Skip to Content

Blog Archives

Global-Active Device ปกป้องข้อมูลระดับองค์กร ลดทอนข้อจำกัดด้าน Data Recovery

เมื่อก่อนการทำ Data Recovery จะต้องคอยกังวลเรื่องการประเมินข้อมูลใหม่ หรือข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงจะสูญหายไปมากเพียงใด เนื่องจากยังไม่ได้สำรองข้อมูล (Recovery Point Objective: RPO) ไหนจะเรื่องระยะเวลาที่ใช้ในการดำเนินการทำงานต่อ (Recovery Time Objective: RTO) แต่ในตอนนี้ ข้อจำกัดเหล่านั้นจะหมดไป

ด้วยเทคโนโลยีใหม่จาก Hitachi Vantara ซึ่งสามารถทำให้ RPO และ RTO เป็นศูนย์ เพราะคุณสมบัติ Global-Active Device (GAD) ที่มากับอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลตระกูล G F E และ 5000 Series ซึ่งอยู่ภายใต้ Product-Line Family ที่เรียกว่า Virtual Storage Platform (VSP) แล้ว Global-Active Device (GAD) คืออะไร

Global-Active Device (GAD) เป็นอีกหนึ่งความสามารถของอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลตระกูล VSP ที่สามารถสร้างเครื่องจัดเก็บข้อมูลเสมือน (Virtualize Storage Machine) ขึ้นมา โดยที่เครื่องจัดเก็บข้อมูลเสมือนจะทำการจำลองอาร์เรย์ (Array) สำหรับจัดเก็บข้อมูลของอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล VSP สองชุดแยกออกจากกัน และทำให้ปรากฏเป็นอาร์เรย์หน่วยเก็บข้อมูลเดียวสำหรับเซิร์ฟเวอร์โฮสต์เดี่ยว (Host Server) หรือคลัสเตอร์ของเซิร์ฟเวอร์โฮสต์ (Cluster of Host Servers)

นอกจากนี้ GAD ยังมีความสามารถทำให้ระบบจัดเก็บข้อมูลหลัก (Primary Storage) และระบบจัดเก็บข้อมูลรอง (Secondary Storage) ใช้ข้อมูลจริงของระบบจัดเก็บข้อมูลหลักได้ และไดรฟ์ข้อมูลหลักและรองของอุปกรณ์ที่ใช้งานคุณสมบัติ Global-Active จะได้รับหมายเลข LDEV เสมือนเดียวกันในเครื่องจัดเก็บข้อมูลเสมือน สิ่งนี้ทำให้โฮสต์สามารถดู Volume คู่เป็น Volume เดียวบนระบบจัดเก็บข้อมูลเดียว และทั้งสอง Volume นั้นจะได้รับข้อมูลเดียวกันจาก Host

เมื่อการเขียนข้อมูลเสร็จสิ้นใน Volume ใดก็ตาม ข้อมูลจะถูกจำลอง (Replicate) ไปยัง Volume อีกคู่หนึ่งอย่างต่อเนื่องก่อนที่การเขียนจะเสร็จสิ้น ซึ่งช่วยให้ไดรฟ์ข้อมูล Sync กันตลอดเวลา และทำให้มั่นใจได้ว่า RPO และ RTO เป็นศูนย์ในกรณีที่ระบบจัดเก็บข้อมูลหรือไซต์ล้มเหลว

เครื่องจัดเก็บข้อมูลเสมือนสามารถขยายไปยังระบบจัดเก็บข้อมูลที่แยกจากกันด้วยระยะทางไกลสูงสุดถึง 500 กิโลเมตร และด้วยคุณสมบัติของ GAD  ทำให้เหมาะกับการทำงานที่ต้องการความ Non-disruptive, High Availability (HA), Disaster Recovery (DR) หรือการบริการย้ายศูนย์ข้อมูลอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้การเคลื่อนย้ายของหน่วยเก็บข้อมูลเครื่องภายใต้สภาพแวดล้อมการจัดเก็บข้อมูลสำหรับการทำ Load-Balance หรือการบำรุงรักษาทั่วไปก็เป็นเรื่องที่ง่ายและไม่กระทบต่อตัวอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล

 

ข้อดีจากการมี Global-Active Device (GAD)

     Global-Active Device (GAD) ของ Hitachi Vantara เป็นผู้นำด้านการใช้งานในรูปแบบการทำงาน Active-Active ที่มาพร้อมกับ ความเรียบง่ายในการใช้งาน (Simplicity) ความสามารถในการขยาย (Scalability) และ ผลตอบแทนการลงทุน (Return on Investment (ROI)) ที่คุ้มค่าตอบโจทย์ทุกธุรกิจในยุคปัจจุบัน

     1. ความเรียบง่าย (Simplicity) เนื่องจาก GAD เป็นหนึ่งในความสามารถการจำลองเสมือนของอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่อยู่ภายใต้ระบบบริหารจัดการ Storage Virtualization Operating System RF (SVOS RF) ของ Hitachi จึงไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เพิ่มเติมหรือซอฟต์แวร์เพิ่มเติมสำหรับเซิร์ฟเวอร์โฮสต์ (Host Server) หรือเครื่องเสมือน (Virtual Machine)

     2. ความสามารถในการขยาย (Scalability) Hitachi GAD ให้การประมวลผลข้อมูลแบบ Active-Active อย่างแท้จริงทั่วทั้งอาร์เรย์จัดเก็บข้อมูล ซึ่งขยายขอบเขตเกินกว่าการใช้งานในผลิตภัณฑ์ยี่ห้ออื่นๆ ที่มีเพียงอาร์เรย์จัดเก็บข้อมูลเดียวเท่านั้นที่ทำงานอยู่ ในขณะที่อีกอาร์เรย์หนึ่งใช้สำหรับสแตนด์บาย (Standby) และ Controller ในอาร์เรย์จัดเก็บข้อมูลบนอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลตระกูล VSP แต่ละอันยังมีคุณสมบัติ Active-Active ซึ่งทำให้เราขยายประสิทธิภาพได้ดีกว่า Controller ของผู้จำหน่ายรายอื่นที่เป็น Active/Passive หรือ ALUA (Asymmetric Logical Unit Access)

     3. ผลตอบแทนการลงทุน (Return on Investment: ROI) ด้วยคุณสมบัติของอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลตระกูล VSP ที่มีความสามารถในการจำลองพื้นที่จัดเก็บข้อมูลภายนอกเสมือนและสร้างเครื่องจัดเก็บข้อมูลเสมือน จากการนำอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลตระกูล VSP ไปครอบอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลเดิมที่คุณมีอยู่

คุณจะสามารถจำลองพื้นที่จัดเก็บข้อมูลหลังอาร์เรย์ VSP และสร้างเครื่องจัดเก็บข้อมูลเสมือนได้ ทั้งนี้อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล VSP ในกรณีนี้ไม่ต้องการพื้นที่ความจุแต่อย่างใด เนื่องจากพื้นที่ความจุทั้งหมดสามารถมาจากอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลของบุคคลที่สามหรือของเดิมที่มีอยู่ (Third Party Storage System) อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล VSP ทั้งหมด ตั้งแต่ระดับกลางไป (Mid-Range) จนถึงระดับไฮเอนด์ (High-End Enterprise) มาพร้อมคุณสมบัติ GAD ดังนั้นคุณไม่จำเป็นเสียค่าใช้จ่ายกับการต้องมีโซลูชันหรือเครื่องมือบริหารจัดการเพิ่มเติม และไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์หรือซอฟต์แวร์โฮสต์เพิ่มเติมเพื่อรองรับ GAD

 

Scenario ที่น่าสนใจกับการใช้งาน GAD บนอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลของ Hitachi Vantara

  1. Fault-tolerant storage infrastructure

กรณีเกิด Site ล้มเหลวทำให้ Server ไม่สามารถเข้าถึง Volume ที่อยู่ใน GAD Pair การอ่านและเขียน I/O ยังคงสามารถดำเนินการต่อไปใน Pair Volume ที่อยู่ในระบบจัดเก็บข้อมูลอื่นอีก Site นึง ทำให้เกิด I/O ของ Server อย่างต่อเนื่องกับ Volume ข้อมูล

 

  1. Failover clustering without storage impact

กรณีที่ Server Cluster มีการใช้ GAD อยู่ การ Failover และ Failback จะเป็นหน้าที่ของ Software Cluster โดยที่ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่อยู่ใน GAD Pair ไม่ต้องทำการระงับการใช้งานหรือต้อง Sync การทำงานกันใหม่

 

  1. Server load balancing without storage impact

 

เมื่อมีการโหลด I/O บนเครื่องจัดเก็บข้อมูลเสมือนที่ไซต์หลักเยอะมากๆ การใช้งาน GAD จะช่วยให้สามารถโยกย้ายเครื่องเสมือน (Virtual Machine (VM)) ไปยังเซิร์ฟเวอร์ที่จับคู่โดยไม่ต้องดำเนินการใด ๆ บนระบบจัดเก็บข้อมูล ดังที่แสดงในตัวอย่างรูปด้านขวา เครื่องเสมือน VM3 จากเซิร์ฟเวอร์ไซต์หลักจะถูกย้ายไปยังเซิร์ฟเวอร์ไซต์รอง เนื่องจาก Volume ข้อมูลหลักและรองของ GAD มีข้อมูลเดียวกัน จึงไม่จำเป็นต้องย้ายข้อมูลใดๆ ระหว่างอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล

สำหรับผู้ที่สนใจดูตัวอย่างการทำ GAD ของจริง จากอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลของ Hitachi Vantara สามารถติดต่อสตรีมฯ ได้ครับ

พิเศษสุด สำหรับผู้ติดต่อเข้ามา 5 รายแรก รับการปรึกษาและประเมินการใช้งานระบบของท่านจากทีมงานผู้เชี่ยวชาญของ Stream และ Hitachi Vantara มูลค่า 50,000 บาท ฟรีทันที

สอบถามข้อมูลติดต่อ

 

เขียนและเรียบเรียงโดย Wanit Treeranurat

0 0 Continue Reading →

เข้าใจ Windows Server License ง่ายนิดเดียว…

สวัสดีครับคุณผู้อ่านสายไอที ทุก ๆ ท่าน ผมเชื่อว่าหลาย ๆ ท่านคงเคยสับสนกับการคิด Licensed ของ Windows Server มาไม่มากก็น้อย ซึ่งแน่นอนว่าส่วนใหญ่คงจะให้ Partner หรือ Vendor ช่วยในการคิดและคำนวณ Licenses ที่ถูกต้อง

อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าหลาย ๆ ท่านที่เข้ามาอ่านในวันนี้อยากจะเข้าใจมันจริง ๆ ใช่ไหมครับ เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องที่จำเป็นสำหรับ IT Manager หรือ Purchasing Manager ครับ วันนี้จึงจะขอมาอัพเดทประเภทของ License และวิธีการคิด Licensed ของ Windows Server พร้อมยกตัวอย่างการใช้งานบน VMware ให้ทุกท่านเห็นภาพง่าย ๆ กันครับ

 

วิธีการคิด Licensed Microsoft Window Server Standard 2016/2019

1. ก่อนอื่นเรามารู้จัก SKUs การคิด Licenses ของ Microsoft Windows Server กันก่อนครับ ซึ่งจะมีทั้งหมดแค่สองแบบเท่านั้น ฟังไม่ผิดครับ มี 2 แบบจริงๆ คือแบบ 2 Core-Packs และแบบ 16 Core-Packs

 

2. Physical Server หรือ ESXi Host 1 เครื่องจะต้องซื้อขั้นต่ำ 16 Core Licensed หรือ 1 Processor (CPU) ต้องมีอย่างน้อย 8 Core Licensed (ถ้าเครื่องมี 1 CPU 8 Core ก็ต้องซื้อขั้นต่ำ 16 Core License)

 

3. ถ้าจำนวน Core ทั้ง 2 CPU รวมกันเกิน 16 Core ก็ต้องซื้อเพิ่มให้ครบเท่ากับจำนวน Core รวมทั้งหมด เช่น ถ้ามี 2 CPU และมี CPU ละ 10 Core จะต้องซื้อทั้งหมด 20 Core Licensed

 

4. ถ้ามี 3 หรือ 4 CPU ละ คิดยังไง CPU ที่เพิ่มขึ้นมาจะคิดเหมือนกับข้อ 1 ครับ คือ 1 Processor(CPU) ต้องมีอย่างน้อย 8 Core Licensed เช่น ถ้ามี 4 CPU และมี CPU ละ 4 Core จะต้องซื้อทั้งหมด 32 License (จะซื้อ 16 License ไม่ได้เพราะ ขั้นต่ำต่อ 1 CPU คือ 8 Core Licensed ครับ) แต่ถ้ามี CPU ละ 10 Core ก็ต้องซื้อให้ครอบคุลมทั้งหมด คือ 40 Core Licensed ครับ

 

5. ยกตัวอย่างเพิ่มเติม

a. มี 1 CPU 8 Core ต้องซื้อ 16 Core Licensed (ใช้ 16 Core-Packs 1 License จบ!!)

b. มี 1 CPU 20 Core ต้องซื้อ 20 Core Licensed (ใช้ 16 Core-Packs x 1 License + 2 Core-Packs x 2 License หรือ จะใช้ 2 Core-Packs 10 License ก็ได้ไม่ว่ากันครับ แต่แนะนำ แบบ 2-Core-Packs จะง่ายสุดเพราะแค่ หาร 2 !!!)

c. มี 2 CPU 4+4 Core ต้องซื้อ 16 Core Licensed (ใช้ 16 Core-Packs 1 License จบ!!)

d. มี 2 CPU 20+20 Core ต้องซื้อ 40 Core Licensed  (ใช้ 2 Core-Packs 20 License จบ!!)

e. มี 4 CPU 4+4+4+4 Core ต้องซื้อ 32 Core Licensed (ใช้ 2 Core-Packs 16 License จบ!!)

f. มี 4 CPU 20+20+20+20 Core ต้องซื้อ 80 Core Licensed  (ใช้ 2Core-Packs 40 License จบ!!)

 

แบบ Core Licensed ผ่านไปแล้วไม่ยากใช่ไหมหละครับ..ที่นี้มาถึงจุดที่ทุกคนบ่นเป็นเสียงเดียวกันว่าปวดหัว หรือ บอกว่าเขี้ยวจริงๆ ก็คือ การคิด Virtual Machine (VM) ที่จะใช้งาน

1. จากวิธีการคิด Core Licensed ข้างบน เมื่อคิดครบถ้วนถูกต้องแล้ว ขอย้ำว่าครบถ้วนและถูกต้องแล้วนะครับ คุณจะมีสิทธิใช้ Virtual Machine (VM) ได้สุงสุด 2 VM ต่อ 1 Physical Server ที่คุณคิด Licensed เท่านั้น

 

2. ถ้าต้องการใช้มากกว่า 2 VM และมี ESXi Cluster ละจะคิดยังไง ??? เพื่อให้เห็นภาพขอยกตัวอย่างดังนี้ครับ

จากรูป มี ESXi Cluster ทั้งหมด 3 Hosts แต่ละ Hosts มี CPU ละ 8 Core 2 CPU และมี VMs แต่ละเครื่อง 4 VMs

วิธีการคิด License ที่ถูกต้องเราจะไม่คิดแยกตามจำวน VMs แต่ละเครื่อง เพราะว่า… หากมีการทำ Cluster จะเกิดกรณีการทำ vMotion หรือ DRS ข้ามไปมาระหว่าง Hosts ได้ กล่าวคือการคิดแค่จำนวน VMs บน Hosts เดียวนั้นจะไม่ครอบคลุมถึงการทำ vMotion หรือ DRS ได้

เพราะฉะนั้น !!! จับเอา VM ทั้งหมดมารวมกันแล้วให้คิด License ตามจำนวนสุงสุดที่ได้ ยกตัวอย่างจากรูปข้างบนนะครับ

นำเอา VM แต่ละ ESXi มารวมกัน จะได้ 4+4+4 = 12 VMs ดังนั้นจะต้องซื้อ 96 Core Licensed ต่อ 1 ESXi ผมมีสูตรวิธีการคิดง่ายๆครับ “เอาจำนวน VM รวมทั้งหมด หาร 2 และคูณด้วยจำนวณ Core Licensed ที่ต้องใช้ครับ เช่น (12/2)*16 = 96 Core Licensed ต่อ 1 ESXi (16 มาจาก จำนวน Core Licensed ต่อ 2 VMs ครับ) ถ้ามี 3 ESXi ก็เอา 96 *3 อีกทีครับ จะได้จำนวน Core Licensed ที่ต้องซื้อทั้งหมด

 

3. ลองมาดูอีกตัวอย่างกันครับ

จากรูป มี ESXi Cluster ทั้งหมด 3 Hosts แต่ละ Hosts มี CPU ละ 8 Core 2 CPU และมี VMs แต่ละเครื่อง 4 VMs

  • เรามาลองคิดจาก 2 VMs ก่อนนะครับว่าต้องใช้ กี่ Core Licensed ในกรณีนี้จะได้ 32 Core Licensed นะครับ
  • เอาจำนวน VMs ทั้งหมดมารวมกันจะได้ 12 VMs

ถัดมาเอาเข้าสูตรเลยครับ (12/2)*32 *จำนวน ESXi  =  576 Core Licensed ครับ

 

วิธีการคิด Licensed Microsoft Window Server Datacenter 2016/2019

หลัการคิด Licensed ของ Datacenter Edition นั้นง่ายมากครับ กล่าวคือ ไม่ต้องสนใจ จำนวน VMs เพราะใช้ได้ Unlimited ครับ ดังนั้นนับแค่จำนวน Core Licensed ที่ต้องใช้ทั้งหมดเท่านั้นครับ ขอยกตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจนะครับ

เอาจากภาพนี้เลยนะครับ จากภาพนี้นับ Core รวมได้ทั้งหมด 32+32+32 = 96 Core Licensed ดังนั้นซื้อแค่ 96 Core Licensed โดยที่ใช้ VM ได้ไม่จำกัดและสามารถ vMotion หรือ DRS ไปมาได้สบาย ๆ เพราะไม่ติดที่ข้อจำกัดเรื่อง VMs ต่อเครื่องแล้ว

 

มาถึงตรงนี้คงสงสัยแล้วใช่ไหมว่าแล้วต้องซื้อแบบไหนหล่ะ ? ถึงจะคุ้มค่าที่สุด !!

จุดคุ้มทุนสำหรับการซื้อ Microsoft Windows Server คือ 14 VMs กล่าวคือในกรณีที่คุณมี Server มากกว่า 1 เครื่อง และ คุณมีจำนวน VMs ใน Data Center คุณมากกว่าหรือเท่ากับ 14 VMs ให้ซื้อ Datacenter Edition จะคุ้มค่าที่สุด

 

ในบทความต่อไปจะมาพูดถึง CALs และ Software Assurance (SA) สำหรับ Microsoft Windows Server ต่อครับ

 

สนใจโซลูชั่นด้านดิจิทัล สามารถติดต่อเราได้ที่อีเมล Marketing@stream.co.th หรือโทร. 02-679-2233 ครับ

 

เรียบเรียงโดย Sukrit Phiboon
Solution Management, Stream I.T. Consulting Ltd.
0 1 Continue Reading →

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save