Skip to Content

Blog Archives

AMLO Report System สำคัญอย่างไร ทำไมสถาบันการเงินต้องมี?

AMLO หรือ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือ สำนักงาน ปปง. (The Anti-Money Laundering Office : AMLO) เป็นหน่วยงานของรัฐซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการวางหลักเกณฑ์ และดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน รวมทั้งเป็นหน่วยงานตรวจสอบวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับการฟอกเงิน ในหน้าที่ของหน่วยงานวางหลักเกณฑ์ (Regulator)

สำนักงาน ปปง.มีบทบาทในการศึกษาหามาตรการในการป้องกัน และปราบปรามการฟอกเงิน โดยมีฐานะเป็นฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (คณะกรรมการ ปปง.) ส่วนในฐานะของหน่วยงานผู้บังคับใช้กฎหมาย (Law Enforcement) สำนักงาน ปปง. มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบและดำเนินการเกี่ยวกับธุรกรรมหรือทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดฟอกเงิน ตามมติของคณะกรรมการธุรกรรม ตลอดจนดูแลให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินดังกล่าว

สำนักงาน ปปง. เป็นหน่วยงาน จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มีเลขาธิการ ปปง. เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีและได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ทำหน้าที่ควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งราชการของสำนักงาน และเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสำนักงาน และรองเลขาธิการเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการ

(อ้างอิง: https://www.amlo.go.th/)

AMLO Report System คืออะไร

ระบบ AMLO Report เป็น Web Application เพื่อให้สถาบันการเงินจัดการข้อมูล ที่จะต้องรายงานต่อสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สนง.ปปง. / AMLO) รายงานที่จัดการมี 4 ประเภท คือ

  1. ปปง. 1-01 (รายงานธุรกรรมที่ใช้เงินสด)
  2. ปปง. 1-02 (รายงานการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน)
  3. ปปง. 1-03 (รายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย)
  4. ปปง. 1-05-9 (รายงานธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการโอนเงินหรือชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์)

AMLO Report System เหมาะสำหรับองค์กรใด

ระบบงานนี้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสถาบันการเงินทุกแห่ง ที่อยู่ภายใต้กฎระเบียบว่าต้องรายงานธุรกรรมที่เข้าเกณฑ์ต่อสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง. / AMLO) โดยความถี่ในการส่งขึ้นกับกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เช่น รายงาน ปปง. 1-01, 1-02 และ 1-05-9 ต้องรวบรวบข้อมูลคราวละ 15 วัน คือข้อมูลวันที่ 1 ถึงวันที่ 15 ของแต่ละเดือนต้องส่งภายในวันที่ 22 ของเดือนนั้น ข้อมูลวันที่ 16 ถึงสิ้นเดือน ต้องส่งภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป)

AMLO Report System ทำอะไรได้บ้าง

ฟีเจอร์ของระบบโดยสังเขป มีดังนี้

  1. การบันทึก, แก้ไข, ยืนยันข้อเท็จจริง, ค้นหารายงานประเภท 1-01, 1-02, 1-03, 1-05-9
  2. Import ข้อมูลจาก Source/Application ต่าง ๆ ตามรูปแบบที่กำหนด เช่น Fix Length, XML เป็นต้น
  3. เชื่อมต่อกับระบบของธนาคาร เพื่อดึงข้อมูลลูกค้า, บัญชี
  4. Export ข้อมูลรูปแบบ CSV, EXCEL
  5. Export ข้อมูลในรูปแบบ XML File ตามที่ ปปง. กำหนด
  6. Operation Report เช่น สรุปข้อมูลรายวัน/รายเดือน, ข้อมูลที่บันทึกใหม่, ข้อมูลที่ยังไม่ได้ยืนยันข้อเท็จจริง แยกตามประเภทรายงาน
  7. Audit Log เพื่อติดตามการใช้งานของ User
  8. User & Role Management
  9. System Configuration สำหรับปรับแต่งการทำงานของระบบ

 

AMLO Report System มีส่วนประกอบซอฟต์แวร์อะไรบ้าง

  • Front-end เป็นส่วนของ User Interface ซึ่งพัฒนาด้วย Angula JS ทำงานบน Node JS และมี Apache HTTP Server สำหรับติดต่อกับ End User ผ่าน Web Browser
  • Back-end เป็นส่วนของการประมวลผล ทั้ง Online และ Batch ส่วนนี้พัฒนาด้วย Java และใช้ Framework Spring Boot และใช้ Rabbit MQ สำหรับจัดคิวงานต่าง ๆ
  • Data เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลของระบบ ซึ่งใช้ MS SQL Server จัดการ

 

 

ผลงานที่ผ่านมา สตรีมฯ เป็นผู้วางแผนและติดตั้งระบบ AMLO Report System ให้กับธนาคารเอกชนขนาดใหญ่ มีผู้ใช้งานในหลายร้อยสาขาของธนาคาร และในสำนักงานใหญ่ หากสถาบันการเงินหรือผู้ให้บริการทางการเงินใด สนใจติดตั้งระบบนี้ สามารถติดต่อได้ที่ฝ่ายการตลาด อีเมล Marketing@stream.co.th หรือโทร. 02-679-2233 นะครับ

 

เรียบเรียงโดย Siripod Surabotsophon

0 0 Continue Reading →

คุณทราบหรือไม่ ตราสารบางประเภท สามารถเสียอากรแสตมป์เป็นอิเล็กทรอนิกส์ได้!!

ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2562 ที่ผ่านมา มีประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 58) กำหนดวิธีในการชำระอากรแสตมป์รูปแบบใหม่สำหรับตราสารที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ 5 ประเภท

 

ข้อดี คือ องค์กรที่มีการทำเอกสารสัญญาเป็นไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ จะได้รับความสะดวกสบายในการทำธุรกรรมออนไลน์ สามารถชำระภาษีผ่านระบบชำระเงินผ่านอินเตอร์เน็ตของกรมสรรพากร (E-Filing) ได้โดยตรง ไม่ต้องออกเอกสารเป็นกระดาษ

 

ตราสารอิเล็กทรอนิกส์ 5 ประเภท มีอะไรบ้าง

  1. ตราสาร 4 จ้างทำของ
  2. ตราสาร 5 กู้ยืมเงินหรือทำการตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคาร
  3. ตราสาร 7 ใบมอบอำนาจ
  4. ตราสาร 8 ใบมอบฉันทะสำหรับให้ลงมติในที่ประชุมบริษัท
  5. ตราสาร 17 ค้ำประกัน

 

ในกรณีที่องค์กรทำเอกสารตราสารด้านบนเป็นอิเล็กทรอนิกส์ จะต้องมีการชำระอากรแสตมป์เป็นตัวเงินด้วยแบบ อ.ส. 9 โดยมี 2 ช่องทางในการยื่นแบบคือ

  1. ชำระด้วยตนเองผ่านระบบยื่นแบบภาษีด้วยอินเตอร์เน็ต
  2. ยื่นชำระผ่านทาง Application Programming Interface (API) ของผู้ให้บริการที่ได้รับอนุมัติให้เชื่อมต่อกับกรมสรรพากรได้

 

พูดง่าย ๆ คือช่องทางแรก เหมาะสำหรับธุรกิจที่มีปริมาณเอกสารสัญญาน้อย ส่วนองค์กรที่ต้องชำระอากรแสตมป์เป็นจำนวนมากก็แนะนำให้ยื่นผ่านทาง API จะสะดวกกว่ามาก

 

หากต้องการชำระอากรแสตมป์เป็นอิเล็กทรอนิกส์ผ่านทาง API ต้องทำอย่างไร?

สามารถติดต่อผู้ให้บริการ เช่น สถาบันการเงิน ซึ่งจะดำเนินการจัดทำ และยื่นขอเสียอากรเป็นตัวเงินผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต แทนผู้มีหน้าที่เสียอากรตามประมวลรัษฎากร ในประกาศของกรมสรรพากร

ภาพจาก: https://estamp.rd.go.th/stampweb/#/document/support

 

สำหรับสถาบันการเงินหรือธุรกิจการเงินที่ปล่อยสินเชื่อ หากต้องการทำระบบชำระอากรแสตมป์เป็นอิเล็กทรอนิกส์ สตรีมฯ เราให้บริการจัดทำระบบ เพื่อให้องค์กรสามารถส่งเอกสารต่อไปยังกรมสรรพากรผ่านทาง API ได้อย่างสะดวก ซึ่งก็จะลดเวลาในการบริหารจัดการส่วนนี้ไปได้มาก

 

ระบบของสตรีมฯ ทำอะไรได้บ้าง

  1. การรับและการส่งไฟล์จำนวนมากหรือไฟล์ขนาดใหญ่ โดยกำหนดตารางเวลาทำงานอัตโนมัติตามรอบหรือระยะเวลาได้
  2. รองรับรูปแบบของข้อมูล และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลตามที่กำหนดไว้ในระบบ รวมถึงเติมเต็มข้อมูลให้ครบถ้วนก่อนส่งไปยังกรมสรรพากร
  3. รองรับการตรวจสอบและอนุมัติตามที่กำหนด เพื่อเตรียมนำส่งข้อมูล
  4. สามารถปรับเปลี่ยนข้อมูลที่มีรูปแบบที่แตกต่างกัน ให้เป็นรูปแบบมาตรฐานกระบวนการในการรับส่งข้อมูลตามที่สรรพากรกำหนด พร้อมทั้งมีการเข้ารหัสข้อมูล ช่วยรักษาข้อมูลต่าง ๆ ให้มีความปลอดภัย และรองรับตามมาตรการตามกฎหมาย
  5. รองรับการกำหนดตารางเวลา การนำส่งข้อมูลให้ใหม่โดยอัตโนมัติ หากเกิดข้อผิดพลาดขึ้น รวมถึงสามารถดำเนินการส่งใหม่โดยผู้ใช้งานแบบ manual
  6. สามารถดาวน์โหลดเอกสาร ชุดชำระเงิน ใบเสร็จรับเงิน รหัสรับรองการเสียอากรแสตมป์
  7. รองรับการสร้างข้อมูลการชำระเงิน เพื่อบริการโอนเงินเข้าบัญชีระหว่างธนาคารอัตโนมัติ
  8. กำหนดผู้เข้าถึงระบบและสิทธิ์การใช้งานได้ กำหนดข้อมูลระบบ และกำหนดข้อมูลของระบบที่เกี่ยวข้อง
  9. ตรวจสอบสถานะการทำงานในแต่ละขั้น ตอนตั้งแต่จัดเตรียมข้อมูล จัดส่งไปยังกรมสรรพากร และผลการตรวจสอบจากกรมสรรพากรได้
  10. สามารถกำหนดการแจ้งเตือนให้ผู้ใช้งานในแต่ละขั้นตอนได้
  11. จัดทำรายงานการเข้าระบบของผู้ใช้งาน รายงานการจัดเตรียมข้อมูล และรายงานผลการตรวจสอบจากกรมสรรพากร

 

สรุปจุดเด่นของระบบสตรีมฯ

– รองรับการจัดการ รายงานการนำส่ง และนำส่งข้อมูลเป็นจำนวนมากได้อย่างมีประสิทธิภาพ

– ใช้ชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์ที่เป็นมาตรฐานในการเชื่อมต่อกับระบบงานของกรมสรรพากร และมีความปลอดภัย

– สามารถเรียกดูหรือดาวน์โหลดเอกสารตราสารอิเล็กทรอนิกส์ ใบเสร็จรับเงิน และรหัสรับรองการชำระอากรแสตมป์

– มีการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้ผู้เสียอากรนำไปใช้อ้างอิงหรือผนวกกับตราสารอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อแสดงว่าตราสารอิเล็กทรอนิกส์นั้นได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์

 

ท่านใดในองค์กรมีตราสาร  5 ประเภท ที่ต้องการชำระเป็นอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นตราสารสัญญาจ้างทำของ สัญญากู้ยืมเงินหรือทำการตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคาร ใบมอบอำนาจ ใบมอบฉันทะสำหรับให้ลงมติในที่ประชุมบริษัท และสัญญาค้ำประกัน ถ้าต้องการทำระบบชำระอากรแสตมป์เป็นตัวเงินสำหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์ สามารถติดต่อสตรีมฯ ได้ที่ฝ่ายการตลาด อีเมล Marketing@stream.co.th หรือโทร. 02-679-2233

ฝากอีกนิดค่ะ เราให้บริการทำระบบ “e-Withholding Tax” ให้กับธนาคารและผู้ให้บริการทางการเงินด้วยนะคะ อ่านต่อได้ที่ https://www.stream.co.th/e-wht-for-banking/

0 0 Continue Reading →

สตรีมฯ พร้อมให้บริการระบบ “e-Withholding Tax” สำหรับธนาคารและผู้ให้บริการทางการเงิน

     สตรีมฯ พร้อมให้บริการจัดทำ “e-Withholding Tax” ระบบการหักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งข้อมูลการหักภาษี ณ ที่จ่าย แบบอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับกลุ่มธนาคารและผู้ให้บริการทางการเงิน!!

หลังจากที่กรมสรรพากรได้มีมาตรการคืนสภาพคล่องให้แก่ผู้ประกอบการในประเทศ และพยายามผลักดันให้ผู้ประกอบการ จ่ายและนำส่งภาษีแบบ e-Withholding Tax โดยจะได้ลดหย่อนอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย จาก 3% เหลือ 2% ในช่วงวันที่ 1 ตุลาคม 2563 – 31 ธันวาคม 2564 อีกด้วย

 

วัตถุประสงค์หลักของ e-Withholding Tax

  • เพื่ออำนวยความสะดวกในด้านภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์
  • ผู้ประกอบการไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีหัก ณ ที่จ่ายและไม่ต้องออกหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย (เอกสาร 50 ทวิ) อีกต่อไป เนื่องจากการจัดการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย จะเกิดขึ้นไปพร้อม ๆ กับการชำระเงิน
  • ผู้ประกอบการ/ผู้เสียภาษีจะสามารถตรวจสอบข้อมูลการหัก ณ ที่จ่ายและการถูกหัก ณ ที่จ่ายของตนเองในระบบของกรมสรรพากรได้
  • ลดต้นทุนการทำธุรกิจในระยะยาว

 

     สถาบันการเงินและผู้ให้บริการทางการเงิน ถือเป็นกุญแจสำคัญ เนื่องจากทำหน้าที่เป็นตัวแทนนำส่งข้อมูลไปยังกรมสรรพากรแทนผู้ประกอบการ จึงควรเตรียมพร้อมจัดทำระบบการหักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งข้อมูลการหักภาษี ณ ที่จ่าย แบบอิเล็กทรอนิกส์ให้สมบูรณ์ เพื่อรองรับความต้องการนำส่งที่อาจมากขึ้นในอนาคต

 

     สตรีมฯ เราจัดทำระบบการหักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งข้อมูลการหักภาษี ณ ที่จ่าย แบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Withholding Tax) ให้กับกลุ่มธนาคาร

 

จุดเด่นของระบบ “e-Withholding Tax”

  1. การรับและส่งไฟล์จำนวนมากหรือไฟล์ขนาดใหญ่ โดยกำหนดตารางเวลาทำงานอัตโนมัติตามรอบหรือระยะเวลา
  2. มีการเข้ารหัสข้อมูล ช่วยรักษาข้อมูลต่าง ๆ ให้มีความปลอดภัย และรองรับมาตรการตามกฎหมาย
  3. มีการรองรับรูปแบบของข้อมูลหลากหลาย ได้แก่ Domestic, Cross-border, BP256 และ Bank statements พร้อมตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลตามที่กำหนดไว้ในระบบ รวมถึงเติมเต็มข้อมูลให้ครบถ้วนก่อนส่งไปยังกรมสรรพากร
  4. กำหนดผู้เข้าถึงระบบและสิทธิ์การใช้งานได้
  5. ตรวจสอบสถานะการทำงานในแต่ละขั้นตอนตั้งแต่จัดเตรียมข้อมูล จัดส่งไปยังกรมสรรพากร และผลการตรวจสอบจากกรมสรรพากร ได้ทั้งแบบไฟล์และแบบรายการ
  6. สามารถกำหนดการแจ้งเตือนให้ผู้ใช้งานในแต่ละขั้นตอนได้
  7. จัดทำรายงานการเข้าระบบของผู้ใช้งาน รายงานการจัดเตรียมข้อมูล และรายงานผลการตรวจสอบจากกรมสรรพากร

 

เหตุใดถึงควรเลือกสตรีมฯ

  • สตรีมฯ มีประสบการณ์กว่า 10 ปี ในการทำโซลูชั่นรับส่งไฟล์แบบ Host-to-Host (H2H) โดยเฉพาะในกลุ่มธนาคาร
  • บริษัทได้รับการรับรองมาตรฐานการทำงานจาก ISO9001:2015 และ ISO27001
  • เราร่วมพัฒนาและติดตั้งโครงการของกรมสรรพากร ในโครงการพัฒนาระบบการนำเข้าและคัดแยกข้อมูลการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ และยังเป็น Service Provider ของกรมสรรพากร ในโซลูชั่น e-Tax Invoice
  • ทีมงานที่ปรึกษามีความเชี่ยวชาญ สามารถแนะนำขั้นตอนการลงทะเบียนให้กับผู้นำส่งข้อมูลได้
  • ระบบเสถียร มีประสิทธิภาพ นำส่งข้อมูลรวดเร็ว และมีความปลอดภัยขั้นสูง
  • มีการตรวจสอบข้อมูลที่นำเข้าระบบและนำส่งให้ถูกต้อง ครบถ้วน

 

หากธนาคารหรือผู้ให้บริการด้านการเงิน สนใจทำโซลูชั่น e-Withholding Tax สามารถติดต่อได้ที่ Marketing@stream.co.th หรือโทร. 02-679-2233 ค่ะ

0 0 Continue Reading →

NDID มีแล้วดีอย่างไร? ใครได้รับประโยชน์บ้าง?

เมื่อพูดถึงหนึ่งในเทคโนโลยีกำลังเป็นที่จับตามอง ต้องมีเรื่องของ NDID หรือ National Digital Identity ซึ่งก็คือระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล โดยมีการเก็บข้อมูลที่ระบุอัตลักษณ์หรือคุณลักษณะของแต่ละบุคคล แล้วสร้างระบบเชื่อมโยงข้อมูล เชื่อมต่อระหว่างหน่วยงานต่างๆ เพื่อสร้างมาตรฐานการพิสูจน์และการยืนยันตัวตนร่วมกันทั้งประเทศไทย เป็นการยกระดับการทำธุรกรรมต่างๆ ให้มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น และสะดวกสำหรับบุคคลทั่วไปในการยืนยันตัวตนกับสถาบันต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ภาคธนาคาร ภาครัฐ รวมไปถึงภาคเอกชน

ภายใต้ระบบการพิสูจน์ตัวตนนี้ มีองค์ประกอบหลักๆ 3 ส่วนด้วยกัน ได้แก่
1. Identity Provider (IDP) ผู้ทำหน้าที่สำคัญในการเป็นผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตน และเป็นผู้รับลงทะเบียนยืนยันการพิสูจน์ตัวตนให้กับผู้ที่จะขอใช้ข้อมูล อาทิเช่น กรมการปกครอง หรือธนาคาร เป็นต้น

2. Authoritative Source (AS) กลุ่มผู้ให้บริการข้อมูลของลูกค้าตามที่ร้องขอ เช่น ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ, ข้อมูลธุรกรรมทางการเงิน, ข้อมูลด้านสุขภาพ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลจะถูกตรวจสอบ ต้องผ่านสถานะการยืนยันตัวตนและยินยอมให้ใช้ข้อมูล จึงจะสามารถให้ผู้ใช้บริการเข้าถึงได้

3. Relying Party (RP) กลุ่มผู้ให้บริการในการทำธุรกรรมต่างๆ เช่น ธนาคารให้บริการเปิดบัญชี, การขอสินเชื่อ, สมัครบัตรเครดิต หรือบริษัทหลักทรัพย์ ให้บริการเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ เป็นต้น ซึ่งจะสามารถดึงข้อมูลในรูปแบบดิจิทัลไปใช้ได้เมื่อมีการติดตั้งระบบ NDID

ทั้งนี้ ข้อสำคัญคือการจะเข้าถึงข้อมูลต้องได้รับการยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อนทุกครั้ง ล้อกับ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

สำหรับบุคคลทั่วไป การทำธุรกรรม เช่น การเปิดบัญชีใหม่กับธนาคาร จะต้องมีระบบการยืนยันตัวตน (Know Your Customer: KYC) เช่น ขอบัตรประชาชนและเอกสารอีกมากมาย รวมถึงเอกสารที่ต้องกรอก ณ สาขา เพื่อเปิดบัญชี นอกจากเรื่องเอกสารแล้ว ผู้เปิดบัญชียังต้องเสียเวลาในแต่ละขั้นตอนด้วย

ในมุมของธนาคาร ธนาคารมีต้นทุนที่ให้บุคลากรมาทำการเปิดบัญชีให้กับผู้เปิดบัญชีทีละคนๆ หากลองคำนวณเล่นๆ ว่าแต่ละวันพนักงานธนาคารหน้าเคาท์เตอร์คนหนึ่ง ทำงาน 8 ชั่วโมง และการเปิดบัญชีใหม่ ก็เสียเวลาครึ่งชั่วโมงหรือมากกว่านั้น นั่นแปลว่าใน 1 วัน พนักงานหนึ่งคนสามารถบริการลูกค้าได้เพียงไม่กี่คนเท่านั้น เป็นการสิ้นเปลืองแรงงานและค่าใช้จ่ายของธนาคารอย่างมาก

แต่หากธนาคารมีการใช้งาน NDID และทำหน้าที่เป็น IDP เพื่อจัดทำข้อมูลในการพิสูจน์และยืนยันตัวตนของลูกค้า และมีการจัดทำระบบ e-KYC ขึ้นมา ซึ่งก็มีค่าใช้จ่ายในการลงทุนทางด้านซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ ยกตัวอย่างเช่น การทำ Facial Recognition และ Hardware Security Module (HSM) แต่ความคุ้มค่าหลังจากธนาคารมีระบบนี้แล้วคือ ธนาคารเรียกใช้ข้อมูลลูกค้าระหว่างสำนักงานใหญ่กับสาขาต่างๆ ด้วย ทำให้ลูกค้าผู้ใช้งานธนาคารนั้นๆ ได้รับความสะดวกสบายเนื่องจากไม่ต้องวุ่นวายเรื่องเอกสาร และยังสามารถให้ข้อมูลที่มีการยินยอมให้ใช้งานจากลูกค้าเพื่อนำไปสร้างรายได้ เมื่อมีหน่วยงานอื่นที่มีการเชื่อมต่อเข้ากับ NDID ต้องการขอใช้ข้อมูลดังกล่าว

โดยหากลูกค้าประสงค์ที่จะเปิดบัญชีที่ธนาคารอื่นๆ ที่ยังไม่เคยมีการเปิดบัญชีมาก่อน หากธนาคารนั้นๆ มีเชื่อมต่อกับ NDID และทำหน้าที่เป็น IDP  ก็จะสามารถขอใช้ข้อมูลการพิสูจน์และยืนยันตัวตนจาก IDP ของธนาคารที่ลูกค้าเคยให้การยินยอม และขอข้อมูลเฉพาะจาก AS ได้ ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาในการขอเอกสารจากลูกค้าใหม่ นั่นคือข้อดีของระบบ NDID

ถ้าพูดง่ายๆ NDID ก็เปรียบเสมือนเป็นถนนในการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างองค์กร โดย RP ไม่จำเป็นต้องมีข้อมูลของลูกค้าเอง แต่สามารถไปเรียกใช้ข้อมูลจากองค์กรที่เป็น IDP และ AS ให้บริการข้อมูลลูกค้า เช่น จากบัญชีของธนาคารอื่นที่ผู้เปิดบัญชีมีข้อมูลอยู่แล้ว และลูกค้ายินยอมให้ใช้ข้อมูล ซึ่งก็จะทำให้ผู้เปิดบัญชีใหม่ สามารถเปิดบัญชีได้ง่ายๆ ผ่านแอปพลิเคชั่นในมือถือ ในเวลาเพียงไม่ถึง 5 นาที

ในช่วงแรกของโครงการ NDID นี้ เริ่มจากในเฟสแรก ที่ธนาคารใช้เทคโนโลยี Facial Recognition ในกระบวนการ KYC เพื่อเปิดบัญชี ในปัจจุบันเราอยู่ในเฟสสอง ซึ่งเป็นการพิสูจน์และยืนยันตัวตนข้ามธนาคารผ่าน NDID หลังจากนี้มีความเป็นไปได้ที่จะต่อยอดไปสู่เรื่องของการตรวจเครดิตบูโร (National Credit Bureau: NCB) หรือ Statement นอกจากนี้ ภาครัฐยังสามารถใช้ประโยชน์จาก e-KYC และ NDID ได้อีกมาก เช่น กระทรวงสาธารณสุขสามารถนำ e-KYC ไปใช้ในการจัดทำข้อมูลสุขภาพของประชาชน เพื่อให้ประกันสามารถดึงข้อมูลไปใช้ เป็นต้น

สำหรับองค์กรที่อยากทราบข้อมูลของ NDID ให้มากขึ้น ทางสตรีมฯ สามารถให้คำปรึกษา วางแผน ไปจนถึงติดตั้งตัวระบบ และดูแลระบบของท่านให้ดำเนินการเป็นปกติเรียบร้อย เรามีประสบการณ์ในการทำ NDID ให้กับธนาคารชั้นนำ สนใจติดต่อฝ่ายการตลาด โทร. 02-679-2233 อีเมล Marketing@stream.co.th

0 1 Continue Reading →

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save