Skip to Content

Blog Archives

5 อันดับ Ecommerce Platform ที่เหมาะสำหรับการทำ SEO

         ทำไม SEO ถึงมีความสำคัญกับ e-commerce? เพราะว่า 44% ของผู้ใช้งานที่เข้ามาซื้อสินค้าออนไลน์ ล้วนมาจากการค้นหาผ่าน search engine ซึ่งนั่นหมายความว่าสินค้าของคุณจะมีโอกาสค้นหาเจอได้ง่ายขึ้น ทำให้ขายได้ง่ายขึ้นด้วย

          เจ้าของธุรกิจหลายรายที่อาจจะไม่ทราบว่า e-commerce platform ที่ใช้อยู่นั้น ไม่ได้มีคุณลักษณะที่จำเป็นเพียงพอต่อการทำ SEO เพราะโปรแกรม e-commerce บางตัวก็มีเพียงฟีเจอร์พื้นฐานสำหรับการทำ SEO มาให้เท่านั้น สำหรับฟีเจอร์อื่นๆ ที่จำเป็นก็จะต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม โดยทาง RICHMAN  ได้ให้คะแนนและจัดลำดับคะแนนสำหรับ e-commerce platform ดังนี้

ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการจัดอันดับ SEO

1.Independent Navigation Links  คะแนน 10/10

Navigation Link คือ รายชื่อเมนูเพื่อเข้าถึงสินค้าหรือหมวดหมู่ของสินค้า โดย e-commerce บางเจ้าจะสร้าง  Navigation link โดยใช้ชื่อเดียวกับชื่อสินค้าและหมวดหมู่ของสินค้าให้อัตโนมัติ

2.Independent Page Titles   คะแนน 10/10

Page Title เป็นส่วนที่แสดงอยู่บน title bar ของบราวเซอร์ โดยแสดงหัวเรื่องของหน้านั้นๆ ซึ่ง e-commerce บางเจ้าจะสร้าง  Page Title โดยใช้ชื่อเดียวกับชื่อสินค้าและหมวดหมู่ของสินค้าให้อัตโนมัติ

 

 

3.Independent Page URLs   คะแนน 9/10

การตั้งชื่อ Page URLs คือส่วนที่แสดงที่อยู่ของ page นั้นๆ โดยจะต่อท้ายชื่อของเว็บไบซต์ในส่วนของ address bar ซึ่งการตั้งชื่อที่ดีก็จะทำให้ website ถูกค้นหาได้ง่ายขึ้น โดย ecommerce บางเจ้าจะสร้าง  Page URLs โดยใช้ชื่อเดียวกับชื่อสินค้าและหมวดหมู่ของสินค้าให้อัตโนมัติ

4.Independent Meta Descriptions   คะแนน 9/10

Meta Descriptions คือข้อความที่แสดงคำอธิบายของหน้า page โดยปรากฏอยู่ในหน้าผลการค้นหาของ Google แม้ว่าคำอธิบายจะไม่ส่งผลต่อตำแหน่งโดยตรงของการค้นหา แต่อาจมีผลกระทบต่อการตัดสินใจในการคลิกเข้าไปดูของผู้ใช้งานได้

5.Independent Image ALT Tags   คะแนน 3/10

การเพิ่ม ALT tag เป็นการแสดงข้อความรายละเอียดของรูปภาพ แม้ว่า ALT tag จะมีความสำคัญไม่มากในการจัดอันดับ SEO ของ Google แต่อาจมีผลกระทบต่อการแสดงผลในหน้าผลการค้นหารูปภาพของ Google

6.Independent H1 Headings   คะแนน 3/10

H1 head มักจะถูกกำหนดเป็นหัวเรื่องหลักที่แสดงอยู่ในหน้าสินค้าอยู่แล้ว โดยจะเป็นข้อความที่แสดงความเกี่ยวข้องกับข้อความที่ใช้ค้นหาใน Google โดยโปรแกรม e-commerce บางเจ้าจะไม่มีฟีเจอร์นี้มาให้ และอีกหลายๆ เจ้าจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

 

 

 

 

7.Canonical URLs   คะแนน 7/10

การใส่ Canonial tag เอาไว้ที่เว็บ เพื่อเป็นการลดและป้องกันการเกิดข้อมูลซ้ำ (duplicate content) ของเว็บเรา

8.Integrated Blogging Platform   คะแนน 10/10

การมี link คุณภาพจากภายนอกที่ชี้มายังเว็บไซต์ เป็นปัจจัยที่เพิ่มความโดดเด่นและความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์อีกด้วย

9.Social Sharing buttons   คะแนน 8/10

ปุ่มสำหรับแบ่งปันเนื้อหาภายในเว็บไซต์ไปยัง social network อื่นๆ เป็นไอคอนที่จดจำได้ง่าย ซึ่งจะช่วยให้ผู้เข้าชมสามารถแบ่งปันเนื้อหาไปยังเครือข่ายอื่นๆ ภายนอก เพื่อให้ผู้ใช้อ่านคนอื่นๆ สามารถเข้าถึงได้

10.Auto XML Sitemap   คะแนน 9/10

XML Sitemap คือ การสร้างไฟล์ในเครื่อง server ที่รวมโครงสร้างของเว็บไซต์ซึ่งเป็นเหมือน “สารบัญ” หรือ “ดัชนี” ที่รวม link ของทุกหน้าไว้ที่หน้าเดียว อีกทั้งยังช่วยให้ search engine สามารถเข้าถึงเว็บไซต์ได้ง่ายและรวดเร็ว

11.Use of own Domain Name   คะแนน 10/10

การใช้ชื่อ Domain name ต้องเป็นชื่อที่ไม่ซ้ำใคร และจะเป็นช่องทางที่ผู้ใช้งานจะสามารถเข้าถึง website เราได้โดยตรงบน internet

โดยหากท่านผู้อ่านสนใจที่จะสร้างเว็บไซต์ e-commerce ที่ให้ช่วยในการทำ SEO ได้อย่างครอบคลุม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงของ website สามารถติดต่อได้ที่  marketing@stream.co.th หรือโทร 02-679-2233


เขียนและเรียบเรียงโดย

กมลเนตร   วงศ์ปราโมทย์

Business Analyst

 

0 0 Continue Reading →

เทคนิคเพิ่มยอดขายด้วย Digital Marketing

Digital Marketing คืออะไร

หลายคนอาจสงสัยว่า Digital Marketing จะช่วยเพิ่มยอดขายได้อย่างไร ซึ่ง Digital Marketing คือ การโปรโมทสินค้าและบริการ โดยใช้ช่องทาง Digital และ Social media เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าถึงผ่านทาง Internet, Text Message, Banner Ads โดยผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ง่าย และตรงกลุ่มเป้าหมาย หลังจากนั้นเมื่อผู้เข้าชมสนใจในสินค้าก็จะเกิดการซื้อสินค้าและบริการ รวมถึงได้รับการกระตุ้นจากแคมเปญหรือโปรโมชั่นต่างๆ ซึ่งทำให้เกิดการซื้อซ้ำ ดังรูป

ประโยชน์ของการทำ Digital Marketing

1.เพื่อเพิ่ม traffic ในการเข้าถึง website ของผู้บริโภค

2.เพื่อเพิ่มการยอมรับจากผู้บริโภค

3. เพื่อปรับปรุง ranking ของ SEO

4. เพื่อเพิ่มยอดขาย

Digital Marketing มีอะไรบ้าง ทำอย่างไร

ในส่วนนี้เราจะมาพูดถึงส่วนประกอบในการทำ Digital Marketing ซึ่งมีหลายวิธีมาก ที่ผู้อ่านสามารถเลือกเพื่อนำไปใช้ให้เหมาะสมกับการทำเว็บไซต์ของตนเอง ว่าวิธีไหนจะเหมาะสมและให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ซึ่งเรามาดูกันว่ามีวิธีไหนบ้าง แล้วแต่ละวิธีเป็นอย่างไร

1.Website Design

การออกแบบ UX/UI เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้ง่าย สะดวกต่อการใช้งาน

2.Search Engine Optimization (SEO)

การปรับแต่ง website เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการค้นหา ให้ website ที่ต้องการติดหน้าแรกของ search engine เช่น Google, Yahoo, Bing เป็นต้น  เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหา

องค์ประกอบของ SEO

Content : เนื้อหาใหม่มีความแตกต่างจากที่อื่น และมีความน่าสนใจ

Link : มีการ Link จาก website อื่นๆ อ้างอิงมายัง website ที่ทำ SEO

Design : การออกแบบ website ให้น่าสนใจ

3.Pay Per Click (PPC)

การทำโฆษณา website บน search engine โดยคิดค่าใช้จ่ายตามจำนวนครั้งที่ผู้เข้าชมคลิกผ่านโฆษณานั้นๆ

4.Social Media Marketing (SMM)

การทำโฆษณาผ่านช่องทาง Social Media เพื่อเข้าถึงผู้บริโภค และส่งผลให้การทำ SEO ประสิทธิภาพมากขึ้น โดยต้องคำนึงถึง

  • ใครคือกลุ่มเป้าหมายและเค้าสนใจอะไร
  • วัตถุประสงค์ที่จะทำแคมเปญผ่าน social media
  • กลยุทธ์ที่แตกต่าง
  • เทคโนโลยีหรือ channel ที่จะใช้

5.Email Marketing

                การทำโฆษณาผ่านทาง email โดยช่องทางนี้ จะต้องมี email ของกลุ่มเป้าหมายก่อน ซึ่งอาจจะเป็นลูกค้าที่สมัครเป็นสมาชิกแล้ว หรือเป็นผู้ชมที่ subscribe เข้ามา

6.Retargeting

การทำโฆษณาโดยการส่งย้ำโฆษณาของบริการ/สินค้า ไปให้แก่ลูกค้าที่เคยเข้ามาดูบริการ/สินค้านั้นๆ ผ่านทาง Banner Ads ของ website ต่างๆ

 


 

หากสนใจโซลูชัน สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ marketing@stream.co.th หรือโทร 02-679-2233

เขียนและเรียบเรียงโดย

กมลเนตร   วงศ์ปราโมทย์

Business Analyst

0 0 Continue Reading →

Google Search Console เครื่องมืออันทรงพลังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับเว็บไซต์ของเรา

สวัสดีครับทุกท่าน วันนี้เราจะมานำเสนอเครื่องมือที่ช่วยเทำให้เว็บไซต์ของคุณมีประสิทธิภาพมากขึ้น นั่นก็คือ Google Search Console ครับ ในบทก่อนหน้านี้เราได้นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับ Google Analytics ไปแล้วนะครับ ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการวิเคราะห์ข้อมูลการเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์  แต่สำหรับ Google Search Console หน้าที่ก็คล้ายๆ กันครับ ซึ่งจะทำหน้าที่วิเคราะห์เหมือนกัน แต่จะวิเคราะห์สิ่งที่แตกต่างออกไป ยกตัวอย่างเช่น  ความผิดพลาดของเว็บไซต์  และรวมไปถึงการเพิ่ม Sitemap, robots เพื่ออำนวยความสะดวกต่อ Google SEO อีกด้วยครับ

สำหรับ Google Search Console เปลี่ยนชื่อมาจาก Google Webmaster Tools เป็นหนึ่งในบริการของ Google ที่เปิดให้บริการฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด เหมาะสำหรับ Webmaster ของเว็บไซต์ที่มีหน้าที่ดูแลเว็บไซต์ ต้องการตรวจสอบความผิดพลาดของเว็บไซต์อยู่บ่อยๆ ซึ่งถ้าใช้ Google Search Console เข้ามาช่วยจัดการเรื่องนี้ จะทำให้เว็บไซต์ที่ดูแลอยู่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในบทนี้เราจะพูดถึงฟีเจอร์ของ Google Search Console เป็นหลักนะครับ สำหรับวิธีการติดตั้งสามารถคลิกดูที่ลิงค์นี้
 

 Google Search Console ใช้ทำอะไรได้บ้าง ?

 

  • รู้จักเว็บไซต์ของคุณในมุมมองของ Google

ลักษณะการมองเว็บไซต์ที่เรามองเห็น กับลักษณะการมองเว็บไซต์ที่ Google มองเห็น มีลักษณะต่างกันโดยสิ้นเชิง สำหรับสิ่งที่เรามองเห็นเป็นเพียงรูปลักษณ์ภายนอกของเว็บไซต์เท่านั้น ไม่ได้มองเห็นถึงโครงสร้างของเว็บไซต์  แต่ในทางกลับกันในมุมมองของ Google กลับมองเห็นถึงมุมมองของโครงสร้างเว็บไซต์เพื่อใช้ในการทำ SEO หากเว็บไซต์คุณได้รับการพัฒนาที่ดีจะทำให้ติด SEO เร็ว

  • เราสามารถตั้งค่าบางอย่างผ่าน Google Search Console ได้

เราสามารถตั้งค่าเกี่ยวกับ Structured Data ที่ใช้ใน Rich Snippet บางอย่างเช่น Rich Cards, Data Highlighter เป็นต้น
นอกจากนี้ยังสามารถตั้งค่า และตรวจสถานะของ Accelerated Mobile Pages, robots.txt, xml sitemap ได้อีกด้วย

  • ได้รับการแจ้งเตือนจาก Google

เมื่อเว็บไซต์ของคุณเกิดข้อผิดพลาดขึ้น คุณจะได้รับการแจ้งเตือนจาก Google ทันที เช่น Server มีปัญหาหน้าเว็บไซต์ไม่แสดง, จำนวนคนที่เข้ามายังเว็บไซต์มากกว่าปกติ, Malware เข้ามาในเว็บไซต์ เป็นต้น นอกจากนี้หากคุณทำผิดนโยบายของ Google และ Google จับได้คุณก็จะได้รับการแจ้งเตือน

 Dashboard

แผงควบคุม จะแสดง Report ทั้งหมดที่ให้บริการทั้งหมดใน Search Console ประกอบไปด้วย สถานะปัจจุบัน Analytics สำหรับการค้นหา แผนผังเว็บไซต์

ข้อความ

ในส่วนนี้จะเป็นพื้นที่แสดงความผิดพลาดที่เกิดขึ้นกับเว็บไซต์ของเรา ถ้าหากว่ามีข้อความแจ้งเตือนเกิดขึ้นในกล่องข้อความนี้ ให้รีบเช็คทันทีเพื่อดูรายละเอียดที่ Search Console แจ้งและทำการแก้ไขทันทีครับ

ลักษณะที่ปรากฎของการค้นหา

  • ข้อมูลที่มีโครงสร้าง

Google จะใช้ Structure Data ที่เรากำหนดไว้เพื่อการแสดงใน Rich Snippet จากพื้นที่การค้นหานั้น ๆ และ Error ต่างๆ กราฟนี้จะแสดงข้อมูลให้เราทราบว่าข้อมูลมีโครงสร้างกี่รายการ และรายการที่มีข้อผิดพลาดเท่าไหร่

  • การ์ดสื่อสมบูรณ์

จะแสดงการตั้งค่าของ Rich Cards ของเว็บไซต์คุณทั้งหมด เรามาทำความรู้จักกับ Rich Cards แบบต่าง ๆ กันดีกว่าครับ
> Rich Cards เป็น Rich Snippet ประเภทหนึ่งที่เพิ่มฟีเจอร์ให้รูปภาพสามารถเลื่อนซ้ายขวา (Carousel Feature) ได้
> Rich Cards มีผลใน Recipe, Movie ใน Google USA เท่านั้น ซึ่งยังไม่มีในประเทศไทย
> Rich Cards แสดงเฉพาะในมือถือเท่านั้น

ตัวอย่างรูปภาพของ Rich Cards

  • เครื่องมือเน้นข้อมูล

แสดงการค้นหาเว็บไซต์ของคุณเป็น Highlighter
Data Highlighter คือเครื่องมือใหม่ที่แจ้ง Structured Data ให้ Google ทราบ
โดยปกติใช้ Meta Data ใน HTML เพื่อแจ้ง Structured Data
Data Highlighter สามารถแจ้ง Structured Data โดยไม่ต้องแก้ไข Source Code
สำหรับคนที่เคยแก้ไข Meta Data เพื่อแจ้ง Structured Data แล้ว ก็ไม่ต้องตั้งใน Data Highlighter ซ้ำ

  • ข้อมูลที่มีโครงสร้าง

จะแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับ meta tag, title tag, description tag ทั้งหมดว่าถูกกำหนดไว้อย่างถูกต้องหรือไม่ เช่น กำหนดซํ้ากันทุกหน้าเลยแบบนี้อาจไม่ดีเท่าไหร่นัก เราควรนำข้อมูลนี้ไปเป็นข้อมูลสำหรับปรับแก้ไขโครงสร้างเว็บไซต์ต่อไป

  • Accelerated Mobile Pages

Accelerated Mobile Pates หรือเรียกสั้นๆ ว่า AMP จะทำหน้าที่ปรับปรุงเว็บไซต์ของคุณให้แสดงผลบนมือถือได้เร็วที่สุด และแสดง Error ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับ AMP ทั้งหมด

ปริมาณการค้นหา

สำหรับปริมาณการค้นหาจะแสดงผลการค้นหาที่มาจากแหล่งไหนบ้าง เช่น  แสดงจำนวนลิงก์จากภายนอกที่มายังเว็บไซต์ของคุณ, จำนวนโครงสร้างลิงก์ภายในเว็บไซต์ของคุณ, แสดงการลงโทษจากเจ้าหน้าที่ของ Google เป็นต้น จำแนกได้ดังนี้

  • Analytics สำหรับการค้นหา

Analytics ของ Google มีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากเนื่องจากเก็บข้อมูลที่สำคัญที่จำเป็นต่อการคิดและวิเคราะห์เป็นอย่างดี ได้แก่ การคลิกเข้ามาในเว็บไซต์, การแสดงผล, CRT, ตำแหน่ง ซึ่งจะเก็บเฉพาะของคนที่เข้ามาเว็บไซต์เท่านั้น นอกจากนี้ยังมีฟังก์ชั่นให้บริการเกี่ยวกับ
> ลิงก์ไปยังเว็บไซต์ของคุณ
> ลิงก์ภายใน
> การดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่
> การกำหนดเป้าหมายระหว่างประเทศ
> การใช้งานแบบอุปกรณ์เคลื่อนที่

ดัชนีของ Google

ตัวบ่งชี้ที่ Google ใช้ประเมินเว็บไซต์ของคุณ ว่าอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่

  • สถานะดัชนี

เป็นรายงานแสดงหน้าทั้งหมดที่มีในเว็บไซต์ มีหน้าไหนบ้างที่คุณตั้งค่า Robots ไม่ให้เข้าถึงหน้า Index หรือ Block โดย Robots หากทำการตรวจสอบแล้วพบข้อผิดพลาดควรทำการแก้ไขด่วน

  • สิ่งที่ไม่สามารถเข้าถึงได้

เป็นฟังก์ชั่นที่คอยเช็คว่าภายในเว็บไซต์ของเรา มีหน้าไหนบ้างที่ Robots ของ Google ไม่สามารถเข้าถึงได้ เราอาจเสียโอกาสไปได้  หากตรวจสอบพบว่ามีหน้าไหนบ้างที่โดนป้องกันไม่ให้เข้าถึง แต่มีเนื้อหาที่ต้องทำ SEO ควรทำการปรับแก้ไขไฟล์ robots.txt โดยด่วน

 การรวบรวมข้อมูล

ภายในเมนูนี้จะประกอบไปด้วยขั้นตอนการเพิ่มไฟล์ robots.txt เพื่ออนุญาตุให้ Google Robots เข้าถึงเนื้อหาภายในเว็บไซต์ รวมไปถึงการเพิ่มไฟล์ sitmap.xml เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับ Google Robots ในการเข้าถึงเนื้อหาภายในเว็บไซต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ถ้าตอนนี้ใครมีเว็บไซต์ที่ต้องดูแล รีบเช็คด่วนเลยครับว่าเว็บไซต์ของคุณถูกต้องตามหลักในมุมมองของ Google หรือป่าว  เพราะนอกจากจะเสียโอกาสที่ Google SEO จะค้นหาเจอโดยง่ายแล้ว ยังจะทำให้โครงสร้างของเว็บไซต์ของคุณไม่ได้เอื้ออำนวยต่อ SEO ของค่ายต่างๆ ด้วยนะครับ หากเราใช้ Google Search Console เข้ามาช่วยจัดการเรื่องนี้เราจะมีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพอันทรงพลังในการปรับแก้ไขเว็บไซต์ของเราให้ถูกต้องอยู่ตลอดเวลาครับ และความผิดพลาดที่เกิดกับเว็บไซต์ของเราจะลดลงไปหรือไม่มีเลยก็เป็นไปได้ครับ

ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ h1.go.th

หากสนใจโซลูชัน สามารถติดต่อได้ที่ marketing@stream.co.th หรือโทร 02-679-2233

0 0 Continue Reading →

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save