Skip to Content

Blog Archives

เมื่อสนามบินระดับท็อปอย่าง Frankfurt ใช้ซอฟแวร์ Magento Omnichannel

 

ในปี 2015 สนามบิน Frankfurt ประเทศเยอรมนี มีผู้โดยสารประมาณ 61 ล้านคน นับเป็นหนึ่งในสนามบินที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป และด้วยจำนวนผู้โดยสารที่มากมายนี้ ทำให้สนามบินมีจำนวนร้านค้าปลีก outlet มากกว่า 300 ร้าน สนามบิน Frankfurt จึงเป็นสวรรค์ของนักช้อปอีกด้วย

เมื่อบริษัท Fraport ที่ทำหน้าที่ขนส่งในสนามบิน ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการค้าเพื่อรองรับจำนวนผู้โดยสารมากกว่าล้านคน โดยการเพิ่มประสบการณ์มิติใหม่ให้แก่ผู้โดยสารตั้งแต่ลงเครื่อง เข้าต.ม. เข้าร้านอาหาร และทุกบริการภายในสนามบิน

บริษัท Fraport ต้องบริหารจัดการร้านค้าหลายร้อยร้าน จัดการ drop-ship บริหารจัดการคลังสินค้า รวมทั้งบริหารจัดการการขนส่งโดยเลือกใช้ Magento Commerce Platform ที่เป็นการเชื่อมต่อข้อมูลต่างๆ กับร้านค้าที่อยู่ภายในสนามบิน แต่การเชื่อมต่อกับระบบต่างๆ ของแต่ละร้านไม่ใช่เรื่องง่าย เมื่อนำระบบ Magento มาเชื่อมต่อกับซึ่งระบบทั้งหมดเหล่านั้น ทำให้เป็นระบบเดียวที่เป็นส่วนกลาง บางร้านใช้ระบบ ERP ของตัวเอง หรือถ้าหากบ้างร้านไม่มีระบบ ERP ก็จะใช้ ระบบ PIM ในการจัดการข้อมูลสินค้า

 

ในการเชื่อมต่อระบบที่แตกต่างกันหลายๆ ระบบ จะใช้ระบบ Enterprise Service Bus (ESB) เพื่อเป็นตัวกลางในการรับ-ส่งข้อมูลต่างๆ ระหว่างระบบ Magento และระบบร้านค้า นอกจากนี้ยังใช้ระบบ Order Management ของ Magento เพื่อบริหารจัดการคำสั่งซื้อ และเสริมด้วยระบบ Business Intelligence เพื่อช่วยในการวิเคราะห์

หลังจากขึ้นระบบทั้งหมดแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้คือผู้โดยสารที่มาสนามบิน Frankfurt ได้รับประสบการณ์ใหม่ พวกเขาสามารถซื้อสินค้าออนไลน์จากบนเครื่องบินหรือระหว่างทางที่มาสนามบิน และสามารถมารับของเองหรือเลือกจัดส่งสินค้าให้ไปรอตามจุดต่างๆ ทั้งในสนามบินหรือนอกสนามบินได้อีกด้วย

 

ทุกวันนี้สนามบิน Frankfurt กลายเป็นสนามบินที่ล้ำหน้ามากที่สุด ด้วยการทำ Omnichannel ที่เชื่อมต่อข้อมูลทั้งข้อมูลสินค้า สต๊อกสินค้าและคำสั่งซื้อของร้านค้าทั้งหมด ซึ่งลูกค้าสามารถซื้อได้ผ่าน website, kiosk , mobile app, หรือหน้าร้าน ทำให้ลูกค้าไม่ใช่แค่ผู้โดยสารเท่านั้น แต่ยังรวมถึงลูกค้าภายนอกที่ต้องการซื้อสินค้าจากสนามบินด้วย

ผลลัพธ์เหล่านี้พิสูจน์แล้วว่า Magento สามารถทำให้เรื่องยากในการบริหารจัดการธุรกิจ เป็นจริงขึ้นมาได้

หากสนใจซอฟแวร์ Magento สามารถติดต่อได้ที่ marketing@stream.co.th หรือโทร 02-679-2233 เราเป็น Magento Partner หนึ่งเดียวในประเทศไทย

 

ที่มา:https://magento.com/customers/fraport

แปลและเรียบเรียงโดย Kittiphat Dumrongprat

Business Analyst

 

 

0 0 Continue Reading →

Marketplace สำหรับ Magento2

          Marketplace คือ เว็บไซต์ที่เป็นสื่อกลางการติดต่อซื้อขายสินค้าและบริการ ซึ่งเปิดเป็นช่องทางให้ผู้ซื้อและผู้ขายเข้ามาซื้อขายสินค้า โดยแต่ละเว็บไซต์จะกำหนดกฎเกณฑ์สำหรับผู้ซื้อและผู้ขาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการชำระเงิน จัดส่งสินค้าของ การคิดค่า commission, fee

          หลังจากที่ Magento platform สำหรับการทำ ecommerce ระดับโลก ได้เปิดตัว Magento 2 ไปเมื่อกลางปี 2015 แล้วนั้น ณ ตอนนี้ก็ได้พัฒนามาจนถึงเวอร์ชั่น 2.1.6 ซึ่งใน Magento 2 นี้ก็ได้มีการพัฒนาหลายๆ อย่างที่เปลี่ยนแปลงไปจาก Magento 1 ไม่ว่าจะเป็นหน้าจอ Admin Panel หรือหน้า User Interface ต่างๆ รวมถึง Extension ของ Magento 2 ก็ต้องมีการพัฒนาขึ้นมาใหม่ทั้งหมด รวมถึงการทำ marketplace ด้วยเช่นกัน เรามารู้จักกับ Extension ที่จะทำให้เว็บไซต์จาก Magento 2 ของคุณกลายเป็น marketplace กันเลย มาดูว่ามีอะไรบ้าง

 

1. Magento2 Multiple Vendor Marketplace by Vnecom

– สามารถคำนวณค่า commission ให้กับ seller ได้ โดยกำหนดเป็นเปอร์เซ็นต์หรือกำหนดเป็น fix cost

– สามารถสร้างฟอร์มและกำหนด attribute สมัครสมาชิกสำหรับ seller ได้

– Seller จะมีหน้าเพื่อจัดการ product ของตัวเอง รวมถึงสามารถจัดการ order ของตัวเองได้

– ในหน้าจัดการ product seller สามารถกำหนดราคาของสินค้ารวมถึง special price และ tier price ได้

– รองรับการจัดการ credit สำหรับ seller

– สามารถกำหนดกลุ่มให้กับ seller ได้ สำหรับการจัดการค่า commission หรือสิทธิประโยชน์อื่นๆ

 

2. Magento2 Multi Vendor Marketplace by Webkul

– สามารถคำนวณค่า commission rate สำหรับ seller ได้

– สามารถกำหนด enable/disable ให้ seller จัดการ order ได้เอง

– มี Home Page เพื่อให้ seller สามารถแก้ไข shop URL ข้อมูลโปรไฟล์และ page review ของตนเองได้

– seller สามารถจัดการสินค้าได้เอง และสามารถกำหนดได้ว่า admin จะต้อง approve ก่อนหรือไม่ก็ได้

– Support การใช้งานหลายภาษา

– สำหรับ seller registration จะอยู่หน้าเดียวกับ customer registration โดยสามารถเลือกได้ว่าต้องการสมัครเป็น seller

 

3. Magento Multi Vendor Marketplace by Magebay

– หน้า Seller Dashboard สามารถดูภาพรวมรายละเอียดและข้อมูลการซื้อขายต่างๆ ได้ เช่น Credit, Total sales, Total Order

– Seller สามารถจัดการ order ได้เอง รวมไปถึงการเปลี่ยน order status, การ update tracking ID, รวมไปถึงการส่ง email หรือ invoice ให้กับลูกค้า

– Seller สามารถเพิ่มสินค้าได้เอง

– ระบบสามารถกำหนดค่า commission ได้โดยจะกำหนดเป็นแต่ละ seller หรือแยกตามตามรายการสินค้าหรือหมวดหมู่ของสินค้าได้

– seller แต่ละรายสามารถกำหนดวันหยุดของแต่ละร้านได้เอง แสดงข้อความเพื่อแจ้งให้ลูกค้าทราบ

– สามารถ Import/Export รายการสินค้าได้ โดยอยู่ในรูปแบบของ CSV

ในบทความนี้เรายกตัวอย่าง extension ที่จะช่วยให้เว็บไซต์ของคุณสามารถใช้งานแบบเป็นศูนย์กลางการซื้อขายระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายได้ โดย extension แต่ละแบบก็จะมีฟีเจอร์สำหรับการใช้งานที่เหมาะสมกับธุรกิจของคุณแตกต่างกันไป โดยหากสนใจสามารถติดต่อได้ที่ marketing@stream.co.th หรือโทร 02-679-2233


เขียนและเรียบเรียงโดย

กมลเนตร   วงศ์ปราโมทย์

Business Analyst

0 0 Continue Reading →

การตั้งค่า Shipping method ใน Magento 2

Magento 2 นั้น เราสามารถตั้งค่า rate การจัดส่งสินค้าได้ ทั้งหมด 4 แบบ

  1. Free Shipping
  2. Flat Rate
  3. Table Rates
  4. Dimensional Weight

 

อันแรกที่จะอธิบายคือการตั้งค่าแบบ Free Shipping เราสามาถตั้งค่าเพื่อดึงดูดลูกค้าของเราได้อย่างแน่นอน แล้วส่วนมากลูกค้าก็จะชอบเงื่อนไขแบบนี้มาก ตัวอย่างเช่น ถ้าเราซื้อสินค้าครบ  500 บาท ค่าจัดส่งสินค้าฟรี เป็นต้น

ขั้นตอนแรกในการตั้งค่า Free Shipping

  1. ไปที่ Stores -> Configuration-> Sale -> Shipping Methods -> Free Shipping
  2. ตั้งค่า Enable เป็น Yes
  • ตั้งชื่อ Title
  • หลังจากเพิ่ม Title แล้วก็ต้องใส่ Method Name เข้าไปด้วย
  • กำหนด Minimum Order Amount
  • ในกรณีที่เกิดข้อผิดพลาดเราสามารถกำหนดข้อความที่ต้องการแสดงได้ผ่านทาง Displayed Error Message
  • กำหนดพื้นที่การจัดส่งได้ว่าจะเลือกอนุญาตทุกประเทศเลยหรือเลือกเฉพาะบางประเทศ(All Allow Countries or Specific Countries)
  1. กรอกข้อมูลเสร็จแล้วให้ไปที่ Save Config

 

1

2

 

2. Flat Rate Shipping 

เจ้าของร้านค้าบนเว็บไซต์สามารถ fix ค่า ของการจัดส่งสินค้าในสินค้าแต่ละอันได้

ขั้นตอนในการกำหนดค่า Flat Rate Shipping

  1. ไปที่ Stores -> Configuration-> Sale -> Shipping Methods -> Flat Rate
  2. ตั้งค่า Enable เป็น Yes
  • กรอก Method name
  • Type ขึ้นอยู่กับตัวเจ้าของร้านเองเลยว่าจะกำหนด รูปแบบของ Type เป็น Per Order หรือ Per Item
  • ตั้งราคาที่เจ้าของร้านต้องการจะเก็บค่าขนส่งสินค้าจากลูกค้า
  • ในการคำนวนค่าธรรมเนียมค่าจัดส่งสินค้า Calculate Handing Fee สามารถกำหนดเป็นค่าคงที่ไปเลยก็ได้หรือจะกำหนดให้คิดเป็น Percent ก็ได้
  • ในกรณีที่เกิดข้อผิดพลาดเราสามารถกำหนดข้อความที่ต้องการแสดงได้ผ่านทาง Displayed Error Message
  • กำหนดพื้นที่การจัดส่งได้ว่าจะเลือกอนุญาตทุกประเทศเลยหรือเลือกเฉพาะบางประเทศ(All Allow Countries or Specific Countries)
  1. โดยกรอกข้อมูลตามช่องที่กำหนดให้มาแล้ว กด Save config

 

3

5

3.Table Rate Shipping

การคิดค่าขนส่งแบบ Table rate จะเป็นการคิดค่าขนส่งตามน้ำหนัก, ปลายทางที่ส่ง หรือ ราคาสินค้าที่ลูกค้าซื้อ

ขั้นตอนการตั้งค่า Table Rate Shipping

  1. ไปที่ Stores -> Configuration-> Sale -> Shipping Methods -> Table Rate
  2. ตั้งค่า Enable เป็น Yes
  • กรอก Method name ชื่อที่ตั้งนี้จะไปแสดงที่หน้า Checkout ด้วย
  • ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญนั้นก็คือเลือกคำนวณค่าจัดส่ง การคำนวณค่าจัดส่งจะถูกแบ่งเป็น 3 วิธีที่แตกต่างกัน
  • 1. Weight VS Destination
  • 2. Price VS Destination
  • 3. No. of Items VS Destination
  • ในการคำนวนค่าธรรมเนียมค่าจัดส่งสินค้า Calculate Handing Fee สามารถกำหนดเป็นค่าคงที่ไปเลยก็ได้หรือจะกำหนดให้คิดเป็น Percent ก็ได้
  • ในกรณีที่เกิดข้อผิดพลาดเราสามารถกำหนดข้อความที่ต้องการแสดงได้ผ่านทาง Displayed Error Message
  • กำหนดพื้นที่การจัดส่งได้ว่าจะเลือกอนุญาตทุกประเทศเลยหรือเลือกเฉพาะบางประเทศ(All Allow Countries or Specific Countries)
  1. โดยกรอกข้อมูลตามช่องที่กำหนดให้มาแล้ว กด Save config

 

7

8

 

4. Dimensional Weight

วิธีการนี้คือการคิดค่าขนส่งสินค้าตาม rate ของบริษัทส่งสินค้า เช่น FedEx ,DHL, UPS

สุดท้ายนี้ในการกำหนดค่าshipping method สำหรับร้านค้าออนไลน์ที่ใช้ magento 2 ผู้ใช้งานสามารถเลือกใช้ function ที่เหมาะสมกับธุรกิจของคุณได้ เพื่อเพิ่มยอดขายให้แก่ร้านค้าของคุณ ผู้เขียนได้ทดลองใช้ shipping method ระหว่าง magento 1 และ magento 2 ผู้เขียนได้เห็นว่ามีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยในเรื่องของ interface แต่โดยส่วนตัวผู้เขียนชอบ interface ของ magento 2 มากกว่า

Kanyarat Povorasin

0 0 Continue Reading →

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save