. (The Anti-Money Laundering Office : AMLO) เป็นหน่วยงานของรัฐซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการวางหลักเกณฑ์ และดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน รวมทั้งเป็นหน่วยงานตรวจสอบวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับการฟอกเงิน ในหน้าที่ของหน่วยงานวางหลักเกณฑ์ (Regulator)

สำนักงาน ปปง.มีบทบาทในการศึกษาหามาตรการในการป้องกัน และปราบปรามการฟอกเงิน โดยมีฐานะเป็นฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (คณะกรรมการ ปปง.) ส่วนในฐานะของหน่วยงานผู้บังคับใช้กฎหมาย (Law Enforcement) สำนักงาน ปปง. มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบและดำเนินการเกี่ยวกับธุรกรรมหรือทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดฟอกเงิน ตามมติของคณะกรรมการธุรกรรม ตลอดจนดูแลให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินดังกล่าว

สำนักงาน ปปง. เป็นหน่วยงาน จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มีเลขาธิการ ปปง. เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีและได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ทำหน้าที่ควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งราชการของสำนักงาน และเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสำนักงาน และรองเลขาธิการเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการ

(อ้างอิง: https://www.amlo.go.th/)

AMLO Report System คืออะไร

ระบบ AMLO Report เป็น Web Application เพื่อให้สถาบันการเงินจัดการข้อมูล ที่จะต้องรายงานต่อสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สนง.ปปง. / AMLO) รายงานที่จัดการมี 4 ประเภท คือ

  1. ปปง. 1-01 (รายงานธุรกรรมที่ใช้เงินสด)
  2. ปปง. 1-02 (รายงานการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน)
  3. ปปง. 1-03 (รายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย)
  4. ปปง. 1-05-9 (รายงานธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการโอนเงินหรือชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์)

AMLO Report System เหมาะสำหรับองค์กรใด

ระบบงานนี้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสถาบันการเงินทุกแห่ง ที่อยู่ภายใต้กฎระเบียบว่าต้องรายงานธุรกรรมที่เข้าเกณฑ์ต่อสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง. / AMLO) โดยความถี่ในการส่งขึ้นกับกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เช่น รายงาน ปปง. 1-01, 1-02 และ 1-05-9 ต้องรวบรวบข้อมูลคราวละ 15 วัน คือข้อมูลวันที่ 1 ถึงวันที่ 15 ของแต่ละเดือนต้องส่งภายในวันที่ 22 ของเดือนนั้น ข้อมูลวันที่ 16 ถึงสิ้นเดือน ต้องส่งภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป)

AMLO Report System ทำอะไรได้บ้าง

ฟีเจอร์ของระบบโดยสังเขป มีดังนี้

  1. การบันทึก, แก้ไข, ยืนยันข้อเท็จจริง, ค้นหารายงานประเภท 1-01, 1-02, 1-03, 1-05-9
  2. Import ข้อมูลจาก Source/Application ต่าง ๆ ตามรูปแบบที่กำหนด เช่น Fix Length, XML เป็นต้น
  3. เชื่อมต่อกับระบบของธนาคาร เพื่อดึงข้อมูลลูกค้า, บัญชี
  4. Export ข้อมูลรูปแบบ CSV, EXCEL
  5. Export ข้อมูลในรูปแบบ XML File ตามที่ ปปง. กำหนด
  6. Operation Report เช่น สรุปข้อมูลรายวัน/รายเดือน, ข้อมูลที่บันทึกใหม่, ข้อมูลที่ยังไม่ได้ยืนยันข้อเท็จจริง แยกตามประเภทรายงาน
  7. Audit Log เพื่อติดตามการใช้งานของ User
  8. User & Role Management
  9. System Configuration สำหรับปรับแต่งการทำงานของระบบ

 

AMLO Report System มีส่วนประกอบซอฟต์แวร์อะไรบ้าง

  • Front-end เป็นส่วนของ User Interface ซึ่งพัฒนาด้วย Angula JS ทำงานบน Node JS และมี Apache HTTP Server สำหรับติดต่อกับ End User ผ่าน Web Browser
  • Back-end เป็นส่วนของการประมวลผล ทั้ง Online และ Batch ส่วนนี้พัฒนาด้วย Java และใช้ Framework Spring Boot และใช้ Rabbit MQ สำหรับจัดคิวงานต่าง ๆ
  • Data เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลของระบบ ซึ่งใช้ MS SQL Server จัดการ

 

 

ผลงานที่ผ่านมา สตรีมฯ เป็นผู้วางแผนและติดตั้งระบบ AMLO Report System ให้กับธนาคารเอกชนขนาดใหญ่ มีผู้ใช้งานในหลายร้อยสาขาของธนาคาร และในสำนักงานใหญ่ หากสถาบันการเงินหรือผู้ให้บริการทางการเงินใด สนใจติดตั้งระบบนี้ สามารถติดต่อได้ที่ฝ่ายการตลาด อีเมล Marketing@stream.co.th หรือโทร. 02-679-2233 นะครับ

 

เรียบเรียงโดย Siripod Surabotsophon

0 0 Continue Reading →

Thailand Anti-Money Laundering Executive Briefing

เมื่อวันพฤหัสที่ 1 พฤศจิกายน 2561 ที่ผ่านมา ทางบริษัทสตรีม ไอ.ที. คอนซัลติ้ง จำกัด ได้ร่วมกับพาร์ทเนอร์ NICE Actimize จัดงาน “Thailand AML Executive Briefing” งานสัมมนาผู้บริหารและบุคลากรภาคธนาคาร ทางด้านไอทีแบบ exclusive ณ ห้อง Astor I โรงแรม The St.Regis Bangkok

โดยหัวข้อหลักคือการแนะนำวิธีการป้องกันการฟอกเงินและอาชญากรรมทางการเงินให้กับธนาคารต่างๆ เมื่อมีตัวช่วยเป็นโซลูชั่น Anti-Money Laundering ที่ใช้ระบบอัตโนโนมัติอัจฉริยะ สามารถเพิ่มความแข็งแกร่งในการปราบปรามการก่อการร้าย สำหรับกิจกรรมทางการเงินต่างๆ ได้อย่างรัดกุมยิ่งขึ้น

ทางคณะผู้จัดงาน สตรีมฯ และ NICE Actimize ต้องขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะมีโอกาสได้พบกันใหม่งานหน้าค่ะ

หากท่านสนใจโซลูชั่นด้านดิจิทัล ติดต่อสตรีมได้ที่ Marketing@stream.co.th หรือโทร. 02-679-2233

0 0 Continue Reading →

บริษัท สตรีม ไอ.ที. คอนซัลติ้ง จำกัด ผู้นำด้านที่ปรึกษาธุรกิจดิจิทัล ร่วมยินดีกับพาร์ทเนอร์ของเรา “NICE Actimize” ที่ได้รับเลือกจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา ให้ดูแลเรื่องการป้องกันการฟอกเงินด้วยระบบ Intelligent Automation

บริษัท NICE Actimize ได้รับเลือกจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา ให้ดูแลเรื่องการป้องกันการฟอกเงินด้วยระบบ Intelligent Automation

โซลูชั่น Automated AML และโซลูชั่นการจัดการรายกรณี (Case Management) ของ NICE Actimize จะลดเวลาในการตรวจสอบและต้นทุนทั้งหมดของการการปฏิบัติตามข้อกำหนดของสถาบัน

 

     โฮโบเคน รัฐนิวเจอร์ซี่, 10 กันยายน 2561 NICE Actimize, บริษัทในเครือของธุรกิจ NICE (Nasdaq: NICE) และผู้นำทางด้านการจัดการอาชญากรรมทางการเงินอิสระ (Autonomous Financial Crime Management) ได้รับคัดเลือกจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นสถาบันการเงินที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของประเทศไทย ในการปรับเปลี่ยนนโยบายการป้องกันการฟอกเงินและการจัดการรายกรณี เพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการของหน่วยงานกำกับดูแลของธนาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและสนับสนุนฐานลูกค้าที่เพิ่มขึ้น ธนาคารกรุงศรีอยุธยาจะใช้โซลูชั่น Suspicious Activity Monitoring (SAM9) ที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อไม่นานมานี้ของ NICE Actimize และ Actimize ActOne ซึ่งเป็นระบบการจัดการการตรวจสอบที่ใช้ระบบอัจฉริยะแบบอัตโนมัติที่จะทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มการแจ้งเตือนและแพลตฟอร์มการจัดการรายกรณีของสถาบันการเงินรายอื่นต่อไป

 

     “ปรัชญาหลักของกรุงศรี กรุ๊ป ตั้งอยู่บนหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยยึดมั่นในการต่อต้านการฟอกเงินและอาชญากรรมทางการเงิน โซลูชั่น NICE Actimize ใช้ระบบอัจฉริยะแบบอัตโนโนมัติและวิธีการบริหารจัดการรายกรณีที่เข้มงวด ได้รับการออกแบบมาเพื่อเพิ่มความพยายามในการต่อต้านการฟอกเงิน และเพิ่มความเข้มแข็งในการปราบปรามการก่อการร้ายในกิจกรรมทางการเงินต่างๆ นายแสงชาติ วนิชเวทย์พิบูล ผู้บริหารระดับสูงด้านการดูแลการปฏิบัติตามกฎหมายของธนาคารกรุงศรีอยุธยากล่าว เนื่องจากโซลูชั่น Nice Actimize ช่วยแก้ปัญหาที่อยู่เหนือการควบคุมตามกฎเกณฑ์ดั้งเดิม ผนวกกับการเรียนรู้ของเครื่องจักรกล (Machine Learning) และหุ่นยนต์ เพื่อลดความผิดพลาดในการแจ้งเตือนและเพื่อเร่งกระบวนการตรวจสอบ เราเชื่อว่า Nice Actimize จะเข้ามามีส่วนร่วมในความพยายามที่จะต่อสู้กับอาชญากรรมทางการเงินของเรามีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงขึ้น

 

     “การดำเนินการที่สำคัญของ Nice Actimize ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งและการเข้าถึงบริการแบบครบวงจรที่เรามีให้ลูกค้า” Joe Friscia ประธานบริษัท NICE Actimize กล่าว เราเห็นการยอมรับทั่วโลก เกี่ยวกับโซลูชั่นการป้องกันการฟอกเงินและการจัดการรายกรณีที่ใช้ระบบ AI ของเรา เมื่อรวมเข้าด้วยกัน โซลูชั่น AML และ ActOne จะช่วยเพิ่มความแม่นยำ เพิ่มประสิทธิผล ช่วยให้ผลตอบแทนจากการลงทุนที่ดีขึ้น และทำให้เห็นแนวทางที่ชัดเจนเพื่อรองรับความต้องการของผู้ออกกฎหมาย

 

ไม่นานมานี้ NICE Actimize ได้ปรับปรุงโซลูชั่นตรวจสอบกิจกรรมที่น่าสงสัย (Suspicious Activity Monitoring: SAM) ซึ่งได้ผสมผสานการวิเคราะห์การเรียนรู้ของเครื่องจักรกล (Machine Learning) สำหรับการตรวจจับอาชญากรรมที่แม่นยำด้วยเลเซอร์ และด้วยระบบอัตโนมัติของหุ่นยนต์ ซึ่งจะช่วยลดเวลาในการรวบรวมข้อมูลเอง ก่อให้เกิดประสิทธิภาพของทีมที่มากขึ้น และลดเวลาในการตรวจสอบสำหรับการแจ้งเตือนแต่ละครั้งลงมากถึง 70 เปอร์เซ็นต์ โซลูชั่นใหม่นี้นำเสนอแนวคิดที่ล้ำสมัยของ NICE Actimize ในเรื่องการจัดการอาชญากรรมทางการเงินในรูปแบบอิสระ (Autonomous Financial Crime Management) เพื่อต่อต้านการฟอกเงินเป็นครั้งแรก

 

สินทรัพย์อื่นๆ:

  • สำหรับโซลูชั่นที่รวมเรื่องเกี่ยวกับการป้องกันการฟอกเงินของ NICE Actimize โปรดคลิก
  • สำหรับโซลูชั่น NICE Actimize’s ActOne Investigation Management โปรดคลิก

 

หากท่านสนใจโซลูชั่นด้านดิจิทัล ติดต่อสตรีมได้ที่ Marketing@stream.co.th หรือโทร. 02-679-2233

0 0 Continue Reading →

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save