Skip to Content

Blog Archives

ทำ A/B Testing ด้วย Google Content Experiments

เวลาเราสร้าง page ของ website ขึ้นมา มีหลากหลาย design หรือ หลากหลาย content เราจะวัดผลได้ยังไงว่าแบบ ไหนดีกว่ากัน จะใช้ตัววัดอะไรดี Pageviews ?  Bounces Rate ? Session Duration ? ในบทความนี้เราจะลองลงมือทำ A/B Testing  แบบง่ายๆ ด้วย

Google Content Experiments ซึ่ง ฟรี  ไม่เสียเงิน มาเริ่มกันเลยครับ

ก่อนที่จะทำ A/B Testing นั้น ต้องทำสิ่งเหล่านี้ก่อน

1.สมัคร Google Analytics  ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย

2.นำ code Google Analytics ไปวางบน page website

มาเริ่มกันเลย

  1. Sing in เข้าไปที่ Google Analytics > https://analytics.google.com/analytics/web/
  2. จากนั้นไป search คำว่า “Experiments” ทางด้านบนซ้าย

3.กดปุ่ม Create Experiment เพื่อเริ่มทำ A/B Testing กัน

4.ในตัวอย่างนี้ผมจะ Test จำนวนผู้เข้าชมระหว่าง blog A กับ blog B ซึ่งมี Design ต่างกันและเนื้อหาต่างกัน

ใน step 1 ให้ใส่เรียงตามนี้

  • ชื่อของวัตถุประสงค์ที่เราจะ test
  • วัตถุประสงค์ของการเทส ครั้งนี้ ซึ่งจะมีค่าเริ่มต้นให้ 3 ค่า
    • Pageviews – จำนวนผู้ที่เยี่ยมชม
    • Bounces เป็นอัตราของผู้เยี่ยมชมที่เข้ามายังหน้าเว็บของเราโดยที่ไม่ได้คลิ๊กต่อไปที่ไหนเลย
    • Session Duration – เวลาที่ผู้เยี่ยมชม อยู่ในหน้า page นั้นๆ
  • กำหนดค่า traffic ไปที่ 100%

จากนั้นกดปุ่ม save

Step 2

ให้ใส่ URL หน้า page ที่เราต้องการเทส โดยที่หน้าหลัก จะเป็น Original Page ส่วนหน้าที่เป็นตัวแปร ให้ใส่ที่ Variant1 และหากต้องการเปรียบเทียบหน้าอื่นๆ กับ Original Page ก็สามารถเพิ่มได้

Step 3

กดปุ่ม Manually insert the code และนำ copy code ไปวางไว้ที่ข้างล่าง tag header บน html page ที่เป็น original page

เอาไปวางไว้ตรงข้างล่าง html

Step 4

ถ้านำ code ไปติดเรียบร้อยแล้ว จะผ่านดังรูป แต่หากยังมี error แสดงว่า ติด code ผิด หรือยังไม่มี code Google Analytics ติดไว้

กดปุ่ม Save เป็นอันจบพิธีการ set A/B test  แบบง่ายๆ

 

อันนี้เป็นตัวอย่างผลการ test ที่ run มาได้ประมาณ เกือบ 2 เดือนครับ


A/B Testing คืออะไร ดูได้จากบทความนี้เลยครับ

 

ยังไงก็ลองดูกันนะครับ  สุดท้าย Google Experiment สามารถทำท่ายากได้อีกหลายท่า แต่อาจจะต้องมีความรู้ทางด้าน coding เพื่อเพิ่มความซับซ้อนของการเทส

เขียนโดย Kittiphat Dumrongprat

Business Analyst

 

 

0 0 Continue Reading →

ทำความรู้จัก A/B Testing

A/B Testing คืออะไร

A/B Testing เป็นวิธีการเปรียบเทียบการออกแบบของ Web page ที่ออกแบบมาแตกต่างกัน เพื่อดูว่าแบบไหนมีประสิทธิภาพมากกว่ากัน โดยที่พิจารณาจาก conversion rate ซึ่งเว็บไซต์แต่ละประเภทจะมี conversion rate ที่แตกต่างกัน เช่น

1.E-Commerce Website อาจจะวัดจาก ผู้เข้าชมเว็บไซต์ที่ซื้อสินค้ากับผู้เข้าชมเว็บไซต์เฉยๆ

2.Saas web app อาจจะวัดจากผู้เข้าใช้ application ที่ลงทะเบียนใช้ trail version และเปลี่ยนมาเป็นจ่ายเงิน (paid version)

3.ข่าวหรือ media เว็บไซต์ อาจจะวัดจากผู้เข้าชมเว็บไซต์ที่คลิกโฆษณหรือกด subscriptions  กับผู้เข้าชมเว็บไซต์เฉยๆ

 

ทุกธุรกิจบนเว็บไซต์ต้องการที่จะเปลี่ยนจาก ผู้เข้าชมเว็บไซต์มาเป็นผู้ซื้อสินค้าหรือการกระทำแบบอื่นๆ ที่เจ้าของเว็บไซต์ต้องการ เรียกว่า Conversion rate ซึ่งสิ่งนี้เป็นตัววัดประสิทธิภาพของตัวแปร A, B ว่าแบบไหนที่เราออกแบบแล้วมีประสิทธิภาพมากกว่ากัน

แล้วเราจะ test ส่วนไหนของ website ได้บ้าง

ทุกองค์ประกอบของเว็บไซต์สามารถทำ A/B Test ได้ ได้แก่
1.Headlines
2.Sub headlines
3.Paragraph
4.Testimonials
5.Text Link
6.Action Button
7.Links
8.Images
9.Content
10.Social proof
11.Media mentions
12.Awards และ badges

ขั้นตอนการทำ A/B Testing
1.ศึกษาข้อมูลเว็บไซต์ โดยใช้ Google Analytics เพื่อหาปัญหา เช่น หน้า page ที่มี bounce rate สูงๆ คนที่เข้ามาเว็บไซต์หน้าไหนแล้ว ออกจากเว็บไปโดยไม่ดูหน้าอื่นต่อ เช่น ถ้าคนเข้ามาดูหน้า home page แล้ว ไม่มีคลิกไปที่อื่นต่อ หรือไม่คลิกที่รูปภาพไหนเลย แสดงว่า ควรจะทำ A/B test ที่หน้า home page ก่อน เพราะ bounce rate สูง

2.ตั้งสมมติฐาน ควรจะตั้งสมมติฐานที่ทำให้เพื่ม conversion rate เช่น รูปโปรโมชั่น ควรทำให้มีเนื้อหาดึงดูใจผู้ที่เข้ามาชม หรือ ปุ่มซื้อสินค้าเล็กเกินไป ไม่เด่นทำให้ผู้เข้าชมเว็บไม่เป็นที่สังเกตุ

3.ทดสอบสมมติฐาน โดยการสร้างตัวแปรที่สอดคล้องกับสมมติฐานจากข้อ 2 โดยเทียบกับ web page ปัจจุบัน เช่น ตัวแปร A เป็น web page ปัจจุบันที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง และตัวแปร B เป็น web page ที่มีรูปโปรโมชั่นที่มีขนาดใหญ่ขึ้น มีเนื้อหาดึงดูดให้เข้ามาคลิก

4.ดูผลลัพธ์จากการสร้างตัวแปร AB test วิเคราะห์ผลลัพธ์จากข้อ 3 ว่าตัวแปร B ที่เราสร้างรูปโปรโมชั่นใหม่ มีผู้เข้าชมเข้ามากดคลิก เพิ่มขึ้นขนาดไหน ถ้ามีคนคลิกเยอะแสดงว่า ควรที่จะปรับปรุงรูปโปรโมชั่นบนหน้า homepage เพื่อลด bounce rate และ เพิ่ม conversion rate ให้มากกขึ้น แต่ถ้า ไม่มีการเปลี่ยนแปลง แสดงว่ารูปโปรโมชั่นไม่ใช่สิ่งที่ควรปรับปรุง ควรจะกลับไปข้อ 2 เพื่อตั้งสมมติฐานใหม่และลองใหม่เพื่อหาสาเหตุปัญหาบน web page


 

บทความต่อไป เป็นการใช้ Google Experiment ทำ A/B Testing แบบ ฟรีๆ ไม่เสียค่าใช้จ่าย

 

หากสนใจที่จะเพิ่มยอดขายให้กับ E-Commerce  สามารถติดต่อได้ที่ฝ่ายขายของเรา marketing@stream.co.th เราเป็น Magento Partner หนึ่งเดียวในประเทศไทย

เขียนโดย Kittiphat Dumrongprat

Business Analyst

 

0 0 Continue Reading →

มาทำความรู้จักกับ Google Analytics(ตอนที่ 2 Reporting)

หลังจากที่เราติดตั้งโค๊ดติดตามให้กับเว็บไซต์ของเราไปแล้วในตอนที่ 1  หากยังไม่ได้อ่านแนะนำให้กลับไปอ่านก่อนนะครับ  ในบทนี้เราจะมาพูดถึงเกี่ยวกับการดูรายละเอียดของรายงานครับ ซึ่งค่อนข้างละเอียดมากเลยทีเดียว  สามารถนำไปวิเคราะห์ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างเช่น เชิงพัฒนาเว็บไซต์ให้เหมาะกับผู้ใช้งาน  การตลาด เป็นต้น  เห็นไหมครับว่า ข้อมูลเหล่านี้ค่อนข้างสำคัญและก็ได้มาโดยแสนง่ายดายผ่านทางบริการของ Google Analytics


Dashboard 
  • Private คือ Dashboard ที่แสดงรายงานที่เป็นส่วนตัวครับ  โดยสามารถแสดงรายงานได้มากกว่า 1  นั่นหมายความว่าแสดงได้หลาย Dashboard นั่นเองครับ และแต่ละ Dashboard เราก็สามารถกำหนดให้แสดงรายงาน หรือเพิ่ม Widget ที่แตกต่างกันได้ครับ โดย Widget default ที่เตรียมไว้ให้จะมี
    • New Users : จะแสดงรายงานสถิติยอดผู้ใช้งานใหม่ของเว็บไซต์ ในระเวลาที่ผ่านมาโดยจะแสดงแยกเป็นวัน แสดงผลเป็นกราฟครับ
    • Users : จะแสดงรายงานสถิติยอดผู้ใช้งานของเว็บไซต์ ทั้งที่เคยใช้ และเป็นผู้ใช้ใหม่
    • Sessions : จะแสดงรายงานสถิติ Session ที่ถูกส่งมาจาก ทวีป, ประเทศ, จังหวัด ใด ในการเข้ามาสู่เว็บไซต์ของเรา  อันนี้สามารถเช็คได้ว่าเป็นผู้ใช้งานจริงๆ หรือโดนเหล่า Hacker ยิงเว็บเรา สามารถหาวิธีป้องกันได้ครับ
    • Sessions by Browser : จะแสดงรายงานสถิติการใช้ Browser ของผู้ใช้งานครับ ว่านิยมใช้ค่ายไหนมากที่สุด ทำให้เราเอาข้อมูลมาเป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนการพัฒนาเว็บไซต์ให้รองรับกับการแสดงผลกับ Browser เหล่านั้นครับ
    • Average Session Duration and Pages/Session : จะแสดงรายงานสถิติระยะเวลาของ Session ที่เข้ามาใช้งานเว็บไซต์เราครับ สามารถคาดเดาได้ว่าผู้ใช้งานใช้เวลาอยู่ที่เว็บไซต์เรานานเท่าไหร่
    • Bounce Rate : จะแสดงรายงานสถิติอัตราการตีกลับ
    • Goal Completions : จะแสดงรายงานสถิติเป้าหมายที่สำเร็จ
    • Revenue : จะแสดงรายงานสถิติรายได้ที่เกิดขึ้น
      dashboard
  • New Dashboard  คือ ส่วนที่เราสามารถสร้าง Dashboard ใหม่ครับ  จะสามารถตั้งชื่อให้กับ Dashboard รวมไปถึงเลือก Widget ให้กับ Dashboard  ครับ สร้างได้เรื่อยๆ ไม่จำกัดครับ เหมาะสำหรับผู้ที่ให้อยากได้รายงานที่แตกต่างกันออกไปครับ

 

Shortcuts

ชื่อก็น่าจะสื่ออยู่แล้วนะครับ  สำหรับ Shortcuts  มันคือทางลัดครับที่เราสามารถเข้ามาดูรายงานทั้งหมด แต่จะแสดงให้สั้นลงเป็นตัวเลข ทำให้แสดงผลเบ็ดเสร็จในหน้าเดียวครับ ซึ่งจากเดิมจะแสดงเป็นกราฟอย่างละเอียด  ซึ่งผมก็คลิกเข้าหน้านี้เลยเพื่อมาดูตัวเลขที่เราสนใจ หากอยากดูเป็นแบบสถิติให้ละเอียดกว่านี้ค่อยกลับไปเลือกดูที่ Dashboard ครับ

shortcuts

Intelligence Events
  • Overview : กิจกรรมอัจฉริยะ เป็นรายงานสถิติเกี่ยวกับกิจกรรมที่เกิดขึ้นกับเว็บไซต์ของเราครับ ซึ่งจะประกอบไปด้วย กิจกรรมรายวัน กิจกรรมรายสัปดาห์ กิจกรรมรายเดือน โดยภายในรายงานจะแบ่งแสดงตาม Custom Alerts, Automatic Web Alerts, Automatic Adwords Alerts
  • Daily Events : กิจกรรมที่เกิดขึ้นรายวัน
  • Weekly Events : กิจจกรรมที่เกิดขึ้นรายสัปดาห์
  • Monthly Events : กิจกรรมที่เกิดขึ้นรายเดือน

intelligence

Real Time 

เป็นหนึ่งในฟังก์ชั่นที่เจ๋งมากสำหรับใครๆ ที่คาดหวังว่าจะต้องมีในระบบ Analytics และแน่นอนครับ Google Analytics มีฟังก์ชั่นนี้ด้วย  โดยจะแสดงผลเป็นแบบ Real-time ทำให้เราสามารถดูได้ว่า ในเวลานี้มีผู้ใช้งานเว็บไซต์เรากี่คน และแต่ละคนอยู่ในหน้าไหน เขากำลังใช้บริการอะไรบ้างกับเว็บไซต์ของเรา เช่น กำลังค้นหาสินค้าด้วยคีย์เวิร์ดนี้นะ สำหรับฟังก์ชั่นย่อยจะประกอบไปด้วย

  • Location : เป็นการดูตำแหน่งของผู้ใช้งานเว็บไซต์เรา บนโลกนี้แบบ Real-time ครับ ข้อมูลจะละเอียดมาก ซึ่งจะสามารถรู้ได้ว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด เช่น  ทวีป, ประเทศ, จังหวัด โดยจะแสดงเป็นแผนที่รูปภาพที่ชัดเจนมากขึ้น
  • Traffic Sources : เป็นรายงานที่แสดงให้เห็นว่า แหล่งที่มาของการเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์มาจากที่ไหน  บางที่อาจมาจากการค้นหาผ่านทาง Google SEO หรือ เปิดเข้ามาเว็บไซต์ผ่านทาง URL เว็บโดยตรง
  • Content : เป็นรายงานที่แสดงว่าในตอนนี้ผู้ใช้งาน Active อยู่ในหน้าไหน โดยระบบจะแสดงเป็นชื่อ URL ของเว็บไซต์
  • Events : เป็นรายงานที่บอกเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเว็บไซต์ โดยแบ่งแสดงตาม หมวดหมู่เหตุการณ์  การทำงานของเหตุการณ์  ผู้ใช้ที่ใช้งานอยู่  รวมไปถึงผู้ใช้ Active บนอุปกรณ์ชนิดใด เช่น Desktop, Mobile
  • Conventions

real-time

Audience 

เป็นรายงานสถิติเกี่ยวกับผู้เข้าชมเว็บไซต์โดยตรงซึ่งจะเก็บประวัติการเข้าใช้งานไว้อย่างละเอียดมาก ถูกแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ได้ ดังนี้

  • Active Users : ผู้ที่ใช้งานเว็บไซต์นี้อยู่ โดยจะสามารถเลือกดูได้ทั้ง 1 Day Active User, 7-Day Active Users, 30-Day Active Users

active-user

  • Cohort Analysis : การวิเคราะห์ตามการได้ข้อมูลมา จะแบ่งแยกแสดงข้อมูลแบบตารางซึ่งจะสามารถเปรียบเทียบกันได้ของเดือนนั้นๆ

Cohort Analysis

  • User Explorer : โปรแกรมสำรวจผู้ใช้ จะแสดงข้อมูลรายละเอียดผู้ใช้งานอย่างละเอียดซึ่งจะประกอบไปด้วย Client ID, Session, Avg Session, Bounce Rate, Revenue นอกจากนั้นยังสามารถเลือกคลิกเข้าไปอ่านรายละเอียดย่อยของ Client ID นั้นๆ ได้อีกด้วย

user-explorer

  • Demographics : ข้อมูลประชากร
  • Interests : ความสนใจ
  • Geo : ภูมิศาสตร์
  • Behaviour : พฤติกรรม
  • Technology : โทคโนโลยี
  • Mobile : มือถือ
  • Custom : ที่เรากำหนด
  • Benchmarking : การเปรียบเทียบ
  • User Flow : ลำดับการเข้าใช้งานของผู้ใช้งาน
Acquisition 

เป็นรายงานเกี่ยวกับ Action ของผู้ใช้งานทั้งหมด โดยจะแยกแสดงแบ่งตาม การเข้าชมทั้งหมด, AdWords, Search Console, Social, Campaign  สำหรับจุดเด่นที่สำคัญจะบอกช่องทางที่ผู้ใช้งานเข้ามายังเว็บไซต์ของเรา ซึ่งมาจาก Organic Search, Direct, Social, Referral

acquisition

Behaviour 

พฤติกรรมของผู้ใช้งาน อันนี้ก็พูดได้ว่าเป็นข้อมูลที่สำคัญอีกตัวหนึ่งเลยทีเดียว  เพราะว่าเราทำเว็บไซต์ขึ้นมาก็มีความจำเป็นที่จะต้องอยากทราบพฤติกรรมของผู้ใช้ครับ  เพราะมีประโยชน์ต่อการออกแบบเว็บไซต์ให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ ทำให้โอกาสประสบผลสำเร็จมีมากขึ้น สำหรับฟังก์ชั่นที่มีอยู่ในหมวดนี้ประกอบไปด้วย  Behaviour Flow, Site Content, Site Speed, Site Search, Events, Publisher, Experiments, In-Page Analytics

behaviour

 

เห็นไหมครับว่า Google Analytics  มันสามารถทำอะไรได้เยอะมาก ที่กล่าวมานี้ผมไม่ได้ยกตัวอย่างหรือนำภาพมาแสดงให้เห็นทั้งหมด แต่ยิบยกมาเพียงบางส่วนเท่านั้น ส่วนข้อมูลที่อยู่บนภาพนั้นเป็นของเว็บไซต์อะไร ผมขอไม่กล่าวถึงนะครับ เอาเป็นว่าข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลจริงๆ ไม่ได้ทำขึ้นแต่อย่างใดครับ  เมื่อเราเรียนรู้การติดตั้ง ในตอนที่ 1 จนมาถึงตอนที่ 2 ซึ่งก็พูดถึงความเจ๋งของรายงานซึ่งแบ่งออกหลายหมวดหมู่มากๆ ซึ่งล้วนแล้วมีความจำเป็นต่อการพัฒนาเว็บไซต์ และทำการตลาดครับ หรือจะจัดเก็บไว้ดูเล่นแบบมีความสุขไปวันๆ ก็ได้นะครับ

แต่สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนจากการที่ผมใช้ Google Analytics ที่ผ่านมา  มันยังไม่ได้ตอบโจทย์ได้ทุกส่วน เพราะว่า Google Analytics จะจัดเก็บข้อมูลแบบภาพรวมแบบทั้งหน้าหรือทั้งเว็บไซต์ต่อการเรียกใช้งาน 1 ครั้ง  หากเราอยากได้ข้อมูลการใช้งานเว็บแบบเจาะจง แบบละเอียดกว่านี้ เช่น ส่วนใหญ่ผู้ใช้กดปุ่มไหนมากที่สุด หากกดปุ่มนั้นแล้วให้มี Action เกี่ยวกับการเก็บประวัติอย่างไรบ้าง ซึ่งในตอนนี้ Google Analytics ก็ยังไม่มี Features แบบนั้น ซึ่งไม่ตอบโจทย์กลุ่มคนที่พัฒนาเรื่อง UX,UI กันอยู่ดีครับ  เดี่ยวบทความต่อไปจะแนะนำเครื่องมืออีกตัวหนึ่งครับที่ เก็บประวัติการเข้าชมเว็บไซต์หรือแอพิเคชั่น ซึ่งใช้ Concept ที่แตกต่างไปจาก Google Analytics แบบสุดขั้วเลยครับ ซึ่งตอบโจทย์เหล่า UX,UI เป็นอย่างดีครับ  สำหรับวันนี้ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านนะครับ ขอบคุณครับ

0 9 Continue Reading →

มาทำความรู้จักกับ Google Analytics (ตอนที่ 1 Register & Install)

Hero-Circle_74579c96-7aa5-41b1-8742-99148b31f745_2048x2048

 

หากพูดถึงบริการของ Google  ซึ่งมีอยู่มากมายครับ มีทั้งฟรีและเสียตังค์  สำหรับเนื้อหาในบทนี้จะขอพูดเกี่ยวกับบริการของ Google ที่ชื่อว่า  Google Analytics  สำหรับคนที่พัฒนาเว็บไซต์จะรู้จักบริการตัวนี้เป็นอย่างดี  เพราะว่ามันเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลแบบละเอียดได้เป็นอย่างดี เกี่ยวกับการเข้ามาใช้งานเว็บไซต์ของเรา ทำให้เราสามารถติดตามผู้ใช้งานได้ง่ายขึ้น


เราจะใช้งานบริการ Google analytics ได้อย่างไร ?

ก่อนอื่นต้องมี Email Account ของ Gmail กันก่อนครับ  หากใครยังไม่มีก็รีบๆ สมัครกันก่อนนะครับ  จากนั้นไปที่เว็บไซต์นี้ได้เลยครับ  คลิกเพื่อไปยัง Google analytics  หลังจากที่เรา Sign in เข้าสู่ระบบและมี Account เป็นของตัวเองแล้ว  เราจะมีขั้นตอนที่จะต้องปฏิบัติตามอยู่ 3 ขั้นตอนดังนี้ครับ


เริ่มสมัครใช้งาน Google Analytics

การสมัครบัญชีผู้ใช้งาน จะสามารถติดตามได้ 2 แบบได้แก่  เว็บไซต์  และ แอพบนอุปกรณ์เคลื่อนที่  โดยการกรอกรายละเอียดจะแตกต่างกันออกไป

  • เว็บไซต์  ผู้สมัครจะต้องกรอกรายละเอียดดังนี้
    • ชื่อบัญชีผู้ใช้งาน ให้ใส่เป็นชื่อองค์กรของคุณครับ
    • ชื่อเว็บไซต์
    • เลือกหมวดหมู่ของเว็บไซต์
    • URL ของเว็บไซต์ โดยมีให้เลือกทั้ง http, https
    • เขตเวลาการรายงาน ผมเลือกเป็น ไทย : (GMT+07:00) กรุงเทพ
    • การตั้งค่าการเปิดเผยข้อมูล  ตรงนี้ระบบจะเลือกไว้ให้อยู่แล้วครับ หากผู้ใช้งานไม่ต้องการบริการเพิ่มเติมก็สามารถเลือกออกก็ได้ครับ
    • จากนั้นกดปุ่ม รับรหัสการติดตามครับ โดย Google จะให้เราอ่านเงื่อนไขให้การใช้บริการที่มีบอกไว้อย่างละเอียดครับ เมื่ออ่านครบแล้วก็กดยินยอมเงื่อนไขไปครับ ประมาณ 16 เงื่อนไขแล้วระบบจะเข้าสู่เพจ  ผู้ดูแลระบบเพื่อตั้งค่าต่อไป

 

ติดตั้ง โค๊ดติดตาม อย่างถูกวิธีให้กับแอพิเคชั่นของคุณ

สำหรับโค๊ดติดตามที่ Google Analytics  ออกให้จะใช้เชื่อมต่อกันระหว่าง Google Analytics และ แอพิเคชั่น โดยผู้พัฒนาจะต้องนำโค๊ดติดตามไปติดตั้งทุกๆ หน้าของแอพิเคชั่น หรือเว็บไซต์ จากนั้น Google Analytics ก็สามารถตามเก็บข้อมูลจากเว็บไซต์ของเราได้แล้วครับ

  • JavaScript :  อันนี้จะเป็น script ที่เราสามารถ copy ไปติดตั้งที่ เพจของแอพิเคชั่นหรือเว็บไซต์ได้เลยครับ

บริการอื่นๆ ที่ Google เตรียมไว้ให้ และสามารถลิงค์เข้ามาใช้งานได้เลย !
  • Google AdWords
      • AdSense ช่วยคุณสร้างรายได้ด้วยการแสดงโฆษณาที่เกี่ยวข้องกับผู้ชมของคุณบนเว็บไซต์ของคุณเอง เชื่อมโยงความสัมพันธ์เมตริกหลักๆ ของ AdSense อย่าง eCPM กับการแสดงหน่วย โดยใช้ข้อมูลเพิ่มเติมจาก Analytics

     

  • Google AdSense
      • AdWords คือโปรแกรมโฆษณาออนไลน์ที่ช่วยให้คุณเข้าถึงลูกค้าและทำให้ธุรกิจเติบโตขึ้น ปรับปรุงแคมเปญโฆษณาของคุณและวิเคราะห์การเดินทางของลูกค้าตลอดทั้งเส้นทาง ตั้งแต่การคลิกโฆษณาไปจนถึงการทำ Conversion

     

  • Google Ad Exchange
      • Ad Exchange ช่วยคุณสร้างรายได้ด้วยการแสดงโฆษณาที่เกี่ยวข้องกับผู้ชมบนเว็บไซต์ของคุณเอง เชื่อมโยงเมตริก Ad Exchange ที่สำคัญ เช่น eCPM และการแสดงผลหน่วย กับข้อมูลเพิ่มเติมจาก Analytics

     

  • BitQuery
    • Google BigQuery เป็นเครื่องมือจาก Google Developers ที่ทำให้สามารถทำการสืบค้นในชุดข้อมูลขนาดใหญ่ได้อย่างรวดเร็วเป็นพิเศษ คุณสามารถส่งออกข้อมูล Session และ Hit จากบัญชี Google Analytics Premium ไปยัง Google BigQuery เพื่อที่จะเรียกใช้การสืบค้นในข้อมูล Analytics ทั้งหมดของคุณได้

     

  • Search Console
      • Search Console สามารถช่วยให้คุณเข้าใจว่าผู้ใช้พบเว็บไซต์ของคุณผ่านการค้นหาของ Google ได้อย่างไร ค้นหาวิธีที่จะดึงดูดความสนใจมายังเว็บไซต์มากขึ้นและจัดลำดับความสำคัญของ งานพัฒนาซอฟต์แวร์

     

    สำหรับตอนที่ 1 เราได้เรียนรู้การสมัครและการติดตั้งโค๊ดติดตามให้กับเว็บไซต์ไปแล้วครับ ทีนี้ Google Analytics ก็เข้าไปเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานของ User ได้แล้วครับ เมื่อ User เข้าไปใช้งานเว็บไซต์เราและเปิดไปแต่หน้าเพจ  Script ที่ถูกติดตั้งไว้แต่ละหน้าก็จะส่งข้อมูลมาเก็บไว้ที่ Google Analytics ครับ  และ Admin สามารถมาดูรายงานนั้นได้ภายหลังซึ่งได้เลยว่าละเอียดมาก แต่ต้องตามไปอ่านในบทความตอนที่ 2 นะครับ สำหรับวันนี้พอแค่นี้ก่อนครับ  ขอบคุณมากนะครับสำหรับการเข้ามาอ่าน 🙂

 

 

0 1 Continue Reading →

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save