Skip to Content

Blog Archives

AMLO Report System สำคัญอย่างไร ทำไมสถาบันการเงินต้องมี?

AMLO หรือ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือ สำนักงาน ปปง. (The Anti-Money Laundering Office : AMLO) เป็นหน่วยงานของรัฐซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการวางหลักเกณฑ์ และดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน รวมทั้งเป็นหน่วยงานตรวจสอบวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับการฟอกเงิน ในหน้าที่ของหน่วยงานวางหลักเกณฑ์ (Regulator)

สำนักงาน ปปง.มีบทบาทในการศึกษาหามาตรการในการป้องกัน และปราบปรามการฟอกเงิน โดยมีฐานะเป็นฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (คณะกรรมการ ปปง.) ส่วนในฐานะของหน่วยงานผู้บังคับใช้กฎหมาย (Law Enforcement) สำนักงาน ปปง. มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบและดำเนินการเกี่ยวกับธุรกรรมหรือทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดฟอกเงิน ตามมติของคณะกรรมการธุรกรรม ตลอดจนดูแลให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินดังกล่าว

สำนักงาน ปปง. เป็นหน่วยงาน จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มีเลขาธิการ ปปง. เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีและได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ทำหน้าที่ควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งราชการของสำนักงาน และเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสำนักงาน และรองเลขาธิการเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการ

(อ้างอิง: https://www.amlo.go.th/)

AMLO Report System คืออะไร

ระบบ AMLO Report เป็น Web Application เพื่อให้สถาบันการเงินจัดการข้อมูล ที่จะต้องรายงานต่อสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สนง.ปปง. / AMLO) รายงานที่จัดการมี 4 ประเภท คือ

  1. ปปง. 1-01 (รายงานธุรกรรมที่ใช้เงินสด)
  2. ปปง. 1-02 (รายงานการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน)
  3. ปปง. 1-03 (รายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย)
  4. ปปง. 1-05-9 (รายงานธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการโอนเงินหรือชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์)

AMLO Report System เหมาะสำหรับองค์กรใด

ระบบงานนี้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสถาบันการเงินทุกแห่ง ที่อยู่ภายใต้กฎระเบียบว่าต้องรายงานธุรกรรมที่เข้าเกณฑ์ต่อสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง. / AMLO) โดยความถี่ในการส่งขึ้นกับกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เช่น รายงาน ปปง. 1-01, 1-02 และ 1-05-9 ต้องรวบรวบข้อมูลคราวละ 15 วัน คือข้อมูลวันที่ 1 ถึงวันที่ 15 ของแต่ละเดือนต้องส่งภายในวันที่ 22 ของเดือนนั้น ข้อมูลวันที่ 16 ถึงสิ้นเดือน ต้องส่งภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป)

AMLO Report System ทำอะไรได้บ้าง

ฟีเจอร์ของระบบโดยสังเขป มีดังนี้

  1. การบันทึก, แก้ไข, ยืนยันข้อเท็จจริง, ค้นหารายงานประเภท 1-01, 1-02, 1-03, 1-05-9
  2. Import ข้อมูลจาก Source/Application ต่าง ๆ ตามรูปแบบที่กำหนด เช่น Fix Length, XML เป็นต้น
  3. เชื่อมต่อกับระบบของธนาคาร เพื่อดึงข้อมูลลูกค้า, บัญชี
  4. Export ข้อมูลรูปแบบ CSV, EXCEL
  5. Export ข้อมูลในรูปแบบ XML File ตามที่ ปปง. กำหนด
  6. Operation Report เช่น สรุปข้อมูลรายวัน/รายเดือน, ข้อมูลที่บันทึกใหม่, ข้อมูลที่ยังไม่ได้ยืนยันข้อเท็จจริง แยกตามประเภทรายงาน
  7. Audit Log เพื่อติดตามการใช้งานของ User
  8. User & Role Management
  9. System Configuration สำหรับปรับแต่งการทำงานของระบบ

 

AMLO Report System มีส่วนประกอบซอฟต์แวร์อะไรบ้าง

  • Front-end เป็นส่วนของ User Interface ซึ่งพัฒนาด้วย Angula JS ทำงานบน Node JS และมี Apache HTTP Server สำหรับติดต่อกับ End User ผ่าน Web Browser
  • Back-end เป็นส่วนของการประมวลผล ทั้ง Online และ Batch ส่วนนี้พัฒนาด้วย Java และใช้ Framework Spring Boot และใช้ Rabbit MQ สำหรับจัดคิวงานต่าง ๆ
  • Data เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลของระบบ ซึ่งใช้ MS SQL Server จัดการ

 

 

ผลงานที่ผ่านมา สตรีมฯ เป็นผู้วางแผนและติดตั้งระบบ AMLO Report System ให้กับธนาคารเอกชนขนาดใหญ่ มีผู้ใช้งานในหลายร้อยสาขาของธนาคาร และในสำนักงานใหญ่ หากสถาบันการเงินหรือผู้ให้บริการทางการเงินใด สนใจติดตั้งระบบนี้ สามารถติดต่อได้ที่ฝ่ายการตลาด อีเมล Marketing@stream.co.th หรือโทร. 02-679-2233 นะครับ

 

เรียบเรียงโดย Siripod Surabotsophon

0 0 Continue Reading →

คุณทราบหรือไม่ ตราสารบางประเภท สามารถเสียอากรแสตมป์เป็นอิเล็กทรอนิกส์ได้!!

ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2562 ที่ผ่านมา มีประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 58) กำหนดวิธีในการชำระอากรแสตมป์รูปแบบใหม่สำหรับตราสารที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ 5 ประเภท

 

ข้อดี คือ องค์กรที่มีการทำเอกสารสัญญาเป็นไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ จะได้รับความสะดวกสบายในการทำธุรกรรมออนไลน์ สามารถชำระภาษีผ่านระบบชำระเงินผ่านอินเตอร์เน็ตของกรมสรรพากร (E-Filing) ได้โดยตรง ไม่ต้องออกเอกสารเป็นกระดาษ

 

ตราสารอิเล็กทรอนิกส์ 5 ประเภท มีอะไรบ้าง

  1. ตราสาร 4 จ้างทำของ
  2. ตราสาร 5 กู้ยืมเงินหรือทำการตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคาร
  3. ตราสาร 7 ใบมอบอำนาจ
  4. ตราสาร 8 ใบมอบฉันทะสำหรับให้ลงมติในที่ประชุมบริษัท
  5. ตราสาร 17 ค้ำประกัน

 

ในกรณีที่องค์กรทำเอกสารตราสารด้านบนเป็นอิเล็กทรอนิกส์ จะต้องมีการชำระอากรแสตมป์เป็นตัวเงินด้วยแบบ อ.ส. 9 โดยมี 2 ช่องทางในการยื่นแบบคือ

  1. ชำระด้วยตนเองผ่านระบบยื่นแบบภาษีด้วยอินเตอร์เน็ต
  2. ยื่นชำระผ่านทาง Application Programming Interface (API) ของผู้ให้บริการที่ได้รับอนุมัติให้เชื่อมต่อกับกรมสรรพากรได้

 

พูดง่าย ๆ คือช่องทางแรก เหมาะสำหรับธุรกิจที่มีปริมาณเอกสารสัญญาน้อย ส่วนองค์กรที่ต้องชำระอากรแสตมป์เป็นจำนวนมากก็แนะนำให้ยื่นผ่านทาง API จะสะดวกกว่ามาก

 

หากต้องการชำระอากรแสตมป์เป็นอิเล็กทรอนิกส์ผ่านทาง API ต้องทำอย่างไร?

สามารถติดต่อผู้ให้บริการ เช่น สถาบันการเงิน ซึ่งจะดำเนินการจัดทำ และยื่นขอเสียอากรเป็นตัวเงินผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต แทนผู้มีหน้าที่เสียอากรตามประมวลรัษฎากร ในประกาศของกรมสรรพากร

ภาพจาก: https://estamp.rd.go.th/stampweb/#/document/support

 

สำหรับสถาบันการเงินหรือธุรกิจการเงินที่ปล่อยสินเชื่อ หากต้องการทำระบบชำระอากรแสตมป์เป็นอิเล็กทรอนิกส์ สตรีมฯ เราให้บริการจัดทำระบบ เพื่อให้องค์กรสามารถส่งเอกสารต่อไปยังกรมสรรพากรผ่านทาง API ได้อย่างสะดวก ซึ่งก็จะลดเวลาในการบริหารจัดการส่วนนี้ไปได้มาก

 

ระบบของสตรีมฯ ทำอะไรได้บ้าง

  1. การรับและการส่งไฟล์จำนวนมากหรือไฟล์ขนาดใหญ่ โดยกำหนดตารางเวลาทำงานอัตโนมัติตามรอบหรือระยะเวลาได้
  2. รองรับรูปแบบของข้อมูล และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลตามที่กำหนดไว้ในระบบ รวมถึงเติมเต็มข้อมูลให้ครบถ้วนก่อนส่งไปยังกรมสรรพากร
  3. รองรับการตรวจสอบและอนุมัติตามที่กำหนด เพื่อเตรียมนำส่งข้อมูล
  4. สามารถปรับเปลี่ยนข้อมูลที่มีรูปแบบที่แตกต่างกัน ให้เป็นรูปแบบมาตรฐานกระบวนการในการรับส่งข้อมูลตามที่สรรพากรกำหนด พร้อมทั้งมีการเข้ารหัสข้อมูล ช่วยรักษาข้อมูลต่าง ๆ ให้มีความปลอดภัย และรองรับตามมาตรการตามกฎหมาย
  5. รองรับการกำหนดตารางเวลา การนำส่งข้อมูลให้ใหม่โดยอัตโนมัติ หากเกิดข้อผิดพลาดขึ้น รวมถึงสามารถดำเนินการส่งใหม่โดยผู้ใช้งานแบบ manual
  6. สามารถดาวน์โหลดเอกสาร ชุดชำระเงิน ใบเสร็จรับเงิน รหัสรับรองการเสียอากรแสตมป์
  7. รองรับการสร้างข้อมูลการชำระเงิน เพื่อบริการโอนเงินเข้าบัญชีระหว่างธนาคารอัตโนมัติ
  8. กำหนดผู้เข้าถึงระบบและสิทธิ์การใช้งานได้ กำหนดข้อมูลระบบ และกำหนดข้อมูลของระบบที่เกี่ยวข้อง
  9. ตรวจสอบสถานะการทำงานในแต่ละขั้น ตอนตั้งแต่จัดเตรียมข้อมูล จัดส่งไปยังกรมสรรพากร และผลการตรวจสอบจากกรมสรรพากรได้
  10. สามารถกำหนดการแจ้งเตือนให้ผู้ใช้งานในแต่ละขั้นตอนได้
  11. จัดทำรายงานการเข้าระบบของผู้ใช้งาน รายงานการจัดเตรียมข้อมูล และรายงานผลการตรวจสอบจากกรมสรรพากร

 

สรุปจุดเด่นของระบบสตรีมฯ

– รองรับการจัดการ รายงานการนำส่ง และนำส่งข้อมูลเป็นจำนวนมากได้อย่างมีประสิทธิภาพ

– ใช้ชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์ที่เป็นมาตรฐานในการเชื่อมต่อกับระบบงานของกรมสรรพากร และมีความปลอดภัย

– สามารถเรียกดูหรือดาวน์โหลดเอกสารตราสารอิเล็กทรอนิกส์ ใบเสร็จรับเงิน และรหัสรับรองการชำระอากรแสตมป์

– มีการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้ผู้เสียอากรนำไปใช้อ้างอิงหรือผนวกกับตราสารอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อแสดงว่าตราสารอิเล็กทรอนิกส์นั้นได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์

 

ท่านใดในองค์กรมีตราสาร  5 ประเภท ที่ต้องการชำระเป็นอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นตราสารสัญญาจ้างทำของ สัญญากู้ยืมเงินหรือทำการตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคาร ใบมอบอำนาจ ใบมอบฉันทะสำหรับให้ลงมติในที่ประชุมบริษัท และสัญญาค้ำประกัน ถ้าต้องการทำระบบชำระอากรแสตมป์เป็นตัวเงินสำหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์ สามารถติดต่อสตรีมฯ ได้ที่ฝ่ายการตลาด อีเมล Marketing@stream.co.th หรือโทร. 02-679-2233

ฝากอีกนิดค่ะ เราให้บริการทำระบบ “e-Withholding Tax” ให้กับธนาคารและผู้ให้บริการทางการเงินด้วยนะคะ อ่านต่อได้ที่ https://www.stream.co.th/e-wht-for-banking/

0 0 Continue Reading →

สตรีมฯ พร้อมให้บริการระบบ “e-Withholding Tax” สำหรับธนาคารและผู้ให้บริการทางการเงิน

     สตรีมฯ พร้อมให้บริการจัดทำ “e-Withholding Tax” ระบบการหักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งข้อมูลการหักภาษี ณ ที่จ่าย แบบอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับกลุ่มธนาคารและผู้ให้บริการทางการเงิน!!

หลังจากที่กรมสรรพากรได้มีมาตรการคืนสภาพคล่องให้แก่ผู้ประกอบการในประเทศ และพยายามผลักดันให้ผู้ประกอบการ จ่ายและนำส่งภาษีแบบ e-Withholding Tax โดยจะได้ลดหย่อนอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย จาก 3% เหลือ 2% ในช่วงวันที่ 1 ตุลาคม 2563 – 31 ธันวาคม 2564 อีกด้วย

 

วัตถุประสงค์หลักของ e-Withholding Tax

  • เพื่ออำนวยความสะดวกในด้านภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์
  • ผู้ประกอบการไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีหัก ณ ที่จ่ายและไม่ต้องออกหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย (เอกสาร 50 ทวิ) อีกต่อไป เนื่องจากการจัดการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย จะเกิดขึ้นไปพร้อม ๆ กับการชำระเงิน
  • ผู้ประกอบการ/ผู้เสียภาษีจะสามารถตรวจสอบข้อมูลการหัก ณ ที่จ่ายและการถูกหัก ณ ที่จ่ายของตนเองในระบบของกรมสรรพากรได้
  • ลดต้นทุนการทำธุรกิจในระยะยาว

 

     สถาบันการเงินและผู้ให้บริการทางการเงิน ถือเป็นกุญแจสำคัญ เนื่องจากทำหน้าที่เป็นตัวแทนนำส่งข้อมูลไปยังกรมสรรพากรแทนผู้ประกอบการ จึงควรเตรียมพร้อมจัดทำระบบการหักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งข้อมูลการหักภาษี ณ ที่จ่าย แบบอิเล็กทรอนิกส์ให้สมบูรณ์ เพื่อรองรับความต้องการนำส่งที่อาจมากขึ้นในอนาคต

 

     สตรีมฯ เราจัดทำระบบการหักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งข้อมูลการหักภาษี ณ ที่จ่าย แบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Withholding Tax) ให้กับกลุ่มธนาคาร

 

จุดเด่นของระบบ “e-Withholding Tax”

  1. การรับและส่งไฟล์จำนวนมากหรือไฟล์ขนาดใหญ่ โดยกำหนดตารางเวลาทำงานอัตโนมัติตามรอบหรือระยะเวลา
  2. มีการเข้ารหัสข้อมูล ช่วยรักษาข้อมูลต่าง ๆ ให้มีความปลอดภัย และรองรับมาตรการตามกฎหมาย
  3. มีการรองรับรูปแบบของข้อมูลหลากหลาย ได้แก่ Domestic, Cross-border, BP256 และ Bank statements พร้อมตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลตามที่กำหนดไว้ในระบบ รวมถึงเติมเต็มข้อมูลให้ครบถ้วนก่อนส่งไปยังกรมสรรพากร
  4. กำหนดผู้เข้าถึงระบบและสิทธิ์การใช้งานได้
  5. ตรวจสอบสถานะการทำงานในแต่ละขั้นตอนตั้งแต่จัดเตรียมข้อมูล จัดส่งไปยังกรมสรรพากร และผลการตรวจสอบจากกรมสรรพากร ได้ทั้งแบบไฟล์และแบบรายการ
  6. สามารถกำหนดการแจ้งเตือนให้ผู้ใช้งานในแต่ละขั้นตอนได้
  7. จัดทำรายงานการเข้าระบบของผู้ใช้งาน รายงานการจัดเตรียมข้อมูล และรายงานผลการตรวจสอบจากกรมสรรพากร

 

เหตุใดถึงควรเลือกสตรีมฯ

  • สตรีมฯ มีประสบการณ์กว่า 10 ปี ในการทำโซลูชั่นรับส่งไฟล์แบบ Host-to-Host (H2H) โดยเฉพาะในกลุ่มธนาคาร
  • บริษัทได้รับการรับรองมาตรฐานการทำงานจาก ISO9001:2015 และ ISO27001
  • เราร่วมพัฒนาและติดตั้งโครงการของกรมสรรพากร ในโครงการพัฒนาระบบการนำเข้าและคัดแยกข้อมูลการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ และยังเป็น Service Provider ของกรมสรรพากร ในโซลูชั่น e-Tax Invoice
  • ทีมงานที่ปรึกษามีความเชี่ยวชาญ สามารถแนะนำขั้นตอนการลงทะเบียนให้กับผู้นำส่งข้อมูลได้
  • ระบบเสถียร มีประสิทธิภาพ นำส่งข้อมูลรวดเร็ว และมีความปลอดภัยขั้นสูง
  • มีการตรวจสอบข้อมูลที่นำเข้าระบบและนำส่งให้ถูกต้อง ครบถ้วน

 

หากธนาคารหรือผู้ให้บริการด้านการเงิน สนใจทำโซลูชั่น e-Withholding Tax สามารถติดต่อได้ที่ Marketing@stream.co.th หรือโทร. 02-679-2233 ค่ะ

0 0 Continue Reading →

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save