Marketplace คือ เว็บไซต์ที่เป็นสื่อกลางการติดต่อซื้อขายสินค้าและบริการ ซึ่งเปิดเป็นช่องทางให้ผู้ซื้อและผู้ขายเข้ามาซื้อขายสินค้า โดยแต่ละเว็บไซต์จะกำหนดกฎเกณฑ์สำหรับผู้ซื้อและผู้ขาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการชำระเงิน จัดส่งสินค้าของ การคิดค่า commission, fee

          หลังจากที่ Magento platform สำหรับการทำ ecommerce ระดับโลก ได้เปิดตัว Magento 2 ไปเมื่อกลางปี 2015 แล้วนั้น ณ ตอนนี้ก็ได้พัฒนามาจนถึงเวอร์ชั่น 2.1.6 ซึ่งใน Magento 2 นี้ก็ได้มีการพัฒนาหลายๆ อย่างที่เปลี่ยนแปลงไปจาก Magento 1 ไม่ว่าจะเป็นหน้าจอ Admin Panel หรือหน้า User Interface ต่างๆ รวมถึง Extension ของ Magento 2 ก็ต้องมีการพัฒนาขึ้นมาใหม่ทั้งหมด รวมถึงการทำ marketplace ด้วยเช่นกัน เรามารู้จักกับ Extension ที่จะทำให้เว็บไซต์จาก Magento 2 ของคุณกลายเป็น marketplace กันเลย มาดูว่ามีอะไรบ้าง

 

1. Magento2 Multiple Vendor Marketplace by Vnecom

– สามารถคำนวณค่า commission ให้กับ seller ได้ โดยกำหนดเป็นเปอร์เซ็นต์หรือกำหนดเป็น fix cost

– สามารถสร้างฟอร์มและกำหนด attribute สมัครสมาชิกสำหรับ seller ได้

– Seller จะมีหน้าเพื่อจัดการ product ของตัวเอง รวมถึงสามารถจัดการ order ของตัวเองได้

– ในหน้าจัดการ product seller สามารถกำหนดราคาของสินค้ารวมถึง special price และ tier price ได้

– รองรับการจัดการ credit สำหรับ seller

– สามารถกำหนดกลุ่มให้กับ seller ได้ สำหรับการจัดการค่า commission หรือสิทธิประโยชน์อื่นๆ

 

2. Magento2 Multi Vendor Marketplace by Webkul

– สามารถคำนวณค่า commission rate สำหรับ seller ได้

– สามารถกำหนด enable/disable ให้ seller จัดการ order ได้เอง

– มี Home Page เพื่อให้ seller สามารถแก้ไข shop URL ข้อมูลโปรไฟล์และ page review ของตนเองได้

– seller สามารถจัดการสินค้าได้เอง และสามารถกำหนดได้ว่า admin จะต้อง approve ก่อนหรือไม่ก็ได้

– Support การใช้งานหลายภาษา

– สำหรับ seller registration จะอยู่หน้าเดียวกับ customer registration โดยสามารถเลือกได้ว่าต้องการสมัครเป็น seller

 

3. Magento Multi Vendor Marketplace by Magebay

– หน้า Seller Dashboard สามารถดูภาพรวมรายละเอียดและข้อมูลการซื้อขายต่างๆ ได้ เช่น Credit, Total sales, Total Order

– Seller สามารถจัดการ order ได้เอง รวมไปถึงการเปลี่ยน order status, การ update tracking ID, รวมไปถึงการส่ง email หรือ invoice ให้กับลูกค้า

– Seller สามารถเพิ่มสินค้าได้เอง

– ระบบสามารถกำหนดค่า commission ได้โดยจะกำหนดเป็นแต่ละ seller หรือแยกตามตามรายการสินค้าหรือหมวดหมู่ของสินค้าได้

– seller แต่ละรายสามารถกำหนดวันหยุดของแต่ละร้านได้เอง แสดงข้อความเพื่อแจ้งให้ลูกค้าทราบ

– สามารถ Import/Export รายการสินค้าได้ โดยอยู่ในรูปแบบของ CSV

ในบทความนี้เรายกตัวอย่าง extension ที่จะช่วยให้เว็บไซต์ของคุณสามารถใช้งานแบบเป็นศูนย์กลางการซื้อขายระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายได้ โดย extension แต่ละแบบก็จะมีฟีเจอร์สำหรับการใช้งานที่เหมาะสมกับธุรกิจของคุณแตกต่างกันไป โดยหากสนใจสามารถติดต่อได้ที่ marketing@stream.co.th หรือโทร 02-679-2233


เขียนและเรียบเรียงโดย

กมลเนตร   วงศ์ปราโมทย์

Business Analyst